ลบ แก้ไข

จับตาอุตสาหกรรมสิ่งทอกัมพูชา

จับตาอุตสาหกรรมสิ่งทอกัม

     เหตุการณ์ประท้วงเพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชาเมื่อ ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้สร้างความกังวลให้กับคู่ค้าในธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ที่มี ชื่อเสียงและมียอดขายติดอันดับโลก ทั้งนี้หากพิจารณาถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ต่อกัมพูชา จะพบว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเปรียบเสมือนสายเลือดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจกัมพูชาให้เติบโต หากเกิดสถานการณ์ลักษณะนี้ในความถี่ที่บ่อยครั้งมากขึ้น และไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าของกัมพูชาในระยะต่อไปได้
        ในบทวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย มองปมประเด็นที่ต้องจับตามองในภาคธุรกิจว่า เหตุประท้วงที่เกิดขึ้นมีประเด็นหลักมาจากข้อเรียกร้องจากฝั่งแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่ต้องการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิมที่ระดับ 80 ดอลลาร์ต่อเดือน ไปสู่ระดับ 160 ดอลลาร์ต่อเดือน ในขณะที่ ทางภาครัฐได้เสนอที่จะปรับค่าแรงให้เป็น 95-100 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่ ผู้ประกอบการยอมรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากสามารถชดเชยด้วยสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่กัมพูชาได้รับจากประเทศคู่ค้าอย่างสหรัฐและสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกันค่าแรงที่เพิ่มขึ้นยังถือว่าต่ำกว่าประเทศผู้ผลิตอื่นๆ แต่หากมองถึงข้อเรียกร้องจากแรงงานที่ได้ยื่นข้อเสนอในการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะพบว่า หากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำขยับไปสู่ระดับ 160 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน จะทำให้ความน่าสนใจในฐานะฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่ต้นทุนต่ำของกัมพูชาลดบทบาทลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตอื่นๆ โดยเฉพาะบังกลาเทศ
        ในขณะเดียวกันการปรับค่าแรงตามข้อเรียกร้องของแรงงานในทันที อาจส่งผลให้กัมพูชาต้องเผชิญการแข่งขันกับคู่แข่งในอีกระดับ อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน รวมถึงไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีทักษะแรงงานในการผลิตที่สูงกว่า อีกทั้งยังมีสินค้าต้นน้ำที่สามารถปูอนสายการผลิตภายในประเทศได้
        อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นที่ทราบกันดีว่า มีการใช้แรงงานอย่างเข้มข้น ดังนั้นการประท้วงและหยุดงานของแรงงาน ถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะต้องให้ความสำคัญและพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลได้ผลเสียที่จะตามมา รอยเตอร์ส เคยมีรายงานว่า ในปี 2555 แรงงานในภาคการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชามีการประท้วงและนัดหยุดงาน เพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 134 ครั้ง และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2556 มีการประท้วงแล้วถึง 131 ครั้ง ถือว่ามากครั้งที่สุดนับตั้งแต่แรกมีการประท้วงเมื่อปี 2546
        ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า แม้ว่าสถานการณ์การประท้วงในกัมพูชา เป็นปัจจัยกดดันการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปีนี้ แต่หากสถานการณ์ดีขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ในขอบเขตจำกัด และไม่กระทบต่อการส่งออกมากนัก ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว
 คาดว่าการส่งออกเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาไปยังตลาดโลกในปี 2557 น่าจะอยู่ที่ระดับ 6,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 20.0% (YoY)
        ในขณะที่ การส่งออกสิ่งทอซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำของไทยไปยังกัมพูชาในปี 2557 ก็น่าจะยังเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีมูลค่าประมาณ 145 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 20.0% (YoY) โดยสินค้าหลักที่กัมพูชายังมีความต้องการจากไทยค่อนข้างสูง ได้แก่ ผ้าผืน และเส้นด้าย เนื่องจากการผลิตภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการและกำลังการผลิตในประเทศที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น



เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor Bow
ชม 4,407 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean