ลบ แก้ไข

ศูนย์กลางอุตสาหกรรมตอนใต้ของเมียนมาร์

ศูนย์กลางอุตสาหกรรมตอนใต

    การค้าและการลงทุนที่เมืองผาอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐกะเหรียง (Kayin หรือ Karen) ประเทศเมียนมาร์นั้น จากตัวเลขการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างปี 2555 กับปี 2556 พบว่าประเทศไทยลงทุนในเมียนมาร์ เป็นอันดับที่สี่คือมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 10,000 ล้านบาท ตามหลังสิงคโปร์ที่มีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 60,000 ล้านบาท ตามด้วยมาเลเซียมีมูลค่าลงทุนเพิ่มขึ้น 20,000 ล้านบาทและเวียดนามมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 15,000 ล้านบาท ที่น่าสนใจก็คือการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการลงทุนของเวียดนามได้แซงหน้านักลงทุนไทยไปแล้ว
 
        ทำไม "ผาอันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของเมียนมาร์ตอนใต้" ทั้งนี้ เพราะว่ารัฐกะเหรี่ยง เป็นเสมือนประตูสู่ภาคใต้ของเมียนมาร์ ซึ่งสามารถเข้าไปสู่เขตพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่ส าคัญในอนาคตของเมียนมาร์คือ เขตตะนาวศรี (Thanintaryi Division) ที่ประกอบด้วยเมืองแห่งศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ได้แก่ ทวาย มะริต และเกาะสอง และที่ส าคัญไปกว่านั้นเมืองหลักอย่างผาอัน ยังถูกรายล้อมไปด้วยพื้นที่อนาคตทางเศรษฐกิจของเมียนมาร์ทั้งสิ้น
 
        มองไปทางด้านขวาของเมืองผาอันติดกับเมืองเมียวดีที่ตรงกับแม่สอดของจังหวัดตาก ระยะทางจากผาอันสู่ชายแดนไทยเพียง 150 กิโลเมตรเท่านั้น และการทำให้เกิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองผาอัน เมียวดีและแม่สอด (Hpa An-Myawaddy-Mae Sot Link) จะกลายเป็นกลุ่มเมืองอุตสาหกรรมของเมียนมาร์ในอนาคตที่สามารถพึ่งพิงทั้งวัตถุดิบและผ่องถ่ายสินค้าระหว่างกัน
 
        ที่สำคัญคือเมียวดีได้ถูกกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษบนพื้นที่ 6 ถึง 8 พันไร่ที่จะกลายเป็นฐานการผลิตระหว่างประเทศไทยกับเมียนมาร์อีกด้วย ส่วนระยะทางของผาอันสู่ย่างกุ้งเท่ากับ 207 กิโลเมตร ไม่ต้องบอกว่าย่างกุ้งโตวันโตคืนทางเศรษฐกิจอย่างไร ยิ่งย่างกุ้งเจริญเท่าไร ย่างกุ้งต้องพึ่งพาอันในฐานะฐานการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อป้อนย่างกุ้งมากเท่านั้น
 
        เมืองผาอันเข้าสู่เมืองทวายมีระยะทาง 414 กิโลเมตร ในเมื่อเมืองทวายคือเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์ อุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นต้องอาศัยเมืองอุตสาหกรรมอย่างผาอันคอยสนับสนุน
 
        นอกจากนี้ผาอันยังสามารถเชื่อมกับศูนย์กลางเศรษฐกิจตอนกลางอย่าง "มัณฑะเลย์" ด้วยระยะทาง 747 กิโลเมตร แม้ว่าผาอันยังไม่เจริญทางเศรษฐกิจมากก็ตาม แต่คิดว่าจะเป็นอีกหนึ่งอนาคตด้านอุตสาหกรรมของพม่า และจะกลายเป็นเมืองคู่เศรษฐกิจที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองด้านเหนือ ใต้ ออก และตก ซึ่งคิดว่าผาอันสามารถดำรงอยู่ทางด้านเศรษฐกิจในสองสถานะ ทั้งการเป็นศูนย์กลางการผลิตแล้ว กระจายสินค้าออกสู่เมืองคู่เศรษฐกิจและศูนย์กลางคลังสินค้าและเปลี่ยนถ่ายสินค้าตอนใต้ของ        เมียนมาร์
 
        ปัจจัยหลักที่มีส่วนผลักดันให้เมืองผาอันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมตอนใต้ เพราะผาอันเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมผาอันตั้งอยู่บนเส้นทางผาอัน - เมียวดี ซึ่งประกอบด้วย 4 โซน ได้แก่
 
1.เขตการลงทุนต่างชาติ (Foreign Investment Zone)
2.เขตการลงทุนภายในประเทศ (Domestic Investment Zone)
3.เขตลงทุนส่วนภูมิภาค (Local Investment Zone Regional Investment Zone)
4.เขตการลงทุนของ SMEs (SME Investment Zone)
 
       ขนาดเขตอุตสาหกรรมผาอันมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,731.84 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่
 
- โซนอุตสาหกรรม 1,085 ไร่ (62.5% ของพื้นที่ทั้งหมด)
- พื้นที่โครงสร้างพื้นฐาน 386.20 ไร่ (22.3% ของพื้นที่ทั้งหมด)
- โซนพื้นที่สีเขียว 173.18 ไร่ (10% ของพื้นที่ทั้งหมด)
- พื้นที่โซนพาณิชย์ 51.78 ไร่ (2.99% ของพื้นที่ทั้งหมด) และโซนที่อยู่อาศัย 35.68 ไร่ (2.06% ของพื้นที่ทั้งหมด) โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า
 
        ปัจจุบันมีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าใหญ่ตั้งอยู่ บริษัทญี่ปุ่นที่ว่านี้ชื่อ "ยูเอมเอช การ์เมนท์ (UMH Garment Manufacturer)" เปิดทำการเมื่อปี 2012 ซึ่งโรงงานญี่ปุ่นแห่งนี้ยังมีโรงงานเสื้อผ้า อีกสองแห่งในย่างกุ้ง ปัจจุบันโรงงานใน ผาอันมีคนงานทั้งหมด 200 คน ด้วยค่าจ้างเดือนละ 1,500 ถึง 2,500 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่ายังถูกมากๆ เมื่อเทียบกับเมืองย่างกุ้งและเมืองมัณฑเลย์ ที่วันนี้ค่าจ้างต่อเดือนเกือบหนึ่งหมื่นบาท โรงงาน UMH เป็นโรงงานของญี่ปุ่นแห่งแรกที่ตั้งในเขตอุตสาหกรรมผาอัน เป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิตชุดเครื่องแบบ เช่น ชุดพนักงานโรงแรม ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง
ประเทศญี่ปุ่น
 
        สำหรับอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเกิดขึ้นในเมืองผาอัน สามารถแยกเป็นอุตสาหกรรมเน้นทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมแปรรูปปศุสัตว์ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ (เนื่องจากที่ความพร้อมด้านการเกษตร) และซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมต่อมาคืออุตสาหกรรมเน้นแรงงานไม่มีฝีมือ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ ผลิตภัณฑ์ของเล่น เฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูงและต่ำ สิ่งที่ผาอัน ไม่แตกต่างจากเมืองเศรษฐกิจอื่นๆ คือการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินจากเดิมที่ 1 ตารางเมตรราคา 4,000 บาท เพิ่มเป็น 50,000 บาทต่อตารางเมตร
 
        นั้นคือในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมากกว่า พันเปอร์เซ็นต์ นี้คืออุปสรรคอันใหญ่หลวงของ SMEs ที่จะเข้าไปทำธุรกิจในเมียนมาร์



เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ศูนย์ข้อมูลการลงทุนไทยในต่างประเทศ BOI ร่วมกับศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (กรุงเทพธุรกิจ)
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor Bow
ชม 4,006 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean