ลบ
แก้ไข

ริทธี ปาน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวกัมพูชา ต้องหลบหนีออกจากค่ายแรงงานอันโหดร้ายภายใต้การปกครองของเขมรแดงเมื่อมีอายุ ได้เพียง 15 ปี และนับแต่นั้นก็ไม่เคยได้พบกับพ่อแม่ หรือน้องสาวของตัวเองอีกเลย ภาพยนตร์เรื่อง “The Missing Picture” ของผู้กำกับชาวเขมรรายนี้ เป็นความพยายามที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของตนเอง ตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนถูกกักขัง ไปจนถึงช่วงเวลาที่ติดอยู่ภายใต้การปกครองอันไร้ความปรานีของเขมรแดง ในระหว่างปี 2518-2522
The Missing Picture กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของกัมพูชาที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ออสการ์ ในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ที่จะประกาศผลที่นครลอสแองเจลิส ในวันที่ 2 มี.ค. นี้
“สิ่งนี้มีความสำคัญต่อผมในฐานะผู้รอดชีวิต เราไม่ลืมสิ่งที่สูญหายไปก่อนหน้าเรา และประชาชนที่ต้องสูญเสียชีวิตไป The Missing Picture นั้นมี 2 ความหมาย หนึ่ง คือเรื่องจริงที่เราจดจำได้ และอีกความหมายหนึ่งคือ ภาพที่เราไม่เคยเห็น” ปาน กล่าว
เขมรแดงพยายามเปลี่ยนกัมพูชาให้กลายเป็นสังคมอุดมคติแบบเกษตรกรรมที่ นำไปสู่การเสียชีวิตของประชาชนกว่า 2 ล้านคน จากภาวะความอดอยาก การทำงานมากเกินไป การทรมาน และการประหารชีวิต
ปาน สูญเสียสมาชิกในครอบครัวไปถึง 10 คน รวมทั้งพ่อแม่ และน้องสาว ระหว่างการปกครองของเขมรแดง
“ภาพที่หายไปอย่างที่สองคือ เรื่องราวส่วนตัวของผม ผมเสียใจที่ไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าพ่อในตอนนี้ หากพ่อยังมีชีวิตอยู่ เราอาจได้ไปเดินที่ริมแม่น้ำ หรือทานอาหารด้วยกัน ผมไม่เคยมีช่วงเวลาเหล่านั้นเลย” ปาน กล่าว
ในช่วงที่การปกครองของเขมรแดงในกัมพูชาใกล้สิ้นสุดลง และกองกำลังเวียดนามเข้ามาในประเทศ ปาน ได้หลบหนีออกจากการจับกุมตัว มุ่งหน้าไปยังค่ายกักกันในไทย และเดินทางต่อไปยังกรุงปารีสในเวลาต่อมา
ปาน จบการศึกษาจาก L'Institut des hautes études cinématographiques และเดินทางกลับกัมพูชาในปี 2533 ปาน ใช้การถ่ายทำภาพยนตร์เป็นวิธีจัดการกับเรื่องราวในอดีตของตัวเอง โดยได้ผลิตภาพยนตร์ชุด และสารคดี เช่น One Evening After the War ในปี 2541 และ S-21: The Khmer Rouge Killing Machine ในปี 2546
ภาพยนตร์เรื่อง The Missing Picture นี้ ใช้ฟิล์มภาพยนตร์ของช่วงเขมรแดงที่ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ และรูปปั้นดินเหนียวเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสะพรึงกลัว
ฟิล์มภาพยนตร์ของกัมพูชาที่มีอายุย้อนหลังไปในช่วงปลายทศวรรษ 1800 ส่วนใหญ่ถูกเขมรแดงทำลาย ซึ่งปาน ได้อุทิศชีวิตของตัวเองตามหา และฟื้นฟูภาพยนตร์ที่สูญหายเหล่านั้น ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวของประเทศได้
ปาน เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ (Bophana) ในกรุงพนมเปญ ที่เปิดขึ้นในปี 2549 ที่มีเป้าหมายที่จะอนุรักษ์ภาพยนตร์ของประเทศ รวมทั้งบันทึกการส่งสัญญาณวิทยุ ภาพยนตร์ข่าว และรูปภาพต่างๆ
“ผู้คนจำนวนมากจะพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้เพราะออสการ์ และด้วยเหตุนี้เราจะใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนพูดคุยกันถึงเรื่อง ราวของกัมพูชา และนำไปสู่การเก็บรักษาภาพยนตร์เก่าที่เราค้นพบ และช่วยเหลือให้เราทำงานต่อไปได้” ปาน กล่าว
ภาพยนตร์ The Missing Picture ชนะรางวัลสาขาภาพยนตร์ที่น่าจับตามอง (Un Certain Regard) จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ฝรั่งเศส เมื่อเดือน พ.ค. ขณะเดียวกัน ความพยายามของ ปาน ที่จะรักษามรดกทางภาพยนตร์ของประเทศก็ทำให้ ปาน ได้รับรางวัลผู้สร้างภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย (Asian Filmmaker) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ที่เกาหลีใต้ ในเดือน ต.ค.
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก manager.co.th
ภาพยนตร์เรื่องแรกของกัมพูชาเข้าชิงรางวัลออสการ์

ริทธี ปาน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวกัมพูชา ต้องหลบหนีออกจากค่ายแรงงานอันโหดร้ายภายใต้การปกครองของเขมรแดงเมื่อมีอายุ ได้เพียง 15 ปี และนับแต่นั้นก็ไม่เคยได้พบกับพ่อแม่ หรือน้องสาวของตัวเองอีกเลย ภาพยนตร์เรื่อง “The Missing Picture” ของผู้กำกับชาวเขมรรายนี้ เป็นความพยายามที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของตนเอง ตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนถูกกักขัง ไปจนถึงช่วงเวลาที่ติดอยู่ภายใต้การปกครองอันไร้ความปรานีของเขมรแดง ในระหว่างปี 2518-2522
The Missing Picture กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของกัมพูชาที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ออสการ์ ในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ที่จะประกาศผลที่นครลอสแองเจลิส ในวันที่ 2 มี.ค. นี้
“สิ่งนี้มีความสำคัญต่อผมในฐานะผู้รอดชีวิต เราไม่ลืมสิ่งที่สูญหายไปก่อนหน้าเรา และประชาชนที่ต้องสูญเสียชีวิตไป The Missing Picture นั้นมี 2 ความหมาย หนึ่ง คือเรื่องจริงที่เราจดจำได้ และอีกความหมายหนึ่งคือ ภาพที่เราไม่เคยเห็น” ปาน กล่าว
เขมรแดงพยายามเปลี่ยนกัมพูชาให้กลายเป็นสังคมอุดมคติแบบเกษตรกรรมที่ นำไปสู่การเสียชีวิตของประชาชนกว่า 2 ล้านคน จากภาวะความอดอยาก การทำงานมากเกินไป การทรมาน และการประหารชีวิต
ปาน สูญเสียสมาชิกในครอบครัวไปถึง 10 คน รวมทั้งพ่อแม่ และน้องสาว ระหว่างการปกครองของเขมรแดง
“ภาพที่หายไปอย่างที่สองคือ เรื่องราวส่วนตัวของผม ผมเสียใจที่ไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าพ่อในตอนนี้ หากพ่อยังมีชีวิตอยู่ เราอาจได้ไปเดินที่ริมแม่น้ำ หรือทานอาหารด้วยกัน ผมไม่เคยมีช่วงเวลาเหล่านั้นเลย” ปาน กล่าว
ในช่วงที่การปกครองของเขมรแดงในกัมพูชาใกล้สิ้นสุดลง และกองกำลังเวียดนามเข้ามาในประเทศ ปาน ได้หลบหนีออกจากการจับกุมตัว มุ่งหน้าไปยังค่ายกักกันในไทย และเดินทางต่อไปยังกรุงปารีสในเวลาต่อมา
ปาน จบการศึกษาจาก L'Institut des hautes études cinématographiques และเดินทางกลับกัมพูชาในปี 2533 ปาน ใช้การถ่ายทำภาพยนตร์เป็นวิธีจัดการกับเรื่องราวในอดีตของตัวเอง โดยได้ผลิตภาพยนตร์ชุด และสารคดี เช่น One Evening After the War ในปี 2541 และ S-21: The Khmer Rouge Killing Machine ในปี 2546
ภาพยนตร์เรื่อง The Missing Picture นี้ ใช้ฟิล์มภาพยนตร์ของช่วงเขมรแดงที่ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ และรูปปั้นดินเหนียวเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสะพรึงกลัว
ฟิล์มภาพยนตร์ของกัมพูชาที่มีอายุย้อนหลังไปในช่วงปลายทศวรรษ 1800 ส่วนใหญ่ถูกเขมรแดงทำลาย ซึ่งปาน ได้อุทิศชีวิตของตัวเองตามหา และฟื้นฟูภาพยนตร์ที่สูญหายเหล่านั้น ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวของประเทศได้
ปาน เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ (Bophana) ในกรุงพนมเปญ ที่เปิดขึ้นในปี 2549 ที่มีเป้าหมายที่จะอนุรักษ์ภาพยนตร์ของประเทศ รวมทั้งบันทึกการส่งสัญญาณวิทยุ ภาพยนตร์ข่าว และรูปภาพต่างๆ
“ผู้คนจำนวนมากจะพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้เพราะออสการ์ และด้วยเหตุนี้เราจะใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนพูดคุยกันถึงเรื่อง ราวของกัมพูชา และนำไปสู่การเก็บรักษาภาพยนตร์เก่าที่เราค้นพบ และช่วยเหลือให้เราทำงานต่อไปได้” ปาน กล่าว
ภาพยนตร์ The Missing Picture ชนะรางวัลสาขาภาพยนตร์ที่น่าจับตามอง (Un Certain Regard) จากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ฝรั่งเศส เมื่อเดือน พ.ค. ขณะเดียวกัน ความพยายามของ ปาน ที่จะรักษามรดกทางภาพยนตร์ของประเทศก็ทำให้ ปาน ได้รับรางวัลผู้สร้างภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย (Asian Filmmaker) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ที่เกาหลีใต้ ในเดือน ต.ค.
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก manager.co.th
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015...by dogTech
-
จังหวัดเชียงใหม่เตรียมชุดการแสดงพิเศษที่ผสมผสานความเป็นล้านนาในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาอาเซียนสกูลเกมส์ ครั้งที่ 8 เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมการแข่งขัน กว่า 1,200 คน...by dogTech
-
ประเทศไทยได้เรียกร้องให้มีการเสริมสร้างการเชื่อมต่อระหว่างอินเดียและอาเซียน โดยประเทศไทยมองเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและอินเดีย...by dogTech
-
ประเทศไทยและประเทศมาเลเซียได้ให้คำมั่นที่จะเพิ่มการเชื่อมต่อในภูมิภาคและให้ความร่วมมือ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยกับภาคเหนือและภาคตะวันออกของประเทศมาเลเซีย...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต