ลบ
แก้ไข

อินโดนีเซียตั้งเป้าเป็นเมืองหลวงแห่งแฟชั่นมุสลิม ส่งเสริมดีไซเนอร์รุ่นใหม่ นำตลาดแฟชั่นมุสลิมมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านดอลลาร์
ในฐานะประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก อินโดนีเซียจึงมีความต้องการค่อนข้างสูงสำหรับเสื้อผ้าที่ถูกต้องตามหลักศาสนา แต่จากเสื้อผ้าทันสมัย สีสัน สวยงามในงานแสดงเสื้อผ้าจาการ์ตา แฟชั่น วีก สะท้อนว่าอินโดนีเซียยังตั้งเป้าจะเป็นผู้นำโลกในอุตสาหกรรมแฟชั่นมุสลิม ที่ประมาณการณ์คร่าว ๆ ว่า มีมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านดอลลาร์
รัฐบาลอินโดนีเซียสนับสนุนดีไซเนอร์รุ่นใหม่และการค้าเสื้อผ้า ซึ่งจ้างงานกว่า 3 ล้านคน และสร้างรายได้เข้าสู่เศรษฐกิจราว 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ "นางมารี ปังเกสตู" เปิดเผยว่า อินโดนีเซียสามารถเป็นผู้กำหนดเทรนด์ กระทรวงมีวิสัยทัศน์และพันธกิจว่า อินโดนีเซียสามารถเป็นเมืองหลวงแห่งแฟชั่นมุสลิม
หลักศาสนาที่กำหนดให้สตรีต้องปกคลุมร่างกายอย่างมิดชิดตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า ได้รับการปฏิบัติอย่างกว้างขวางจากประเทศที่ตีความศาสนาอย่างเข้มงวดในซาอุดีอาระเบียและอัฟกานิสถาน และประเทศที่ค่อนไปทางสายกลางอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย
ผ้าคลุมศีรษะเป็นสิ่งจำเป็นในทุกกรณี และเสื้อผ้าจะต้องไม่รัดรูปหรือโปร่งใส แต่สามดีไซเนอร์รุ่นใหม่คือ นูร์ ซาห์รา, เจนาฮารา นาซูเตียน และดิอัน วาห์ยู อูตามิ ผู้เริ่มต้นในงานจาการ์ตา แฟชั่น วีก ได้สร้างรูปแบบใหม่กับคอลเล็กชันเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ทั้งสามคน ซึ่งเข้าร่วมโครงการอนาคตแฟชั่นอินโดนีเซียของรัฐบาล เพื่อพัฒนาอัจฉริยภาพของดีไซเนอร์สู่ตลาดโลก เปิดเผยว่าพวกเขาต้องการสร้างสรรค์เสื้อผ้าที่ดึงดูดใจคนทั่วไป รวมทั้งผู้หญิงในโลกตะวันตก
เสื้อผ้าแบรนด์ "เจนาฮารา" ของนาซูเตียน กำลังเจรจากับตัวแทนจากมิลานเพื่อทำตลาดเสื้อผ้าในอิตาลี รัสเซีย และดูไบ เธอกล่าวว่าศักยภาพการผลิตของแบรนด์เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยตอนแรกมีคำสั่งซื้อเริ่มต้น 200 ชิ้นต่อฤดูกาล แต่เมื่อผู้ซื้อได้เห็นคอลเลคชันเสื้อผ้าของเธอแล้ว ก็ต้องการให้เธอเซ็นสัญญาสามปี
ด้านวาห์ยู อูตามิ ผู้ซึ่งบิดามารดาเริ่มต้นแบรนด์เสื้อผ้า "ดิอัน เปลังกี" ตามชื่อแรกของเธอเมื่อ 22 ปีก่อน จัดแสดงเสื้อผ้าครั้งแรกเมื่อปี 2551 ในเมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เธอได้รับเสียงตอบรับอย่างน่าอัศจรรย์ และความสนใจต่อเสื้อผ้าคอลเล็กชั่นใหม่ของเธอมีจำนวนมาก อูตามิตระหนักดีว่า แฟชั่นมุสลิมมีศักยภาพในตลาดโลก
ปัจจุบัน "ดิอัน เปลังกี" มีสาขาในมาเลเซีย และกำลังขยายสาขาไปยังสิงคโปร์และบรูไน มีผู้ซื้อในออสเตรเลีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จอร์แดน และคูเวต หลายคอลเลกชั่นถูกขายไปในงานแสดงแฟชั่นโชว์ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี ฮังการี และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปด้วย
วาห์ยู อูตามิ กล่าวด้วยว่า แบรนด์ของเธอยังไม่เข้าไปยังตลาดสหรัฐ แต่จะเป็นเป้าหมายต่อไป และต้องการเปิดร้านของตนเองในตะวันออกกลางด้วย ไม่ใช่แค่ขายเสื้อผ้าในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น
ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ของอินโดนีเซียทิ้งท้ายว่า เกาหลีใต้โด่งดังเรื่องวัฒนธรรมเค-ป๊อบ ดังนั้นอินโดนีเซียซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องเสื้อผ้าสไตล์มุสลิมได้ ก็ควรให้ความสำคัญกับศักยภาพด้านนี้ของตัวเอง
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก bangkokbiznews.com/
อินโดนีเซียหวังเป็นเมืองหลวงแฟชั่นมุสลิม

อินโดนีเซียตั้งเป้าเป็นเมืองหลวงแห่งแฟชั่นมุสลิม ส่งเสริมดีไซเนอร์รุ่นใหม่ นำตลาดแฟชั่นมุสลิมมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านดอลลาร์
ในฐานะประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก อินโดนีเซียจึงมีความต้องการค่อนข้างสูงสำหรับเสื้อผ้าที่ถูกต้องตามหลักศาสนา แต่จากเสื้อผ้าทันสมัย สีสัน สวยงามในงานแสดงเสื้อผ้าจาการ์ตา แฟชั่น วีก สะท้อนว่าอินโดนีเซียยังตั้งเป้าจะเป็นผู้นำโลกในอุตสาหกรรมแฟชั่นมุสลิม ที่ประมาณการณ์คร่าว ๆ ว่า มีมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านดอลลาร์
รัฐบาลอินโดนีเซียสนับสนุนดีไซเนอร์รุ่นใหม่และการค้าเสื้อผ้า ซึ่งจ้างงานกว่า 3 ล้านคน และสร้างรายได้เข้าสู่เศรษฐกิจราว 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ "นางมารี ปังเกสตู" เปิดเผยว่า อินโดนีเซียสามารถเป็นผู้กำหนดเทรนด์ กระทรวงมีวิสัยทัศน์และพันธกิจว่า อินโดนีเซียสามารถเป็นเมืองหลวงแห่งแฟชั่นมุสลิม
หลักศาสนาที่กำหนดให้สตรีต้องปกคลุมร่างกายอย่างมิดชิดตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า ได้รับการปฏิบัติอย่างกว้างขวางจากประเทศที่ตีความศาสนาอย่างเข้มงวดในซาอุดีอาระเบียและอัฟกานิสถาน และประเทศที่ค่อนไปทางสายกลางอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย
ผ้าคลุมศีรษะเป็นสิ่งจำเป็นในทุกกรณี และเสื้อผ้าจะต้องไม่รัดรูปหรือโปร่งใส แต่สามดีไซเนอร์รุ่นใหม่คือ นูร์ ซาห์รา, เจนาฮารา นาซูเตียน และดิอัน วาห์ยู อูตามิ ผู้เริ่มต้นในงานจาการ์ตา แฟชั่น วีก ได้สร้างรูปแบบใหม่กับคอลเล็กชันเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ทั้งสามคน ซึ่งเข้าร่วมโครงการอนาคตแฟชั่นอินโดนีเซียของรัฐบาล เพื่อพัฒนาอัจฉริยภาพของดีไซเนอร์สู่ตลาดโลก เปิดเผยว่าพวกเขาต้องการสร้างสรรค์เสื้อผ้าที่ดึงดูดใจคนทั่วไป รวมทั้งผู้หญิงในโลกตะวันตก
เสื้อผ้าแบรนด์ "เจนาฮารา" ของนาซูเตียน กำลังเจรจากับตัวแทนจากมิลานเพื่อทำตลาดเสื้อผ้าในอิตาลี รัสเซีย และดูไบ เธอกล่าวว่าศักยภาพการผลิตของแบรนด์เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยตอนแรกมีคำสั่งซื้อเริ่มต้น 200 ชิ้นต่อฤดูกาล แต่เมื่อผู้ซื้อได้เห็นคอลเลคชันเสื้อผ้าของเธอแล้ว ก็ต้องการให้เธอเซ็นสัญญาสามปี
ด้านวาห์ยู อูตามิ ผู้ซึ่งบิดามารดาเริ่มต้นแบรนด์เสื้อผ้า "ดิอัน เปลังกี" ตามชื่อแรกของเธอเมื่อ 22 ปีก่อน จัดแสดงเสื้อผ้าครั้งแรกเมื่อปี 2551 ในเมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เธอได้รับเสียงตอบรับอย่างน่าอัศจรรย์ และความสนใจต่อเสื้อผ้าคอลเล็กชั่นใหม่ของเธอมีจำนวนมาก อูตามิตระหนักดีว่า แฟชั่นมุสลิมมีศักยภาพในตลาดโลก
ปัจจุบัน "ดิอัน เปลังกี" มีสาขาในมาเลเซีย และกำลังขยายสาขาไปยังสิงคโปร์และบรูไน มีผู้ซื้อในออสเตรเลีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จอร์แดน และคูเวต หลายคอลเลกชั่นถูกขายไปในงานแสดงแฟชั่นโชว์ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี ฮังการี และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปด้วย
วาห์ยู อูตามิ กล่าวด้วยว่า แบรนด์ของเธอยังไม่เข้าไปยังตลาดสหรัฐ แต่จะเป็นเป้าหมายต่อไป และต้องการเปิดร้านของตนเองในตะวันออกกลางด้วย ไม่ใช่แค่ขายเสื้อผ้าในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น
ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ของอินโดนีเซียทิ้งท้ายว่า เกาหลีใต้โด่งดังเรื่องวัฒนธรรมเค-ป๊อบ ดังนั้นอินโดนีเซียซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องเสื้อผ้าสไตล์มุสลิมได้ ก็ควรให้ความสำคัญกับศักยภาพด้านนี้ของตัวเอง
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก bangkokbiznews.com/
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
นักลงทุนรายย่อยในประเทศมาเลเซีย , สิงคโปร์และไทยจะสามารถเข้าถึงการลงทุนและการดำเนินการได้อย่างไร้พรมแดนมากยิ่งขึ้นในไตรมาสที่สามของปีนี้ สถาบันการเงินแห่งสิงคโปร์,คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของมาเลเซีย...by dogTech
-
ธนาคารเซ็นทรัลเอเชีย ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 โดยอดีตมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของอินโดนีเซีย และก้าวขึ้นมาเป็นธนาคารขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็ว...by Editor Bow
-
กองแผนนโยบาย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดทำการศึกษาวิจัย โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558-2559 สาระสำคัญจากการวิจัย ภาพรวมการท่องเที่ยวอาเซียนในปี 2014...by dogTech
-
จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยมีความเป็นไปได้สูงที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2015...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต