ลบ
แก้ไข
เมื่อเร็วๆ นี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่ข้อมูลแรงงานทั้ง 10 ประเทศอาเซียน ภายหลังการเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 โดยระบุว่า ปี 2558 หรือปี 2015 แนวโน้มประชากรแรงงานรวม 321 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ 298 ล้านคน
เมื่อแยกเป็นรายประเทศพบว่า
1.อินโดนีเซีย ประชากรแรงงานปี 2558 มีจํานวนมากที่สุดที่ 127 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 118 ล้านคน
2. เวียดนาม 52 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 48 ล้านคน
3. ไทย 44 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 40 ล้านคน
4. ฟิลิปปินส์ 40 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 39 ล้านคน
5.เมียนมาร์ 29 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 27 ล้านคน
6. มาเลเซีย 13 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 12 ล้านคน
7. กัมพูชา 9 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 8 ล้านคน
8. ลาว 4 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 3 ล้านคน
9. สิงคโปร์ 3 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 2.5 ล้านคน และ
10.บรูไน 2 แสนคน เท่าเดิมจากปี 2553 โดยสัดส่วนแรงงาน คํานวณในปี 2553 ซึ่งมี 298 ล้านคน แบ่งเป็นชาย 58% หญิง 42%
ส่วนสัดส่วนระหว่างแรงงานมีฝีมือกับแรงงานไร้ฝีมือ เก็บข้อมูลได้ 6 ประเทศ พบว่า ฟิลิปปินส์มีแรงงานมีฝีมือต่อแรงงานไร้ฝีมือ คิดเป็น 9 ต่อ 1 อินโดนีเซีย คิดเป็น 8 ต่อ 2 เวียดนาม คิดเป็น 7 ต่อ 3 กัมพูชา คิดเป็น 3 ต่อ 7 มาเลเซีย คิดเป็น 3 ต่อ 7 และไทย คิดเป็น 2 ต่อ 8 ส่วนบรูไน ลาว
เมียนมาร์ และสิงคโปร์ ไม่สามารถหาข้อมูลได้
นอกจากนี้ ข้อมูลค่าแรงขั้นต่ำ ระบุว่า ประเทศที่ค่าแรงขั้นต่ำสูงสุด คือ สิงคโปร์ อยู่ที่ 62 เหรียญสหรัฐต่อวัน รองลงมาคือ มาเลเซีย 17 เหรียญสหรัฐต่อวัน ฟิลิปปินส์ 11 เหรียญสหรัฐต่อวัน ไทย 10 เหรียญสหรัฐต่อวัน อินโดนีเซีย 5 เหรียญสหรัฐต่อวัน เวียดนาม 3.2 เหรียญสหรัฐต่อวัน ลาวและเมียนมาร์เท่ากัน คือ 3 เหรียญสหรัฐต่อวัน กัมพูชา 2 เหรียญสหรัฐต่อวัน ส่วนบรูไนไม่กําหนดค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนแนวโน้มอัตราการว่างงานในอาเซียน พบว่า มีเพียง 5.7% เป็นข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียว
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ASEAN Beyond 2015 แรงงานพม่ากลับบ้าน ,กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
สถานการณ์แรงงานใน AEC
เมื่อเร็วๆ นี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่ข้อมูลแรงงานทั้ง 10 ประเทศอาเซียน ภายหลังการเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 โดยระบุว่า ปี 2558 หรือปี 2015 แนวโน้มประชากรแรงงานรวม 321 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ 298 ล้านคน
เมื่อแยกเป็นรายประเทศพบว่า
1.อินโดนีเซีย ประชากรแรงงานปี 2558 มีจํานวนมากที่สุดที่ 127 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 118 ล้านคน
2. เวียดนาม 52 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 48 ล้านคน
3. ไทย 44 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 40 ล้านคน
4. ฟิลิปปินส์ 40 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 39 ล้านคน
5.เมียนมาร์ 29 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 27 ล้านคน
6. มาเลเซีย 13 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 12 ล้านคน
7. กัมพูชา 9 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 8 ล้านคน
8. ลาว 4 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 3 ล้านคน
9. สิงคโปร์ 3 ล้านคน เพิ่มจากปี 2553 อยู่ที่ 2.5 ล้านคน และ
10.บรูไน 2 แสนคน เท่าเดิมจากปี 2553 โดยสัดส่วนแรงงาน คํานวณในปี 2553 ซึ่งมี 298 ล้านคน แบ่งเป็นชาย 58% หญิง 42%
ส่วนสัดส่วนระหว่างแรงงานมีฝีมือกับแรงงานไร้ฝีมือ เก็บข้อมูลได้ 6 ประเทศ พบว่า ฟิลิปปินส์มีแรงงานมีฝีมือต่อแรงงานไร้ฝีมือ คิดเป็น 9 ต่อ 1 อินโดนีเซีย คิดเป็น 8 ต่อ 2 เวียดนาม คิดเป็น 7 ต่อ 3 กัมพูชา คิดเป็น 3 ต่อ 7 มาเลเซีย คิดเป็น 3 ต่อ 7 และไทย คิดเป็น 2 ต่อ 8 ส่วนบรูไน ลาว
เมียนมาร์ และสิงคโปร์ ไม่สามารถหาข้อมูลได้
นอกจากนี้ ข้อมูลค่าแรงขั้นต่ำ ระบุว่า ประเทศที่ค่าแรงขั้นต่ำสูงสุด คือ สิงคโปร์ อยู่ที่ 62 เหรียญสหรัฐต่อวัน รองลงมาคือ มาเลเซีย 17 เหรียญสหรัฐต่อวัน ฟิลิปปินส์ 11 เหรียญสหรัฐต่อวัน ไทย 10 เหรียญสหรัฐต่อวัน อินโดนีเซีย 5 เหรียญสหรัฐต่อวัน เวียดนาม 3.2 เหรียญสหรัฐต่อวัน ลาวและเมียนมาร์เท่ากัน คือ 3 เหรียญสหรัฐต่อวัน กัมพูชา 2 เหรียญสหรัฐต่อวัน ส่วนบรูไนไม่กําหนดค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนแนวโน้มอัตราการว่างงานในอาเซียน พบว่า มีเพียง 5.7% เป็นข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียว
ASEAN Beyond 2015 แรงงานพม่ากลับบ้าน
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ASEAN Beyond 2015 แรงงานพม่ากลับบ้าน ,กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ไทยเร่งผลิตช่างซ่อมอากาศยานรองรับการเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานของอาเซียน นายบัณฑิต ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มองถึงเป้าหมายนี้ว่า...by Editor Bow
-
ผู้ชุมนุมเผชิญหน้ากับกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจที่นำแผงกั้นมาตั้งระหว่างการชุมนุมประท้วงต่อต้านการลงนามยินยอมรับผู้ลี้ภัยจากออสเตรเลียเข้าตั้งถิ่นฐานในกัมพูชา ใกล้กับสถานทูตออสเตรเลียในกรุงพนมเปญ วันที่ 26...by Editor
-
นายมิน อู ประธานหอการค้าจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดงานฉลองวันคล้ายวันสถาปนาก่อตั้งหอการค้าจังหวัดท่าขี้เหล็ก ครบรอบ 22 ปี โดยมีนักธุรกิจชาวพม่า ที่ดำเนินธุรกิจแขนงต่างๆ...by Editor Bow
-
byEditor Thekob Tourismthailand.org/AECJul 6, 2016 นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต