ลบ
แก้ไข
ผู้ว่าราชการคนดังของกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย "นายโจโก วิโดโด" จะเปลี่ยนโฉมมหานครที่วุ่นวายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยการยกเครื่องเมืองเก่าและดึงดูดนักท่องเที่ยว หลังจากตึกเก่ายุคอาณานิคมกลางกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกยกย่องให้เป็น "อัญมณีแห่งเอเชีย" ถูกละเลยมาเป็นเวลานานหลายสิบปี
เมืองเก่าในยุคสมัยใหม่ทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตา ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการค้าโลก ที่ซึ่งพ่อค้าจากหมู่เกาะต่าง ๆ ทั่วอินโดนีเซีย เข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าโดยเฉพาะเครื่องเทศ ที่เป็นที่ต้องการในยุโรป
นานหลายร้อยปีที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของจาการ์ตาเต็มไปด้วยอาคารสีขาวและถนนปูหินหยาบ ๆ จาการ์ตาหรือ ปัตตาเวียในเวลานั้น ได้รับการยกย่องให้เป็น "อัญมณีแห่งเอเชีย" โดยกะลาสีชาวยุโรปที่เดินทางมาถึงหลังรอนแรมในท้องทะเลมานาน
กรุงจาการ์ตาขยายตัวกลายเป็นเมืองที่มีประชากรราว 10 ล้านคน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของการจราจรติดขัดมากกว่าเรื่องอาคารเก่า ย่านเมืองเก่าไม่ได้รับการซ่อมแซม ผู้อยู่อาศัยที่มั่งคั่งไม่สนใจอาคารแบบนี้
มีเพียงส่วนเล็ก ๆ บางส่วนเท่านั้นที่ถูกอนุรักษ์ไว้ เช่น จัตุรัส "ฟาตาฮิลลาห์" ที่ปูพื้นด้วยหินหยาบใจกลางย่านเมืองเก่า และมีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุด จัตุรัสแห่งนี้อยู่ในสภาพดี รายล้อมไปด้วยพ่อค้าขายของที่ระลึกเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้นักท่องเที่ยวที่เดินผ่านไปมา
บริเวณจัตุรัสที่อนุรักษ์ไว้อย่างดีนั้น เป็นศาลาประชาคมเก่าและพิพิธภัณฑ์แสดงหุ่นกระบอกอินโดนีเซีย แต่ด้านนอกของพื้นที่เล็ก ๆ แห่งนี้คือตึกที่อยู่ในสภาพเก่าอย่างยิ่ง
พวกเขาเชื่อว่าแผนการนี้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าหลายแผนการก่อนหน้า เพราะได้สร้างองค์กรความร่วมมือในรูปของสมาคม มาจากประชาชนหลายภาคส่วน เพื่อดูแลการฟื้นฟูพื้นที่ ประกอบด้วยบริษัทเอกชน อดีตรัฐมนตรี และกลุ่มอนุรักษ์ ที่สำคัญคือทางการกรุงจาการ์ตาให้การสนับสนุนอย่างแข่งขัน รับปากให้งบประมาณ 12.5 ล้านดอลลาร์เพื่อการฟื้นฟู
อาคารบางแห่งในพื้นที่ ศูนย์นักท่องเที่ยว และพื้นที่แสดงศิลปะร่วมสมัยมีกำหนดเปิดในเดือนหน้า สมาคมตั้งใจปรับปรุงอาคารประวัติศาสตร์ 85 หลังในช่วงห้าปี โครงการนี้จะช่วยสร้างงานได้ 11,400 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม บางคนเกรงว่าโครงการพัฒนาที่กระตือรือร้นจนเกินเหตุเช่นนี้ อาจทำลายเสน่ห์ของเมืองเก่าและเปลี่ยนไปเป็นอาคารทันสมัยและห้างสรรพสินค้าที่น่าเกลียด
"โกตา ตูอาคือเมือง ไม่ใช่ดิสนีย์แลนด์" นางเอลลา อูบาดิดี เจ้าของตึกเก่ายุคอาณานิคมหลังหนึ่งในย่านเมืองเก่ากล่าว
ความวิตกของเธอเกิดจากประวัติของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการ หลายคนมาจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของอินโดนีเซีย อีกทั้งยังขาดความสนใจจริงจังจากสาธารณะ
บางคนมองว่าตึกเก่าในย่านที่สร้างโดยเจ้าอาณานิคม เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองที่ประชาชนต้องอดทน และชาวจาการ์ตาสนใจรักษาไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นับตั้งแต่ดัทช์ออกจากอินโดนีเซียช่วงปลายทศวรรษ 1940
อย่างไรก็ตาม ผู้สนับสนุนแผนฟื้นฟูอาคารเก่ายังมีความหวัง พวกเขาเชื่อว่า อาคารเหล่านี้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังกรุงจาการ์ตาได้มากขึ้น
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ
อินโดเตรียมเปลี่ยนโฉมกรุงจาการ์ตาให้กลับเป็นอัญมณีแห่งเอเชียอีกครั้ง
ผู้ว่าราชการคนดังของกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย "นายโจโก วิโดโด" จะเปลี่ยนโฉมมหานครที่วุ่นวายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยการยกเครื่องเมืองเก่าและดึงดูดนักท่องเที่ยว หลังจากตึกเก่ายุคอาณานิคมกลางกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกยกย่องให้เป็น "อัญมณีแห่งเอเชีย" ถูกละเลยมาเป็นเวลานานหลายสิบปี
เมืองเก่าในยุคสมัยใหม่ทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตา ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการค้าโลก ที่ซึ่งพ่อค้าจากหมู่เกาะต่าง ๆ ทั่วอินโดนีเซีย เข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าโดยเฉพาะเครื่องเทศ ที่เป็นที่ต้องการในยุโรป
นานหลายร้อยปีที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของจาการ์ตาเต็มไปด้วยอาคารสีขาวและถนนปูหินหยาบ ๆ จาการ์ตาหรือ ปัตตาเวียในเวลานั้น ได้รับการยกย่องให้เป็น "อัญมณีแห่งเอเชีย" โดยกะลาสีชาวยุโรปที่เดินทางมาถึงหลังรอนแรมในท้องทะเลมานาน
กรุงจาการ์ตาขยายตัวกลายเป็นเมืองที่มีประชากรราว 10 ล้านคน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของการจราจรติดขัดมากกว่าเรื่องอาคารเก่า ย่านเมืองเก่าไม่ได้รับการซ่อมแซม ผู้อยู่อาศัยที่มั่งคั่งไม่สนใจอาคารแบบนี้
มีเพียงส่วนเล็ก ๆ บางส่วนเท่านั้นที่ถูกอนุรักษ์ไว้ เช่น จัตุรัส "ฟาตาฮิลลาห์" ที่ปูพื้นด้วยหินหยาบใจกลางย่านเมืองเก่า และมีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุด จัตุรัสแห่งนี้อยู่ในสภาพดี รายล้อมไปด้วยพ่อค้าขายของที่ระลึกเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้นักท่องเที่ยวที่เดินผ่านไปมา
บริเวณจัตุรัสที่อนุรักษ์ไว้อย่างดีนั้น เป็นศาลาประชาคมเก่าและพิพิธภัณฑ์แสดงหุ่นกระบอกอินโดนีเซีย แต่ด้านนอกของพื้นที่เล็ก ๆ แห่งนี้คือตึกที่อยู่ในสภาพเก่าอย่างยิ่ง
พวกเขาเชื่อว่าแผนการนี้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าหลายแผนการก่อนหน้า เพราะได้สร้างองค์กรความร่วมมือในรูปของสมาคม มาจากประชาชนหลายภาคส่วน เพื่อดูแลการฟื้นฟูพื้นที่ ประกอบด้วยบริษัทเอกชน อดีตรัฐมนตรี และกลุ่มอนุรักษ์ ที่สำคัญคือทางการกรุงจาการ์ตาให้การสนับสนุนอย่างแข่งขัน รับปากให้งบประมาณ 12.5 ล้านดอลลาร์เพื่อการฟื้นฟู
อาคารบางแห่งในพื้นที่ ศูนย์นักท่องเที่ยว และพื้นที่แสดงศิลปะร่วมสมัยมีกำหนดเปิดในเดือนหน้า สมาคมตั้งใจปรับปรุงอาคารประวัติศาสตร์ 85 หลังในช่วงห้าปี โครงการนี้จะช่วยสร้างงานได้ 11,400 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม บางคนเกรงว่าโครงการพัฒนาที่กระตือรือร้นจนเกินเหตุเช่นนี้ อาจทำลายเสน่ห์ของเมืองเก่าและเปลี่ยนไปเป็นอาคารทันสมัยและห้างสรรพสินค้าที่น่าเกลียด
"โกตา ตูอาคือเมือง ไม่ใช่ดิสนีย์แลนด์" นางเอลลา อูบาดิดี เจ้าของตึกเก่ายุคอาณานิคมหลังหนึ่งในย่านเมืองเก่ากล่าว
ความวิตกของเธอเกิดจากประวัติของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการ หลายคนมาจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของอินโดนีเซีย อีกทั้งยังขาดความสนใจจริงจังจากสาธารณะ
บางคนมองว่าตึกเก่าในย่านที่สร้างโดยเจ้าอาณานิคม เป็นสัญลักษณ์ของการปกครองที่ประชาชนต้องอดทน และชาวจาการ์ตาสนใจรักษาไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นับตั้งแต่ดัทช์ออกจากอินโดนีเซียช่วงปลายทศวรรษ 1940
อย่างไรก็ตาม ผู้สนับสนุนแผนฟื้นฟูอาคารเก่ายังมีความหวัง พวกเขาเชื่อว่า อาคารเหล่านี้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังกรุงจาการ์ตาได้มากขึ้น
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
กฎบัตรอาเซียนได้กำหนดวัตถุประสงค์ของอาเซียนไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านความร่วมมือที่ใกล้ชิดในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี...by dogTech
-
ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาจนถึงปี 2557 รวมเวลาทั้งสิ้น 5 ปีแล้วที่ประเทศอาเซียนเก่า 6ประเทศเปิดเสรีการค้าและการลงทุน จนกระทั่งปัจจุบัน คิดอยู่ในใจตลอดเวลาว่า "แล้ว SMEs ไทยได้เข้าใจประเด็นเกี่ยวกับ AEC มากน้อยแค่ไหน"...by Editor
-
บริษัทกูเกิลเผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถสำรวจปราสาทนครวัด และปราสาทที่อยู่โดยรอบอีกนับร้อยหลังของกัมพูชา ในมุมมอง 360 องศา ผ่านบริการ สตรีทวิว บนแผนที่ของกูเกิลได้แล้วตั้งแต่วันนี้ คำแถลงของกูเกิลระบุว่า...by Editor Bow
-
เรื่องมาใหม่
คำฮิต