ลบ
แก้ไข

เวียดนามสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่สอง ช่วยเพิ่มศักยภาพการกลั่นขึ้นกว่าสองเท่าในสี่ปีข้างหน้า
เวียดนามเริ่มต้นก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่สองเมื่อปลายเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการกลั่นขึ้นกว่าสองเท่าในสี่ปีข้างหน้า หลังจากความต้องการพลังงานภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
จากศักยภาพการกลั่นน้ำมัน 200,000 บาร์เรลต่อวัน โรงกลั่นงีซอนจะเพิ่มศักยภาพการกลั่นน้ำมันให้กับประเทศถึง 330,500 บาร์เรลต่อวันภายในปี 2560 แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งโรงกลั่นงีซอนและโรงกลั่นเก่าที่เล็กกว่าสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของชาติได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น
สภาพการณ์ดังกล่าวเท่ากับว่าเวียดนามจะยังคงเป็นผู้นำเข้าน้ำมันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้โรงกลั่นยังมีโรงงานปิโตรเคมีด้วย ซึ่งจะช่วยดูดซับผลผลิตบางชนิด ทำให้เหลือน้ำมันเบนซินปริมาณน้อยสำหรับขายภายในประเทศ
รองประธานบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงาน ไอเอชเอส อีเนอร์จี อินไซต์ "นายวิกเตอร์ ชุม" กล่าวว่า การนำเข้าน้ำมันหลังจากโรงกลั่นงีซอนเดินเครื่องจะลดลงเพียงเล็กน้อย เพราะโรงกลั่นงีซอนจะผลิตพาราไซลีนด้วย ทำให้การผลิตน้ำมันเบนซินมีจำนวนน้อย ประกอบกับความต้องการน้ำมันในตลาดเพิ่มมากขึ้น
ไอเอชเอส คาดว่า การนำเข้าน้ำมันสุทธิของเวียดนามจะลดลงเพียง 16% ภายในปี 2561 เหลือ 180,000 บาร์เรลต่อวัน หลังจากโรงงานแห่งที่สองเดินเครื่อง ตัวเลขดังกล่าวลดลงจากการนำเข้า 215,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2555
นายกรัฐมนตรีเหงียน ตัน ดุ่ง คาดว่า ในปีนี้เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตถึง 5.4% และจะเติบโตมากขึ้นในปี 2557
โรงกลั่นงีซอน ตั้งอยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางใต้ราว 180 กิโลเมตร มีบริษัทโคซัน อิเดมิตสุ, มิตซุย เคมิคัลของญี่ปุ่น ปิโตรเวียดนาม และคูเวต ปิโตรเลียม อินเตอร์เนชันแนล เป็นเจ้าของ
เวียดนามเคยพึ่งพาน้ำมันนำเข้าแต่เพียงอย่างเดียว จนกระทั่งโรงกลั่นเพียงแห่งเดียวเริ่มดำเนินการช่วงต้นปี 2552 เก้าเดือนแรกของปีนี้การนำเข้าน้ำมันของเวียดนามลดลง 23% เหลือ 5.58 ล้านตันจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากโรงกลั่นซุงกวัตซึ่งมีศักยภาพการกลั่น 130,500 บาร์เรลต่อวันเดินเครื่องเต็มที่
กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ประเมินว่า ความต้องการน้ำมันโดยรวมในปีนี้จะสูงถึง 17 ล้านตัน โดย 60% จะมีการนำเข้า ผู้ค้าคนหนึ่งในสิงคโปร์กล่าวว่า แม้จะมีโรงกลั่นใหม่ แต่เวียดนามยังต้องพึ่งพาน้ำมันนำเข้าอย่างน้ำมันเครื่องบินอยู่มาก
สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศคาดว่า ในปีหน้าเวียดนามจะกลายเป็นตลาดขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างประเทศที่เติบโตเร็วเป็นอันดับสามของโลก และผู้โดยสารภายในประเทศเติบโตเร็วเป็นอันดับสอง
ส่วนการนำเข้าน้ำมันดีเซลไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยโรงกลั่นใหม่ตอบสนองความต้องการบริโภคน้ำมันที่เติบโตตามคาดได้
อย่างไรก็ตาม เวียดนามอาจพลิกกลับไปเป็นผู้ส่งออกสุทธิได้ หากบรรลุแผนที่ต้องใช้ความพยายามสูง ในการเพิ่มศักยภาพการกลั่นภายในปี 2563 เมื่อผลผลิตเกินความต้องการ
โรงกลั่นซุงกวัตพยายามขยายผลผลิตให้ถึง 10 ล้านตันต่อปีภายในปี 2558 ส่วนปิโตรเวียดนามก็กำลังวางแผนสร้างโรงกลั่นลองซอนศักยภาพการกลั่น 10 ล้านตันต่อปีทางตอนใต้ของประเทศด้วย ตั้งเป้าว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2561
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก bangkokbiznews.com
เวียดนามสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่สอง

เวียดนามสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่สอง ช่วยเพิ่มศักยภาพการกลั่นขึ้นกว่าสองเท่าในสี่ปีข้างหน้า
เวียดนามเริ่มต้นก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่สองเมื่อปลายเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการกลั่นขึ้นกว่าสองเท่าในสี่ปีข้างหน้า หลังจากความต้องการพลังงานภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
จากศักยภาพการกลั่นน้ำมัน 200,000 บาร์เรลต่อวัน โรงกลั่นงีซอนจะเพิ่มศักยภาพการกลั่นน้ำมันให้กับประเทศถึง 330,500 บาร์เรลต่อวันภายในปี 2560 แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งโรงกลั่นงีซอนและโรงกลั่นเก่าที่เล็กกว่าสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของชาติได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น
สภาพการณ์ดังกล่าวเท่ากับว่าเวียดนามจะยังคงเป็นผู้นำเข้าน้ำมันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้โรงกลั่นยังมีโรงงานปิโตรเคมีด้วย ซึ่งจะช่วยดูดซับผลผลิตบางชนิด ทำให้เหลือน้ำมันเบนซินปริมาณน้อยสำหรับขายภายในประเทศ
รองประธานบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงาน ไอเอชเอส อีเนอร์จี อินไซต์ "นายวิกเตอร์ ชุม" กล่าวว่า การนำเข้าน้ำมันหลังจากโรงกลั่นงีซอนเดินเครื่องจะลดลงเพียงเล็กน้อย เพราะโรงกลั่นงีซอนจะผลิตพาราไซลีนด้วย ทำให้การผลิตน้ำมันเบนซินมีจำนวนน้อย ประกอบกับความต้องการน้ำมันในตลาดเพิ่มมากขึ้น
ไอเอชเอส คาดว่า การนำเข้าน้ำมันสุทธิของเวียดนามจะลดลงเพียง 16% ภายในปี 2561 เหลือ 180,000 บาร์เรลต่อวัน หลังจากโรงงานแห่งที่สองเดินเครื่อง ตัวเลขดังกล่าวลดลงจากการนำเข้า 215,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2555
นายกรัฐมนตรีเหงียน ตัน ดุ่ง คาดว่า ในปีนี้เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตถึง 5.4% และจะเติบโตมากขึ้นในปี 2557
โรงกลั่นงีซอน ตั้งอยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางใต้ราว 180 กิโลเมตร มีบริษัทโคซัน อิเดมิตสุ, มิตซุย เคมิคัลของญี่ปุ่น ปิโตรเวียดนาม และคูเวต ปิโตรเลียม อินเตอร์เนชันแนล เป็นเจ้าของ
เวียดนามเคยพึ่งพาน้ำมันนำเข้าแต่เพียงอย่างเดียว จนกระทั่งโรงกลั่นเพียงแห่งเดียวเริ่มดำเนินการช่วงต้นปี 2552 เก้าเดือนแรกของปีนี้การนำเข้าน้ำมันของเวียดนามลดลง 23% เหลือ 5.58 ล้านตันจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากโรงกลั่นซุงกวัตซึ่งมีศักยภาพการกลั่น 130,500 บาร์เรลต่อวันเดินเครื่องเต็มที่
กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ประเมินว่า ความต้องการน้ำมันโดยรวมในปีนี้จะสูงถึง 17 ล้านตัน โดย 60% จะมีการนำเข้า ผู้ค้าคนหนึ่งในสิงคโปร์กล่าวว่า แม้จะมีโรงกลั่นใหม่ แต่เวียดนามยังต้องพึ่งพาน้ำมันนำเข้าอย่างน้ำมันเครื่องบินอยู่มาก
สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศคาดว่า ในปีหน้าเวียดนามจะกลายเป็นตลาดขนส่งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างประเทศที่เติบโตเร็วเป็นอันดับสามของโลก และผู้โดยสารภายในประเทศเติบโตเร็วเป็นอันดับสอง
ส่วนการนำเข้าน้ำมันดีเซลไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยโรงกลั่นใหม่ตอบสนองความต้องการบริโภคน้ำมันที่เติบโตตามคาดได้
อย่างไรก็ตาม เวียดนามอาจพลิกกลับไปเป็นผู้ส่งออกสุทธิได้ หากบรรลุแผนที่ต้องใช้ความพยายามสูง ในการเพิ่มศักยภาพการกลั่นภายในปี 2563 เมื่อผลผลิตเกินความต้องการ
โรงกลั่นซุงกวัตพยายามขยายผลผลิตให้ถึง 10 ล้านตันต่อปีภายในปี 2558 ส่วนปิโตรเวียดนามก็กำลังวางแผนสร้างโรงกลั่นลองซอนศักยภาพการกลั่น 10 ล้านตันต่อปีทางตอนใต้ของประเทศด้วย ตั้งเป้าว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2561
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก bangkokbiznews.com
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
สิงคโปร์จับมือมาเลเซีย สร้างรถไฟความเร็วสูง ตั้งเป้าเสร็จปี 2563 จุดประกายความหวังเอเชียอาคเนย์มีระบบรถไฟเชื่อมถึงจีนในที่สุด สิงคโปร์และมาเลเซียประกาศเตรียมจับมือสร้างรถไฟความเร็วสูง...by Editor Bow
-
ปี2557 เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน (Transition) ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และ "ภาคธุรกิจ"ที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ในรอบ 60 ปีส่งผลต่อวงการ "การตลาด" โดยเฉพาะ ช่องทางสื่อสารผ่าน "สื่อหลัก" ที่บรรดา...by Editor
-
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทยได้ร่วมประชุมRCEPระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 47 ระหว่างวันที่ 22 - 25 สิงหาคม 2558 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย...by dogTech
-
ประชาชนในกรุงมะนิลาเผชิญสภาพการจราจรติดขัดอย่างหนักเป็นครั้งแรกในวันนี้ และมีแนวโน้มที่สภาพการจราจรจะแย่ลงและยืดเยื้อนานถึง 4 ปี รายงานระบุว่า จะเริ่มมีการปิดช่องทางเดินรถของทางหลวงสายหลักในกรุงมะนิลาหลายช่องทาง...by Editor Bow
เรื่องมาใหม่
คำฮิต