ลบ แก้ไข

สรุปการประชุม ASEAN Tourism Forum (ATF 2014)

สรุปการประชุม ASEAN Tour

สรุปการประชุม ASEAN Tourism Forum (ATF 2014)
ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๓ มกราคม ๒๕๕๗
เมืองกุชิง ประเทศมาเลเซีย

การประชุมการท่องเที่ยวอาเซียน ASEAN Tourism Forum (ATF 2014) เป็นงานที่จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน และสนับสนุนให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางเดียว (Single Destination) สำหรับปี ๒๕๕๗ ททท. ได้เข้าร่วมงาน ATF 2014 ซึ่งประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพในการจัดงานภายใต้ Theme “ASEAN-Advancing Tourism Together”ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๓ มกราคม ๒๕๕๗ ณ เมืองกุชิง ประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย ๓ กิจกรรมหลัก ได้แก่ (๑) การประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยว (๒) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยว (๓) งานส่งเสริมการขาย Travel Exchange (TRAVEX) โดยมีสรุปสาระสำคัญจากการเข้าร่วมงานดังกล่าว ดังนี้
๑.แถลงการณ์และวิสัยทัศน์ภายหลังปี ๒๕๕๘
        ที่ประชุมรับทราบการให้ความสำคัญของผู้นำอาเซียนที่จะริเริ่มพัฒนาแผนวิสัย ทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ๒๕๕๘ โดยมุ่งเน้นความเชื่อมโยงของอาเซียนทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และต่อยอดจากความสำเร็จของแผนแม่บทประชาคมอาเซียน (๒๕๕๒-๒๕๕๘)  นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนยังเร่งส่งเสริมการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการตรวจลงตรา ร่วมกันของอาเซียนสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาอาเซียน การอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของคนชาติอาเซียน การเดินทางเพื่อธุรกิจและสันทนาการ การส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนา เศรษฐกิจในภูมิภาค
๒.สถานการณ์การท่องเที่ยวอาเซียนในปี ๒๕๕๖
        ที่ประชุมฯ รับทราบถึงการเติบโตของการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน ปี ๒๕๕๖ กว่า ๙o.๒ ล้านคน เพิ่มขึ้นประมาณ ๑๒% จากปี ๒๕๕๕ โดยการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน (Intra-ASEAN) เติบโต ๑๔.๕๑% คิดเป็นสัดส่วน ๔๖%

๓. การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘ (ASEAN Tourism Strategic Plan: ATSP 2011-2015)
รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนและที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านท่องเที่ยวอา เซียนรับทราบการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวอาเซียน (ATSP 2011-2015) ซึ่งบรรลุผล 75% ของกรอบการดำเนินการทั้งหมด โดยมีความคืบหน้าในการดำเนินงาน ดังนี้
๓.๑ คณะทำงานด้านการตลาดและการสื่อสารของอาเซียน
รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ การตลาดท่องเที่ยวอาเซียน ๒๕๕๕-๒๕๕๘ (ASEAN Tourism Marketing Strategy: ATMS 2012-2015) อาทิ
- การเผยแพร่สินค้าการท่องเที่ยวอาเซียน ๑๓o แห่งและโปรแกรมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศอาเซียนผ่านเว็บไซต์การท่อง เที่ยวอาเซียน (www.aseantourism.travel)
- การจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวประเภทต่างๆ แล้วเสร็จตามกำหนดในปี ๒๕๕๖ อันได้แก่ แผนกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ๒๕๕๗-๒๕๖o แผนกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย ๒๕๕๗-๒๕๖o
- การส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดจีนอย่างต่อเนื่อง  โดยพัฒนาเนื้อหาในเว็บไซต์ www.dongnanya.travel และ social media marketing ผ่าน sinaweibo page เพื่อเผยแพร่บทความและประชาสัมพันธ์สินค้าท่องเที่ยว และร่วมมือกับ ASEAN-China Centre ในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดทำสารคดีท่องเที่ยว ๑o ประเทศอาเซียนของสถานีโทรทัศน์จีน เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก CNTA ในการออกคูหาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอาเซียนในงาน China International Travel Mart (CITM) 2013 ณ เมืองคุนหมิง ประเทศจีน
- กิจกรรมส่งเสริมการตลาดอินเดียและออสเตรเลีย โดย ASEAN Promotional Chapter for Tourism ซึ่ง ททท. สำนักงานมุมไบและสำนักงานซิดนีย์ ดำรงตำแหน่งประธาน ในปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖
- ความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวอาเซียนร่วมกับภาคีพันธมิตร ภาคเอกชน ได้แก่ ศูนย์อาเซียนในประเทศ+๓, PATA, ASEAN TRIPPER MAGAZINE, CNN, CNBC ในการสนับสนุนดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์อาเซียน
- การประเมินความเหมาะสมและวัดความสำเร็จของ แบรนด์การท่องเที่ยว ASEAN โดยจัดทำ Exit Survey แล้วเสร็จใน ๔ ประเทศอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย
 ๓.๒ คณะทำงานด้านการพัฒนาสินค้าด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน
ที่ประชุมรับทราบการดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่
- การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ มีการดำเนินการพัฒนาแผนกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของอาเซียน
- การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม จัดทำรายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
        - การท่องเที่ยวที่เน้นชุมชน มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการท่องเที่ยวที่เน้นชุมชนในเดือนเมษายน ๒๕๕๖ โดยประเทศกัมพูชา
- การท่องเที่ยวทางเรือและแม่น้ำ ได้เริ่มดำเนินการตามแผนการทำงาน ASEAN Cruise Work Plan 2013 และอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวทางแม่น้ำร่วมกับ UNWTO

- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อยู่ในระหว่างการจัดประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งนี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพในวันที่ ๒๕-๒๖ มีนาคม ๒๕๕๗
๓.๓ คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพของอาเซียน
รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนและเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนรับทราบความสำเร็จใน การจัดทำรูปแบบขั้นตอนการรับรองมาตรฐานระดับอาเซียนในด้านต่างๆ ได้แก่ มาตรฐานโรงแรมสีเขียว มาตรฐาน Homestay มาตรฐานบริการสปา มาตรฐานห้องน้ำสาธารณะ มาตรฐานความสะอาดของเมืองท่องเที่ยว มาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์  ทั้งนี้การให้การรับรองมาตรฐานอาเซียนจะจัดทำโดยแต่ละประเทศสมาชิกตามแนวทาง ที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน ซึ่งจะมีการจัดทำ pilot testing และอบรมผู้ตรวจสอบและผู้ประเมินในลำดับต่อไป  โดยมาตรฐานและแนวทางดังกล่าวจะถูกรับรองโดยรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนใน เดือนมกราคม ๒๕๕๘
ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าในการจัดทำกรอบการดำเนินการและมาตรการของอา เซียนในการจัดการกับประเด็นปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยว ข้องกับการท่องเที่ยว โดยประเทศฟิลิปปินส์จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติ งานตามกรอบดังกล่าวในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗
ที่ประชุมรับทราบการจัดกิจกรรมตามแผนพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Human Resources Management and Development Network (ATRM) ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว ได้แก่ การจัดอบรม Cruise Specialists ในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย  การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศ กัมพูชาและอินโดนีเซีย การจัดอบรมสาขาวิชาชีพพนักงานต้อนรับในประเทศมาเลเซีย การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในประเทศไทย
        รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนได้รับรองแถลงการณ์ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมทาง ด้านการท่องเที่ยวเพื่อแสดงถึงบทบาทสำคัญที่การท่องเที่ยวมีต่อการพัฒนาทาง สังคมและเศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากร
    ๓.๔ ความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
ประเทศอาเซียนได้จัดตั้งคณะกรรมการติดตามตรวจสอบวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งชาติ (Tourism Professional Certification Boards) และคณะกรรมการวิชาชีพการท่องเที่ยวแห่งชาติ  (National Tourism Professional Board) โดยในปี ๒๕๕๖ ได้มีการพัฒนาวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรมสำหรับสาขาวิชาชีพ
การโรงแรม และตารางเทียบโอนคุณสมบัติ (ASEAN Tourism Qualifications Eqivalent Matrix)แล้วเสร็จ ซึ่งในปี ๒๕๕๗ จะจัดอบรมแก่ผู้ฝึกสอนและผู้ประเมินเพื่อให้สามารถอบรมและประเมินรับรอง คุณภาพของบุคลากรในสาขาวิชาชีพการโรงแรมได้ตามมาตรฐานอาเซียนที่กำหนด พัฒนาวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรมสำหรับสาขาวิชาชีพตัวแทนท่อง เที่ยวและธุรกิจนำเที่ยวต่อไป  รวมทั้งพัฒนาระบบการจดทะเบียนผู้ประกอบการวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวของอา เซียน  นอกจากนี้ยังอยู่ในระหว่างการเตรียมจัดตั้งสำนักเลขาธิการระดับภูมิภาค (Regional Secretariat) ในปี ๒๕๕๘ เพื่อดูแลการดำเนินงานตามข้อตกลงยอมรับร่วมด้านบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอีก ด้วย
๔. ความคืบหน้าของการตรวจลงตราเดียวอาเซียน (ASEAN Common Visa)
        รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนรับทราบผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค ณ ประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งระบุถึงประเด็นความท้าทายในการผลักดันการใช้วีซ่าเดียวกันของอาเซียนและแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปได้
โดยทางรัฐมนตรีอาเซียนขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดให้เกิดการพัฒนาการใช้วีซ่าเดียวกันของอาเซียน
๕. ความร่วมมือระหว่างอาเซียน – จีน ญี่ปุ่นและเกาหลี
            รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน+๓ (จีน เกาหลี และญี่ปุ่น) แสดงความยินดีกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังอาเซียน+๓ กว่า ๒๓o ล้านคนในปี ๒๕๕๖ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๕ ด้วยอัตราเติบโตร้อยละ ๔.๓๗ ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจากประเทศอาเซียน+๓ ยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าตามแผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านท่องเที่ยว ระหว่างอาเซียน และประเทศ +๓ ๒๕๕๖-๒๕๖o ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือด้านคุณภาพการท่องเที่ยว การพัฒนาทักษะ การส่งเสริมและการทำการตลาดร่วมกัน การท่องเที่ยวทางเรือ และการสื่อสารในภาวะวิกฤต โดยความร่วมมือจาก ASEAN-China Centre  ASEAN-Japan Centre และ ASEAN-Korean Centre ซึ่งดำเนินความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในอาเซียน
๖.ความร่วมมือระหว่างอาเซียนอินเดีย
    ที่ประชุมยินดีต่อความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนที่เพิ่มขึ้น ผ่านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษา สื่อและการท่องเที่ยว รวมทั้งยืนยันที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยวตามกรอบบันทึก ความเข้าใจระหว่างอาเซียนและอินเดีย นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกทางด้านวีซ่า และสนับสนุนการจัดโปรแกรมแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอาเซียนและอินเดียอย่างต่อ เนื่อง
๗. ความร่วมมือกับภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ UNWTO WTCC PATA
    ที่ประชุมรับทราบบทบาทและการดำเนินการของ UNWTO และ WTTC ในการให้ความสำคัญต่อการเพิ่มความอำนวยความสะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะในเรื่องความเชื่อมโยงทางอากาศและการตรวจลงตราของประเทศอาเซียน รวมทั้งการพัฒนาแนวทางปฏิบัติและมาตรการในการตรวจสอบการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน และส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างประเทศอาเซียน
    PATA ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบกิจกรรมความร่วมมือระหว่าง PATA กับประเทศสมาชิกอาเซียน อันได้แก่ การจัด PATA Travel Mart ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ ณ พนมเปญ กัมพูชา การรายงานพยากรณ์นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกปี ๒๕๕๗-๒๕๖๑ และโครงการ PATA Loves Campaign
    นอกจากนี้ ประเทศไทย โดย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ได้เสนอให้มีการพัฒนามาตรฐานสำหรับสถานที่การจัด MICE ของอาเซียน (ASEAN MICE Venue Standard) และจะดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Networking on MICE Public Private Partnership ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ มีนาคม ๒๕๕๗
๘.งานส่งเสริมการขาย Travel Exchange (TRAVEX 2014)
    งาน TRAVEX 2014 จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๑-๒๓ มกราคม ๒๕๕๗ มีผู้ประกอบการท่องเที่ยวจากประเทศอาเซียน (Seller) เข้าร่วมงาน จำนวน ๘๗๙ ราย ซึ่งผู้ประกอบการจากประเทศไทยเข้าร่วมมากที่สุด โดยมีบูธของผู้ประกอบการไทย จำนวนทั้งสิ้น  ๑o๔ ราย แบ่งเป็น โรงแรม ๘๗ ราย บริษัทนำเที่ยว ๑๖ ราย

PACIFIC ASIA TRAVEL ASSOCIATION (PATA) ๑ ราย ขณะที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียมีจำนวนผู้ประกอบการเข้าร่วมงานเป็น ลำดับถัดมา  และ Buyers จาก ๕๔ ประเทศ จำนวน ๔๖๒ ราย สื่อมวลชนจำนวน ๗๕ ราย ในปีนี้ ททท. จัดตั้งคูหาประเทศไทยในพื้นที่ ๑๒๖ ตารางเมตร เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวและเจรจานัดหมาย ภายใต้แนวคิด “Amazing Thailand - It begins with the people”
    นอกจากนี้ ททท. ได้จัดกิจกรรม Media Briefing วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๗ โดยผู้ว่าการททท. ได้บรรยายสรุปสถานการณ์การท่องเที่ยวและสินค้าการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับ ผู้สื่อข่าวจากต่างประเทศได้รับทราบ ณ Borneo Convention Centre Kuching และจัดกิจกรรม Late Night Function: Pattaya Variety Night วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรม Hilton Kuching โดยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เมืองพัทยา TTG Travel Trade Publishing และ ททท. สำนักงานพัทยา เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น



เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก aectourismthai.com
 

Editor Bow
ชม 4,732 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean