ลบ
แก้ไข

1.ภาษาเวียดนาม
ป็นภาษาราชการของประเทศเวียดนาม จัดอยู่ในภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติก ตระกูลเดียวกับภาษามอญ-เขมร ถ้าน้องๆ อยากไปเที่ยวหรือเรียนต่อที่เวียดนาม ฝึกภาษาเวียดนามไว้บ้างก็ดีค่ะ ไม่อย่างนั้นจะสื่อสารกันค่อนข้างลำบากเพราะคนเวียดนามส่วนน้อยที่ใช้ภาษาอังกฤษคล่อง อีกเหตุผลนึงที่ภาษานี้น่าเรียน เพราะในยุคหลังๆ ทั้งเรื่องการศึกษา เทคโนโลยีของเวียดนามเขาพัฒนาได้ไวมาก ไม่แน่ว่าในอนาคตต่อๆ ไปประเทศเวียดนามอาจเจริญล้ำหน้าและเป็นแหล่งที่น่าเข้าไปลงทุนในระดับทวีปก็ได้
ภาษาเวียดนาม ได้รับอิทธิพลจากจีนค่อนข้างมากเพราะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ทำให้มีคำศัพท์ที่ยืมจากภาษาจีนและแต่ก่อนก็ใช้อักษรจีนเขียนอีกด้วย หลังจากนั้นในยุคอาณานิคม เวียดนามได้รับอิทธิพลจากภาษาฝรั่งเศส จึงมีการพัฒนามาเป็นตัวอักษรแบบโรมันอย่างทุกวันนี้ นอกจากนี้ความพิเศษของภาษาเวียดนามอีกอย่างคือ เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ (คล้ายกับภาษาไทย) ในภาษาพูด ชาวเวียดนามแต่ละภูมิภาคออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกันด้วยคือ ภาคเหนือจะออกครบทั้ง 6 เสียง แต่ภาคใต้ออกเพียง 5 เสียงและยังมีสำเนียงท้องถิ่นอีกด้วย ฟังแค่นี้ก็น่าสนสนุกแล้วใช่มั้ยล่ะคะ
ส่วนเรื่องไวยากรณ์ ภาษานี้จะเรียงลำดับประโยคเป็น ประธาน กริยา กรรม คล้ายกับภาษาไทย เน้นการเรียงลำดับคำและโครงสร้างประโยคมากกว่าการผันคำ หมายความว่าถ้าจะสร้างประโยคใหม่จะใช้วิธีเพิ่มคำ ไม่ต้องผัน Tense อย่างภาษาอังกฤษ

2.ภาษามลายู
ภาษามลายู เป็นภาษาที่หลายประเทศในอาเซียนใช้เป็นภาษาราชการ เช่น ประเทศมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย บางส่วนของประเทศสิงคโปร์ หรือแม้แต่ทางภาคใต้ของไทยก็มีการใช้ภาษานี้ด้วย ซึ่งแต่ละพื้นที่รับภาษาไปใช้แล้วก็มีการปรับเปลี่ยนหรือเรียกชื่อให้แตกต่างกันไป เช่น ภาษามลายูในมาเลเซียจะเรียกว่าภาษามาเลยเซีย บรูไนเรียกว่าภาษามลายู เป็นต้น
ภาษามลายูเป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน จัดอยู่ในรูปภาษาคำติดต่อ ถ้าต้องการสร้างคำใหม่ สามารถสร้างได้ 3 วิธี คือ
การลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ เนื่องจากภาษามลายูเป็นภาษาที่มีรากคำ การสร้างคำใหม่จึงอาศัยเติมคำข้างหน้า เติมกลางคำ หรือเติมหลังคำ
สร้างคำประสม
ซ้ำคำ
สำหรับตัวอักษรนั้น ภาษามลายูใช้ตัวอักษร 2 ชนิด คือ อักษรยาวี กับตัวอักษรรูมี(ตัวอักษรโรมัน) แต่ในปัจจุบันอักษรรูมีเป็นที่นิยมกว่ามาก เพราะเขียนง่าย เนื่องจากเป็นตัวอักษรโรมันหรือภาษาอังกฤษนั่นเอง ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเรียนตัวอักษรใหม่เหมือนการเรียนภาษาอื่นๆ

3.ภาษาอินโดนีเซีย
ภาษาอินโดนีเซียมีรากฐานมาจากภาษามลายูเหมือนภาษามาเลเซีย ถ้ารู้ภาษาใดภาษาหนึ่งก็สามารถไปใช้สื่อสารในอีกประเทศหนึ่งได้ เพราะภาษาใกล้เคียงกัน หากไม่เข้าใจบางคำศัพท์ก็ยังพอเดาความหมายได้ ซึ่งตรงนี้ก็มีคนถามกันเยอะทีเดียวว่าแล้วอย่างนี้ควรเรียนภาษาอะไรดีระหว่าง “ภาษาอินโดนีเซีย” กับ “ภาษามาเลย์”
สองภาษานี้แม้จะสื่อสารกันเข้าใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะเหมือนกันทั้งหมดนะ สิ่งที่ต่างกันจะเป็นเรื่องของสำเนียงและคำศัพท์บางคำ ทั้งนี้ภาษาอินโดนีเซียมีคำยืมที่มาจากภาษาต่างๆ อีกจำนวนมาก เช่น ภาษาดัตซ์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาบาลี สันสกฤต ฯลฯ แต่จะออกเสียงยากกว่าภาษามาเลย์ และสิ่งที่ได้เปรียบกว่าของภาษาอินโดนีเซียคือ เป็นภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในอาเซียนราว 200 กว่าล้านคนค่ะ ดังนั้นถ้าน้องๆ อยากเรียนภาษาที่ใช้เพื่อสื่อสารกับคนในอาเซียนได้มากที่สุด ภาษาอินโดนีเซียตอบโจทย์ได้มากที่สุด (ใช้สื่อสารได้ทั้งประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน)

เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก mthai.com
3 ภาษาอาเซียนสำคัญ ห้ามพลาด

1.ภาษาเวียดนาม
ป็นภาษาราชการของประเทศเวียดนาม จัดอยู่ในภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติก ตระกูลเดียวกับภาษามอญ-เขมร ถ้าน้องๆ อยากไปเที่ยวหรือเรียนต่อที่เวียดนาม ฝึกภาษาเวียดนามไว้บ้างก็ดีค่ะ ไม่อย่างนั้นจะสื่อสารกันค่อนข้างลำบากเพราะคนเวียดนามส่วนน้อยที่ใช้ภาษาอังกฤษคล่อง อีกเหตุผลนึงที่ภาษานี้น่าเรียน เพราะในยุคหลังๆ ทั้งเรื่องการศึกษา เทคโนโลยีของเวียดนามเขาพัฒนาได้ไวมาก ไม่แน่ว่าในอนาคตต่อๆ ไปประเทศเวียดนามอาจเจริญล้ำหน้าและเป็นแหล่งที่น่าเข้าไปลงทุนในระดับทวีปก็ได้
ภาษาเวียดนาม ได้รับอิทธิพลจากจีนค่อนข้างมากเพราะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ทำให้มีคำศัพท์ที่ยืมจากภาษาจีนและแต่ก่อนก็ใช้อักษรจีนเขียนอีกด้วย หลังจากนั้นในยุคอาณานิคม เวียดนามได้รับอิทธิพลจากภาษาฝรั่งเศส จึงมีการพัฒนามาเป็นตัวอักษรแบบโรมันอย่างทุกวันนี้ นอกจากนี้ความพิเศษของภาษาเวียดนามอีกอย่างคือ เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ (คล้ายกับภาษาไทย) ในภาษาพูด ชาวเวียดนามแต่ละภูมิภาคออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกันด้วยคือ ภาคเหนือจะออกครบทั้ง 6 เสียง แต่ภาคใต้ออกเพียง 5 เสียงและยังมีสำเนียงท้องถิ่นอีกด้วย ฟังแค่นี้ก็น่าสนสนุกแล้วใช่มั้ยล่ะคะ
ส่วนเรื่องไวยากรณ์ ภาษานี้จะเรียงลำดับประโยคเป็น ประธาน กริยา กรรม คล้ายกับภาษาไทย เน้นการเรียงลำดับคำและโครงสร้างประโยคมากกว่าการผันคำ หมายความว่าถ้าจะสร้างประโยคใหม่จะใช้วิธีเพิ่มคำ ไม่ต้องผัน Tense อย่างภาษาอังกฤษ

2.ภาษามลายู
ภาษามลายู เป็นภาษาที่หลายประเทศในอาเซียนใช้เป็นภาษาราชการ เช่น ประเทศมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย บางส่วนของประเทศสิงคโปร์ หรือแม้แต่ทางภาคใต้ของไทยก็มีการใช้ภาษานี้ด้วย ซึ่งแต่ละพื้นที่รับภาษาไปใช้แล้วก็มีการปรับเปลี่ยนหรือเรียกชื่อให้แตกต่างกันไป เช่น ภาษามลายูในมาเลเซียจะเรียกว่าภาษามาเลยเซีย บรูไนเรียกว่าภาษามลายู เป็นต้น
ภาษามลายูเป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน จัดอยู่ในรูปภาษาคำติดต่อ ถ้าต้องการสร้างคำใหม่ สามารถสร้างได้ 3 วิธี คือ
การลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ เนื่องจากภาษามลายูเป็นภาษาที่มีรากคำ การสร้างคำใหม่จึงอาศัยเติมคำข้างหน้า เติมกลางคำ หรือเติมหลังคำ
สร้างคำประสม
ซ้ำคำ
สำหรับตัวอักษรนั้น ภาษามลายูใช้ตัวอักษร 2 ชนิด คือ อักษรยาวี กับตัวอักษรรูมี(ตัวอักษรโรมัน) แต่ในปัจจุบันอักษรรูมีเป็นที่นิยมกว่ามาก เพราะเขียนง่าย เนื่องจากเป็นตัวอักษรโรมันหรือภาษาอังกฤษนั่นเอง ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเรียนตัวอักษรใหม่เหมือนการเรียนภาษาอื่นๆ

3.ภาษาอินโดนีเซีย
ภาษาอินโดนีเซียมีรากฐานมาจากภาษามลายูเหมือนภาษามาเลเซีย ถ้ารู้ภาษาใดภาษาหนึ่งก็สามารถไปใช้สื่อสารในอีกประเทศหนึ่งได้ เพราะภาษาใกล้เคียงกัน หากไม่เข้าใจบางคำศัพท์ก็ยังพอเดาความหมายได้ ซึ่งตรงนี้ก็มีคนถามกันเยอะทีเดียวว่าแล้วอย่างนี้ควรเรียนภาษาอะไรดีระหว่าง “ภาษาอินโดนีเซีย” กับ “ภาษามาเลย์”
สองภาษานี้แม้จะสื่อสารกันเข้าใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะเหมือนกันทั้งหมดนะ สิ่งที่ต่างกันจะเป็นเรื่องของสำเนียงและคำศัพท์บางคำ ทั้งนี้ภาษาอินโดนีเซียมีคำยืมที่มาจากภาษาต่างๆ อีกจำนวนมาก เช่น ภาษาดัตซ์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาบาลี สันสกฤต ฯลฯ แต่จะออกเสียงยากกว่าภาษามาเลย์ และสิ่งที่ได้เปรียบกว่าของภาษาอินโดนีเซียคือ เป็นภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในอาเซียนราว 200 กว่าล้านคนค่ะ ดังนั้นถ้าน้องๆ อยากเรียนภาษาที่ใช้เพื่อสื่อสารกับคนในอาเซียนได้มากที่สุด ภาษาอินโดนีเซียตอบโจทย์ได้มากที่สุด (ใช้สื่อสารได้ทั้งประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน)

เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก mthai.com

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะ เดินทางไปประชุมหารืออย่างเป็นทางการกับ นายเต็ง เส่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ของเมียนมา ที่เมือง เนปิดอว์ เมียนมา ทั้งนี้...by dogTech
-
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ Science and Technology in Society forum (STS forum) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO)...by dogTech
-
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ ฮ่องกง ได้รายงานว่า ผู้ผลิตสิ่งทอในฮ่องกงได้ลงนามในสัญญาเพื่อจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมแห่งแรกขนาด...by Editor Bow
-
ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประขุมอาเซียนฟอรั่มสำหรับประเทศในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษาในสายอาชีพและกำหนดทิศทางร่วมกันสำหรับการผลิตของแรงงานที่มีทักษะ ในการ...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต