ลบ
แก้ไข
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ได้ประชุมร่วมกันที่เมืองย่างกุ้ง เมียนมาร์ โดยมีปลัดกระทรวงเศรษฐกิจของอาเซียนมาร่วมกันพิจารณาแนวนโยบายการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียน หลังจากก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และอนาคตอาเซียนหลังปี 2558 โดยฝุายไทยมี นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะ
ในการประชุมได้มีการเสนอวิสัยทัศน์ใหม่ของอาเซียนที่ได้มาจากการศึกษาวิจัย โดยสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) ได้เสนอวิสัยทัศน์ "ASEAN Miracle" โดยมี 4 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น โดยเน้นการลด ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกทางการค้าการเชื่อมโยงอาเซียน
2. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร และพลังงานการจัดการภัยพิบัติ และการพัฒนา SMEs
4. การเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลกและการปรับปรุงกลไกสถาบันของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้อาเซียนสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว อาเซียนจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบภายใน และการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนให้มากขึ้น
ส่วน the Rajaratnam School of International Studies และ Institute of Southeast Asian Studies (RSIS/ISEAS) ได้เสนอวิสัยทัศน์ "AEC Plus 2025" โดยเห็นว่าควรผลักดันให้อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของโลกและภูมิภาค โดยการลด ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกการค้า การพัฒนา SMEs การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายใน การขนส่ง Logistics และ ICT การเปิดเสรีการค้าบริการมากขึ้น การส่งเสริมการลงทุน การเชื่อมโยงอาเซียน การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึง และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนรวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันอาเซียน
นอกจากนี้ อาเซียนยังได้หารือให้มีการปรับปรุงกลไกการทำงานของอาเซียนรวมถึงสำนักเลขาธิการอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วางแผนผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ได้เน้นย้ำถึงการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน การจัดทำสื่อข้อมูลเกี่ยวกับ AEC โดยจะแสดงให้เห็นถึงโอกาสการขยายการค้าการลงทุนจาก AEC เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวช่วยสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ AEC แก่ภาคส่วนต่างๆ ทั้งนักธุรกิจ เกษตรกร
เยาวชน และประชาชนทั่วไป และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงของอาเซียนให้มากขึ้น
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
อาเซียนวางอนาคตหลังเปิด AEC
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ได้ประชุมร่วมกันที่เมืองย่างกุ้ง เมียนมาร์ โดยมีปลัดกระทรวงเศรษฐกิจของอาเซียนมาร่วมกันพิจารณาแนวนโยบายการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียน หลังจากก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และอนาคตอาเซียนหลังปี 2558 โดยฝุายไทยมี นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะ
ในการประชุมได้มีการเสนอวิสัยทัศน์ใหม่ของอาเซียนที่ได้มาจากการศึกษาวิจัย โดยสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) ได้เสนอวิสัยทัศน์ "ASEAN Miracle" โดยมี 4 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น โดยเน้นการลด ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกทางการค้าการเชื่อมโยงอาเซียน
2. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร และพลังงานการจัดการภัยพิบัติ และการพัฒนา SMEs
4. การเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลกและการปรับปรุงกลไกสถาบันของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้อาเซียนสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว อาเซียนจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบภายใน และการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนให้มากขึ้น
ส่วน the Rajaratnam School of International Studies และ Institute of Southeast Asian Studies (RSIS/ISEAS) ได้เสนอวิสัยทัศน์ "AEC Plus 2025" โดยเห็นว่าควรผลักดันให้อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของโลกและภูมิภาค โดยการลด ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกการค้า การพัฒนา SMEs การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายใน การขนส่ง Logistics และ ICT การเปิดเสรีการค้าบริการมากขึ้น การส่งเสริมการลงทุน การเชื่อมโยงอาเซียน การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึง และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนรวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันอาเซียน
นอกจากนี้ อาเซียนยังได้หารือให้มีการปรับปรุงกลไกการทำงานของอาเซียนรวมถึงสำนักเลขาธิการอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วางแผนผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ได้เน้นย้ำถึงการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน การจัดทำสื่อข้อมูลเกี่ยวกับ AEC โดยจะแสดงให้เห็นถึงโอกาสการขยายการค้าการลงทุนจาก AEC เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวช่วยสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ AEC แก่ภาคส่วนต่างๆ ทั้งนักธุรกิจ เกษตรกร
เยาวชน และประชาชนทั่วไป และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลงของอาเซียนให้มากขึ้น
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
มีหลายอาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมพิเศษและเพิ่มประสบการณ์การทำงาน โดยตลาดแรงงานเสรีอาเซียนจะทำให้แต่ละอาชีพมีความสำคัญมากขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากในประเทศฟิลิปปินส์ที่ปรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก...by dogTech
-
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวว่าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแรงงานต้องมีสมรรถนะในการทำงาน สมรรถนะด้านภาษาซึ่งกระทรวงมีโครงการส่งเสริมด้านภาษาให้กับแรงงานใหม่และแรงงานที่ทำงานอยู่แล้ว...by dogTech
-
เมื่อเวลา 19.10 น. วันที่ 14 เม.ย. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังสถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ประจำประเทศไทย ซอยสหการประมูล ถนนประชาอุทิศ...by Editor Bow
-
หนึ่งประเทศที่สนใจมาลงทุนในประเทศไทยรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน อีกทั้งยังเชิญชวนคนไทยไปขยายธุรกิจในประเทศคือ "นิวซีแลนด์" รูเบ็น เลเวอร์มอร์เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจําประเทศไทย เปิดเผยว่า...by Editor
เรื่องมาใหม่
คำฮิต