ลบ
แก้ไข
ธุรกิจโรงแรมเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถพลิกความท้าทายดังกล่าวให้เป็นโอกาสปรับตัวเองขึ้นไปเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาคได้
การเจรจาเปิดเสรีด้านการค้าบริการภายใต้ข้อตกลง ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเออีซี มีการทําข้อผูกพันเพื่อเปิดตลาดการค้าบริการในสาขาต่างๆมาแล้วทั้งหมด 7 ฉบับในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทั้งไทยและหลายชาติอาเซียนได้อาศัยความยืดหยุ่นของข้อตกลง เพื่อสงวนและจํากัดเพดานการของนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจโรงแรมมาโดยตลอด
สําหรับของไทยนั้นไม่ได้สงวนแค่ธุรกิจโรงแรมเท่านั้น แต่จํากัดเพดานการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติไว้ที่ 49% ครอบคลุมทุกสาขาบริการมาโดยตลอด แต่การเจรจาจัดทําข้อผูกพันในฉบับ 8 ที่ผ่านมา เป็นการขยายเพดานการถือหุ้นธุรกิจโรงแรมในไทยให้กับนักลงทุนอาเซียนเป็นครั้งแรก ซึ่งจะทําให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาทําธุรกิจโรงแรมในไทยได้ง่ายขึ้นมากและส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น แต่การอนุญาตดังกล่าวยังจะไม่เห็นผลกระทบมากนัก เพราะไทยกําหนดเงื่อนไขว่าเปิดเสรีเฉพาะโรงแรมระดับหกดาวขึ้นไป ซึ่งมักเป็นการลงทุนขนาดใหญ่มูลค่ามากกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งสามารถขอสมัครรับการส่งเสริมการลงทุนจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้ถึง 100%
หากมองตลาดโรงแรมในประเทศอาเซียน พบว่าเกือบทุกประเทศสร้างเงื่อนไขการลงทุนเช่นกันยกเว้นสิงคโปร์และเวียดนาม ที่มีการเปิดเสรีมากที่สุด ขณะที่อินโดนีเซียอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 100% แต่จํากัดบางพื้นที่ ส่วนมาเลเซียอนุญาตเฉพาะโรงแรม 4-5 ดาว และฟิลิปปินส์ยังจํากัดการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติไว้เป็นเสียงข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบระดับการเปิดเสรีสําหรับธุรกิจโรงแรมของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ดูเหมือนว่าไทยจะยังเปิดเสรีน้อยที่สุดรองจากฟิลิปปินส์ ซึ่งด้วยรูปแบบการเจรจาลักษณะรีเควช แอนด์ ออฟเฟอร์มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศอื่นในอาเซียนจะเรียกร้องให้ไทยเปิดเสรีในธุรกิจโรงแรมมากขึ้น หากไทยเปิดเสรีให้นักลงทุนอาเซียนสําหรับโรงแรมระดับรองลงมาด้วยแล้ว คาดว่าจะส่งผลกระทบมากขึ้นเพราะผู้ที่จะได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งปัจจุบันเผชิญการแข่งขันที่สูงมากอยู่แล้ว เห็นได้จากระดับราคาห้องพักที่ปรับเพิ่มเฉลี่ยเพียง 2% ทั้งๆ ที่จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นกว่า 20% ในปี 2556
ขณะที่ ในมุมของการออกไปลงทุนในต่างประเทศเมื่อประเทศอาเซียนอื่นๆ เปิดเสรีให้นักลงทุนไทยมากขึ้น แต่กลับพบว่าโรงแรมไทยยังมีประสบการณ์ลงทุนในต่างประเทศน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งจากมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่เมื่อตลาดเปิดเสรีมากขึ้นธุรกิจไทยควรอาศัยโอกาสเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายโรงแรมให้ครอบคลุมและเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์บริหารโรงแรมของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในทําเลธุรกิจ เพราะจํานวนนักท่องเที่ยวและการเดินทางติดต่อธุรกิจมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นในหลายๆ ประเทศ ซึ่งเมืองหลวงและหัวเมืองสําคัญกําลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางหลัก เช่น
จํานวนนักท่องเที่ยวไปจาการ์ตาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12% มากกว่าบาหลีที่เพิ่มขึ้นปีละ 10% ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์มองว่า นักลงทุนโรงแรมไทยควรพิจารณาลงทุนในเมืองธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มกําลังเติบโตสูงอย่างอินโดนีเซียและประเทศกลุ่มซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งเมืองมี
การขยายตัวและมีการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีความต้องการห้องพักโรงแรมในย่านธุรกิจต่างๆ
ขณะเดียวกัน โรงแรมระดับกลาง-ล่างของไทยต้องเร่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นลดต้นทุน การรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย และสร้างแบรนด์เพื่อรองรับการเปิดเสรีธุรกิจโรงแรมของไทยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก โพสต์ทูเดย์
โอกาสอุตฯ โรงแรมสู้แข่งขันยุคเปิดเสรี
ธุรกิจโรงแรมเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถพลิกความท้าทายดังกล่าวให้เป็นโอกาสปรับตัวเองขึ้นไปเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาคได้
การเจรจาเปิดเสรีด้านการค้าบริการภายใต้ข้อตกลง ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเออีซี มีการทําข้อผูกพันเพื่อเปิดตลาดการค้าบริการในสาขาต่างๆมาแล้วทั้งหมด 7 ฉบับในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทั้งไทยและหลายชาติอาเซียนได้อาศัยความยืดหยุ่นของข้อตกลง เพื่อสงวนและจํากัดเพดานการของนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจโรงแรมมาโดยตลอด
สําหรับของไทยนั้นไม่ได้สงวนแค่ธุรกิจโรงแรมเท่านั้น แต่จํากัดเพดานการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติไว้ที่ 49% ครอบคลุมทุกสาขาบริการมาโดยตลอด แต่การเจรจาจัดทําข้อผูกพันในฉบับ 8 ที่ผ่านมา เป็นการขยายเพดานการถือหุ้นธุรกิจโรงแรมในไทยให้กับนักลงทุนอาเซียนเป็นครั้งแรก ซึ่งจะทําให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาทําธุรกิจโรงแรมในไทยได้ง่ายขึ้นมากและส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น แต่การอนุญาตดังกล่าวยังจะไม่เห็นผลกระทบมากนัก เพราะไทยกําหนดเงื่อนไขว่าเปิดเสรีเฉพาะโรงแรมระดับหกดาวขึ้นไป ซึ่งมักเป็นการลงทุนขนาดใหญ่มูลค่ามากกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งสามารถขอสมัครรับการส่งเสริมการลงทุนจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้ถึง 100%
หากมองตลาดโรงแรมในประเทศอาเซียน พบว่าเกือบทุกประเทศสร้างเงื่อนไขการลงทุนเช่นกันยกเว้นสิงคโปร์และเวียดนาม ที่มีการเปิดเสรีมากที่สุด ขณะที่อินโดนีเซียอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 100% แต่จํากัดบางพื้นที่ ส่วนมาเลเซียอนุญาตเฉพาะโรงแรม 4-5 ดาว และฟิลิปปินส์ยังจํากัดการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติไว้เป็นเสียงข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบระดับการเปิดเสรีสําหรับธุรกิจโรงแรมของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ดูเหมือนว่าไทยจะยังเปิดเสรีน้อยที่สุดรองจากฟิลิปปินส์ ซึ่งด้วยรูปแบบการเจรจาลักษณะรีเควช แอนด์ ออฟเฟอร์มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศอื่นในอาเซียนจะเรียกร้องให้ไทยเปิดเสรีในธุรกิจโรงแรมมากขึ้น หากไทยเปิดเสรีให้นักลงทุนอาเซียนสําหรับโรงแรมระดับรองลงมาด้วยแล้ว คาดว่าจะส่งผลกระทบมากขึ้นเพราะผู้ที่จะได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งปัจจุบันเผชิญการแข่งขันที่สูงมากอยู่แล้ว เห็นได้จากระดับราคาห้องพักที่ปรับเพิ่มเฉลี่ยเพียง 2% ทั้งๆ ที่จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นกว่า 20% ในปี 2556
ขณะที่ ในมุมของการออกไปลงทุนในต่างประเทศเมื่อประเทศอาเซียนอื่นๆ เปิดเสรีให้นักลงทุนไทยมากขึ้น แต่กลับพบว่าโรงแรมไทยยังมีประสบการณ์ลงทุนในต่างประเทศน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งจากมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่เมื่อตลาดเปิดเสรีมากขึ้นธุรกิจไทยควรอาศัยโอกาสเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายโรงแรมให้ครอบคลุมและเพิ่มมูลค่าให้แบรนด์บริหารโรงแรมของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในทําเลธุรกิจ เพราะจํานวนนักท่องเที่ยวและการเดินทางติดต่อธุรกิจมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นในหลายๆ ประเทศ ซึ่งเมืองหลวงและหัวเมืองสําคัญกําลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางหลัก เช่น
จํานวนนักท่องเที่ยวไปจาการ์ตาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12% มากกว่าบาหลีที่เพิ่มขึ้นปีละ 10% ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์มองว่า นักลงทุนโรงแรมไทยควรพิจารณาลงทุนในเมืองธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มกําลังเติบโตสูงอย่างอินโดนีเซียและประเทศกลุ่มซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งเมืองมี
การขยายตัวและมีการเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีความต้องการห้องพักโรงแรมในย่านธุรกิจต่างๆ
ขณะเดียวกัน โรงแรมระดับกลาง-ล่างของไทยต้องเร่งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นลดต้นทุน การรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย และสร้างแบรนด์เพื่อรองรับการเปิดเสรีธุรกิจโรงแรมของไทยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก โพสต์ทูเดย์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
การแบ่งปันพรมแดนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีความต่างที่ชัดเจนและกำลังได้รับการพัฒนาทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและเพิ่มความเข้าใจอันดีระหว่างกันและกันก่อนการมาถึงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน...by dogTech
-
-
นายอูริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มจากประมาณการเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.2...by dogTech
-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เดินทางเข้าร่วมการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยอาเซียน หรือ World Economic Forum (WEF) on ASEAN ระหว่างวันที่ 1 - 2 มิถุนายน 2559 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นการประชุมระดับภูมิภาคที่ World...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต