ลบ แก้ไข

พัฒนาศุลกากรอาเซียนให้ทันสมัย

พัฒนาศุลกากรอาเซียนให้ทั
      พัฒนาศุลกากรอาเซียนให้ทันสมัย  ศุลกากรของอาเซียนได้เร่งรัดปรับปรุงด้านเทคนิคและพัฒนาพิธีการทางศุลกากรให้ทันสมัยโดยยึดหลักการเสริมสร้างการอํานวยความสะดวกทางการค้า และการคุ้มครองสังคมและระบุเป้าหมายที่ชัดเจนไว้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาศุลกากร (Strategic Program of Customs Development: SPCD) คือ การใช้เวลาในการตรวจปล่อยสินค้าภายใน 30 นาที
 
        เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ศุลกากรอาเซียนได้นําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวน การตรวจปล่อยสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยลดทั้งเวลาและต้นทุนในการตรวจปล่อยสินค้าออกจากด่านศุลกากร
 
        นอกจากนี้ ศุลกากรอาเซียนยังทํางานร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจเพื่อพัฒนาและยก
ระดับการให้บริการและการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ โดยที่จํานวนสินค้าร้อยละ 99.65 ของอาเซียน-6 ประเทศ (บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) มีภาษีนําเข้าที่ลดลงเป็นร้อยละ 0 และจํานวนรายการสินค้าร้อยละ 98.86 ของอาเซียน 4 ประเทศ (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) มีภาษีลดลงเหลือร้อยละ 0-5 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ศุลกากรอาเซียนจึงได้เร่งรัดเสริมสร้างการอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วยการร่นระยะเวลาในการตรวจปล่อยสินค้าให้เร็วขึ้น
         ศุลกากรอาเซียนได้ให้การรับรองวิสัยทัศน์ศุลกากรอาเซียน ปี 2558 (ASEAN Customs Vision 2015) ในการประชุมอธิบดีกรมศุลกากรอาเซียน ครั้งที่ 17 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เมื่อเดือนมิถุนายน 2551 มีความก้าวหน้าในการทบทวนความตกลงอาเซียนว่าด้วยศุลกากร เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ข้อบทใหม่ช่วยให้การปฏิบัติงานของศุลกากรอาเซียนสอดคล้องกับสนธิสัญญาและมาตรฐานระหวํางประเทศ เช่น Revised Kyoto Convention, WTO Agreement on Customs Valuation และการดําเนินงานตาม World Customs Organization SAFE Framework of Standards
 
        ศุลกากรอาเซียนมีบทบาทหลักในการพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (National SingleWindow และ ASEAN Single Window) ซึ่งเป็นการบูรณาการการเชื่อมโยงระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและ ผู้ประกอบธุรกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อเร่งรัดกระบวนการตรวจปล่อยสินค้าของศุลกากรให้เร็วยิ่งขึ้น
 
        ในอนาคตอาเซียนจะยังคงปรับปรุงเทคนิคด้านศุลกากรให้ทันสมัยขึ้น และยกระดับการให้บริการด้านศุลกากรแก่สาธารณะตามแนวทางที่ระบุไว้ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีเป้าหมายคือ ดําเนินการตามข้อบทเรื่องศุลกากรและการอํานวยความสะดวกทางการค้าภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) เพื่อมุ่งไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตํอไป



เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ
 

Editor Bow
ชม 3,282 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาสำหรับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ และมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนให้มีการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ดังนี้ 1....
    by dogTech
  • สถิติใหม่ นักเรียนไทย แห่เรียนภาษาจีน ต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2015 เว็บไซด์ต่างประเทศ รายงานว่า ในวันนี้ (14 ก.พ.) มีการสำรวจผลสถิตินักเรียนไทยจำนวนมาก มีความสนใจในการเรียนภาษาจีนมากขึ้น...
    by Editor Bow
  • พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและภริยาพร้อมคณะ เดินทางเยือนนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย อย่างเป็นทางการ โดยเดินทางไปยังสุสานทหารนิรนาม (Piskaryovskoye Memorial Cemetary) เพื่อวางพวงมาลา...
    by dogTech
  • นางอภิรดีตันตราภรณ์รมช.พาณิชย์เปิดเผยว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการประชุมอย่าง ไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 21 ระหว่าง วันที่ 28 ก.พ.-1 มี.ค. ที่มาเลเซีย เพื่อหารือประเด็น หลักๆ ได้แก่...
    by Editor

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ