ลบ
แก้ไข

การชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมาทำให้นักลงทุนอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ โดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นต้องไตร่ตรองแผนการลงทุนกันใหม่
เนื่องจากที่ตั้งของประเทศไทยนั้นเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคแถมยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จำนวนมาก เมื่อรวมกับมาตรการลดหย่อนภาษีจากภาครัฐ จึงทำให้นักลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างโตโยต้า ฟอร์ด และมาสด้า ตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งสร้างงานจำนวนกว่า 500,000 อัตรา และเพิ่มอัตราการผลิตในภาคอุตสาหกรรมกว่าร้อยละ 10
ในปัจจุบัน ประเทศไทยผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับ 9 ของโลกและผลิตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรถยนต์กว่าครึ่งที่ผลิตในประเทศ ส่งออกไปขายทั่วโลก
สถานการณ์การเมืองที่รุนแรงในขณะนี้ทำให้นักลงทุนหวั่นไหวไม่น้อย
บริษัท โตโยต้า จำกัด มหาชน (ประเทศญี่ปุ่น) แถลงในอาทิตย์นี้ว่าอาจจะไตร่ตรองแผนการลงทุนเสริมศักยภาพการผลิตในประเทศไทยมูลค่า 20,000 ล้านบาทในปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน ซึ่ง ณ ขณะนี้ โตโยต้า ผลิตรถยนต์มากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 843,000 คันในปี 2556 ที่ผ่านมา
“เรามีลูกค้าน้อยลงในศูนย์รถยนต์ของเรา เพราะลูกค้าไม่พร้อมจะซื้อรถยนต์ในขณะที่สถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนแบบ นี้” นาย เคียวอิจิ ทานาดะ ประธานบริษัท โตโยต้า ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติ
ด้านค่ายรถยนต์ มาสด้า และค่าย นิสสัน ต่างมีความเห็นตรงกันว่าการประท้วงปิดถนนในกรุงเทพฯ สร้างผลกระทบกับจำนวนลูกค้าที่เข้ามาดูรถยนต์ ซึ่งในส่วนของค่ายนิสสันอาจส่งผลถึงยอดขายเพราะนิสสันมียอดขายกว่าร้อยละ 40 จากบริเวณกรุงเทพมหานคร
ส่วนค่ายโตโยต้าคาดว่ายอดขายรถยนต์ของตนในประเทศไทยจะลดลงไปถึงร้อยละ 10 เหลือเพียงประมาณ 400,000 คัน เนื่องจากนโยบายรถคันแรงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์หมดอายุไป และโตโยต้ายังคาดว่ายอดขายรถยนต์ทั่วประเทศก็ถูกปรับลดถึงร้อยละ 13.6 เหลือประมาณ 1.15 ล้านคัน
ด้านกระทรวงการคลังของไทยคาดว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปี 2557 อาจจะเหลือแค่ร้อยละ 3 จากร้อยละ 6.4 ในปี 2556
สถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนยังยืดเยื้อออกไปอีก อาจจะยิ่งทำให้ยอดขายรถยนต์ตกลงไปอีก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน.
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ไทยรัฐ
อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยสาหัสจากพิษการเมือง

การชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมาทำให้นักลงทุนอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ โดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นต้องไตร่ตรองแผนการลงทุนกันใหม่
เนื่องจากที่ตั้งของประเทศไทยนั้นเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคแถมยังมีผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จำนวนมาก เมื่อรวมกับมาตรการลดหย่อนภาษีจากภาครัฐ จึงทำให้นักลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างโตโยต้า ฟอร์ด และมาสด้า ตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งสร้างงานจำนวนกว่า 500,000 อัตรา และเพิ่มอัตราการผลิตในภาคอุตสาหกรรมกว่าร้อยละ 10
ในปัจจุบัน ประเทศไทยผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับ 9 ของโลกและผลิตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรถยนต์กว่าครึ่งที่ผลิตในประเทศ ส่งออกไปขายทั่วโลก
สถานการณ์การเมืองที่รุนแรงในขณะนี้ทำให้นักลงทุนหวั่นไหวไม่น้อย
บริษัท โตโยต้า จำกัด มหาชน (ประเทศญี่ปุ่น) แถลงในอาทิตย์นี้ว่าอาจจะไตร่ตรองแผนการลงทุนเสริมศักยภาพการผลิตในประเทศไทยมูลค่า 20,000 ล้านบาทในปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน ซึ่ง ณ ขณะนี้ โตโยต้า ผลิตรถยนต์มากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 843,000 คันในปี 2556 ที่ผ่านมา
“เรามีลูกค้าน้อยลงในศูนย์รถยนต์ของเรา เพราะลูกค้าไม่พร้อมจะซื้อรถยนต์ในขณะที่สถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนแบบ นี้” นาย เคียวอิจิ ทานาดะ ประธานบริษัท โตโยต้า ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติ
ด้านค่ายรถยนต์ มาสด้า และค่าย นิสสัน ต่างมีความเห็นตรงกันว่าการประท้วงปิดถนนในกรุงเทพฯ สร้างผลกระทบกับจำนวนลูกค้าที่เข้ามาดูรถยนต์ ซึ่งในส่วนของค่ายนิสสันอาจส่งผลถึงยอดขายเพราะนิสสันมียอดขายกว่าร้อยละ 40 จากบริเวณกรุงเทพมหานคร
ส่วนค่ายโตโยต้าคาดว่ายอดขายรถยนต์ของตนในประเทศไทยจะลดลงไปถึงร้อยละ 10 เหลือเพียงประมาณ 400,000 คัน เนื่องจากนโยบายรถคันแรงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์หมดอายุไป และโตโยต้ายังคาดว่ายอดขายรถยนต์ทั่วประเทศก็ถูกปรับลดถึงร้อยละ 13.6 เหลือประมาณ 1.15 ล้านคัน
ด้านกระทรวงการคลังของไทยคาดว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปี 2557 อาจจะเหลือแค่ร้อยละ 3 จากร้อยละ 6.4 ในปี 2556
สถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนยังยืดเยื้อออกไปอีก อาจจะยิ่งทำให้ยอดขายรถยนต์ตกลงไปอีก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน.
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ไทยรัฐ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม รายงานว่า เวียดนามมีรายได้ 2,986 ล้านดอลลาร์ จากการส่งออกข้าว 6.722 ล้านตัน ในปี 2556 แสดงให้เห็นว่ารายได้จากการส่งออกข้าวลดลง 18.7% และปริมาณลดลง 16.1% เมื่อเทียบรายปี รายงานยังระบุว่า...by Editor Bow
-
นายมาร์ค การ์นิเยร์ (Mr. Mark Garnier) ผู้แทนพิเศษด้านการค้าของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลตรีวีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี...by dogTech
-
ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี แถลงข่าวผลสำรวจความพร้อมบุคลากรไอทีไทยในการรับมือกับ Emerging Technology จัดทำโดย สถาบันไอเอ็มซี(IMC Institute) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย(ATCI)...by Spider Show
-
มาเลเซียกำลังดำเนินมาตรการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อยกเลิกการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่นำเข้าจากญี่ปุ่น และออสเตรเลีย นักวิเคราะห์ระบุว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อมุ่งตรงไปสู่การเปิดเสรีอุตสาหกรรมรถยนต์นั้น...by Editor Bow
เรื่องมาใหม่
คำฮิต