ลบ
แก้ไข
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ ฮ่องกง ได้รายงานว่า ผู้ผลิตสิ่งทอในฮ่องกงได้ลงนามในสัญญาเพื่อจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมแห่งแรกขนาด 200 เฮกตาร์ หรือประมาณ 1,250 ไร่ ในกรุงย่างกุ้ง คาดว่า จะลดต้นทุนการผลิตได้กว่าครึ่งหนึ่ง โดยค่าจ้างแรงงานที่เขตอุตสาหกรรมดังกล่าวจะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5 ของค่าจ้างแรงงานในจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปี'58 และจะเริ่มผลิตได้ภายในปี'59
เขตอุตสาหกรรมดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของ Thilawa Special Economic Zone คาดว่าจะจ้างแรงงานเมียนมาร์(พม่า) ได้อย่างน้อย 30,000 คน ค่าแรงอยู่ที่ประมาณ 100 - 200 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ทั้งสินค้าที่ส่งออกจาก เมียนมาร์ไปยังสหภาพยุโรป(อียู) จะไม่เสียภาษี นำเข้าอีกด้วย อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนในจีนยังไม่เห็นแนวโน้มของผู้ผลิตที่จะย้ายฐานการผลิต แต่ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมาก อาทิ ขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งหากต้องส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่อียู ก็ไม่ควรย้ายฐานการผลิตไปเมียนมาร์ เพราะการขนส่งจะลำบากกว่าเดิม
รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ ฮ่องกง แจ้งว่า อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต่างชาติ เริ่มให้ความสำคัญในการลดต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยได้ย้ายฐานการผลิตจากจีน ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานต่ำแล้ว ไปยังเมียนมาร์ที่มีค่าจ้างแรงงานลดลงไปอีก 20% รวมทั้งหวังใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) ไม่เสียภาษีนำเข้าที่อียูให้แกเมียนมาร์อีกด้วย
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากการเป็นฐานการผลิตเดียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ให้เต็มที่ โดยพิจารณาการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตให้มีประสิทธิภาพครบวงจรทั้งกระบวนการผลิตและการตลาด หรือ พิจารณาขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำ อาทิ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา เป็นต้น
ผลกระทบจากแรงงานพม่า
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก แนวหน้า, ผลกระทบจากแรงงานพม่า
ฮ่องกงอึ้ง! เมียนมาร์ค่าแรงต่ำกว่าจีนหลายเท่า
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ ฮ่องกง ได้รายงานว่า ผู้ผลิตสิ่งทอในฮ่องกงได้ลงนามในสัญญาเพื่อจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมแห่งแรกขนาด 200 เฮกตาร์ หรือประมาณ 1,250 ไร่ ในกรุงย่างกุ้ง คาดว่า จะลดต้นทุนการผลิตได้กว่าครึ่งหนึ่ง โดยค่าจ้างแรงงานที่เขตอุตสาหกรรมดังกล่าวจะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5 ของค่าจ้างแรงงานในจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปี'58 และจะเริ่มผลิตได้ภายในปี'59
เขตอุตสาหกรรมดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของ Thilawa Special Economic Zone คาดว่าจะจ้างแรงงานเมียนมาร์(พม่า) ได้อย่างน้อย 30,000 คน ค่าแรงอยู่ที่ประมาณ 100 - 200 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ทั้งสินค้าที่ส่งออกจาก เมียนมาร์ไปยังสหภาพยุโรป(อียู) จะไม่เสียภาษี นำเข้าอีกด้วย อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนในจีนยังไม่เห็นแนวโน้มของผู้ผลิตที่จะย้ายฐานการผลิต แต่ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมาก อาทิ ขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งหากต้องส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่อียู ก็ไม่ควรย้ายฐานการผลิตไปเมียนมาร์ เพราะการขนส่งจะลำบากกว่าเดิม
รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ ฮ่องกง แจ้งว่า อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต่างชาติ เริ่มให้ความสำคัญในการลดต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยได้ย้ายฐานการผลิตจากจีน ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานต่ำแล้ว ไปยังเมียนมาร์ที่มีค่าจ้างแรงงานลดลงไปอีก 20% รวมทั้งหวังใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี) ไม่เสียภาษีนำเข้าที่อียูให้แกเมียนมาร์อีกด้วย
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากการเป็นฐานการผลิตเดียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ให้เต็มที่ โดยพิจารณาการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตให้มีประสิทธิภาพครบวงจรทั้งกระบวนการผลิตและการตลาด หรือ พิจารณาขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำ อาทิ เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา เป็นต้น
ผลกระทบจากแรงงานพม่า
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก แนวหน้า, ผลกระทบจากแรงงานพม่า
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
เมียนมาร์ความสัมพันธ์กับอาเซียน เมียนมาร์ได้รับมอบหมายให้เป็นประเทศผู้ที่ประสานงานหลักใน 2 สาขา คือ ผลิตภัณฑ์การเกษตร การประมง ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อ่านเพิ่มเติม AEC Tourism Connectivity...by dogTech
-
พัฒนาศุลกากรอาเซียนให้ทันสมัย ศุลกากรของอาเซียนได้เร่งรัดปรับปรุงด้านเทคนิคและพัฒนาพิธีการทางศุลกากรให้ทันสมัยโดยยึดหลักการเสริมสร้างการอํานวยความสะดวกทางการค้า...by Editor Bow
-
เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนถือเป็น ที่ความสลับซับซ้อนมากที่สุดในโลก จะส่งผมดีหรือผลเสียงอย่างไรบ้าง? เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจากเศรษฐกิจในอาเซียน...by Editor Bow
-
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 26 - 30 มิถุนายนนี้ว่า ได้มีโอกาสหารือกับนายจาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรี คนที่ 1 ดูแลด้านเศรษฐกิจ ณ มหาศาลาประชาชน...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต