ลบ แก้ไข

การท่องเที่ยวอาเซียน กับการเปิดเสรีภาคบริการของอาเซียน

การท่องเที่ยวอาเซียน กับ

ผศ. ดร. พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์
      ในปีหน้านี้ประชาคมอาเซียนจะเปิดอย่างเป็นทางการ ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่เตรียมความพร้อมเข้าสู่การเปิดประชาคมอาเซียน หรือ  ASEAN Community ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านรอบๆเราประเทศอื่น การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้นต้องเตรียมพร้อมในหลายๆด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในด้านหนึ่งซึ่งถือว่าอาเซียนได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและดูจะมีความก้าวหน้าอย่างมาก คือ การเตรียมพร้อมในการเปิดเสรีทางการค้าบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

      อุตสาหกรรมท่องเที่ยวถือเป็นสาขาหนึ่งของการค้าบริการ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศ และยังนำมาซึ่งการจ้างงานที่สำคัญจำนวนมาก โดยจากรายงานข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก (UNWTO World Tourism Barometer) ณ เดือนมกราคม 255 สรุปว่าในปี 2556 มีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกถึง 1087 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนถึง 52 ล้านคน ในขณะที่ในส่วนของภูมิภาคอาเซียนนั้น มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนในปี 2556 ถึง 92 ล้านคน (ข้อมูลจากASEAN Secretariat )
 
      การเดินทางท่องเที่ยวดังกล่าวทำให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม การจ้างงานแบบทางตรง อาทิเช่น การจ้างมัคคุเทศก์ หรือการจ้างงานในโรงแรมต่างๆของอาเซียน ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนถึง  9.3 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 3.2 ของการจ้างงานทั้งหมดในอาเซียน นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังทำให้เกิดการจ้างงานโดยทางอ้อมด้วย เช่น คนขับรถ taxi หรือ งานอื่นๆที่อาจไม่เกี่ยวพันกับธุรกิจการท่องเที่ยวโดยตรง อีกเป็นจำนวนถึง 25 ล้านคน (ข้อมูลจากASEAN Secretariat) จึงเห็นได้ว่าอาเซียนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจการค้าบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
 
      ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้มีการลงนามในข้อตกลงหลายด้านเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกัน อาทิเช่น ข้อตกลงท่องเที่ยวแห่งอาเซียน หรือ ASEAN Tourism Agreement (ATA) กรอบความตกลงอาเซียนด้านการบริการ หรือ ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) และข้อตกลงอาเซียนด้านบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว หรือ ASEAN MRA on Tourism Professionals เป็นต้น
 
      สำหรับข้อตกลงอาเซียนด้านบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว หรือ ASEAN MRA on Tourism Professionals นั้น ถือเป็นรูปแบบล่าสุดของการพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าบริการของอาเซียน ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณสมบัติของผู้ให้บริการซึ่งเป็นประชาชนชาวอาเซียนให้มีคุณภาพได้รับการยอมรับทั้งจากองค์กรภายในประเทศของตน และสามารถที่จะได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่ร่วมลงนามในข้อตกลงนี้ด้วย ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นสนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ให้บริการวิชาชีพทางการท่องเทียวภายในภูมิภาค ให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และข้อบังคับของประเทศสมาชิก และเพื่อเพิ่มความเท่าเทียมกัน รวมทั้งประสิทธิภาพของทรัพยากรบุคคลด้านการท่องเที่ยวโดยการใช้มาตรฐานสมรรถนะพื้นฐานการท่องเที่ยว (Minimum Competency Standard for Tourism) เป็นหลัก
 
      นอกจากนี้อาเซียนยังจะจัดทำมาตรฐานสมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน(ASEAN Common Competency Standards for Tourism Professionals: ACCSTP) ให้แล้วเสร็จและสามารถนำไปใช้ได้ในประเทศสมาชิก โดย ACCSTP จะระบุถึงสมรรถนะพื้นฐานขั้นต่ำของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวที่ต้องการทำงานในสายงานสาขาต่างๆ ด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน หากบุคคลากรด้านการท่องเที่ยวมีสมรรถนะและความสามารถในการให้บริการตามข้อตกลงพื้นฐานของอาเซียนแล้วนั้น ก็สามารถเดินทางไปทำงานในประเทศสมาชิกต่างๆได้ อย่างไรก็ดัต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆของประเทศนั้นๆด้วย

การกำหนดมาตรฐานดังกล่าวจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวและสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือทางด้าน MRA ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นสำคัญ

      คุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียนจะได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดที่ลงนามในข้อตกลงฯ ซึ่งหมายความว่า บุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตรสมรรถนะวิชาชีพบริการท่องเที่ยวในสาขาที่ระบุใน ACCSTP จากหน่วยงาน The Tourism Professional Certification Board (TPCB) ที่รับผิดชอบของประเทศนั้นๆก็จะสามารถทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้ด้วย โดยสิทธิการทำงานจะอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของประเทศที่บุคคลผู้นั้นถูกจ้างงาน ดังนั้น ประกาศนียบัตรดังกล่าวจึงถือเป็นเครื่องรับรองสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการสมัครงานด้านการท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียน ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคและการเคลื่อนย้ายเสรีของแรงงานบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวของอาเซียนให้สะดวกและขยายตัวอย่างรวดเร็วต่อไป

       การพัฒนาในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอาเซียนถือว่าเป็นดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง สมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกันอย่างจริงจัง นอกจากข้อตกลงต่างๆที่ได้มีการลงนามร่วมกันแล้ว ยังได้มีการวางหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคคลากรในสายการท่องเที่ยวให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน หลักสูตรการท่องเที่ยวแห่งอาเซียน หรือ Common ASEAN Tourism Curriculum (CATC) นี้จะช่วยให้บุคลากรในสายการท่องเที่ยวมีศักยภาพที่ทัดเทียมกันและมีความสามารถสูงที่จะแข่งขันกับภูมิภาคอื่นต่อไป ในครั้งหน้าหากมีโอกาสฉันจะได้กล่าวถึง หลักสูตร CARC  นี้ต่อไป

 

เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก matichon.co.th
 

Editor Bow
ชม 9,528 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาได้เสนอว่าอาเซียนควรจะพัฒนาแบรนด์ของสินค้าในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อที่จะปรับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาเซียนให้มีมาตรฐานเดียวกันและเพิ่มมูลค่าในการส่งออก...
    by dogTech
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เตรียมที่จะลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียนหลังจากการเปิดตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)...
    by dogTech
  • เหตุการณ์ประท้วงเพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชาเมื่อ ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้สร้างความกังวลให้กับคู่ค้าในธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอย่างมาก...
    by Editor Bow
  • สัญลักษณ์อาเซียน ที่เป็นรูปข้าวสีเหลือง 10 ต้นและสีต่างๆใน ธงอาเซียน มีความหมายว่าอย่างไร ?? เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจาก สำนักงานสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง...
    by Editor Bow

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean