ลบ
แก้ไข
หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ รายงานว่าบริษัทก่อสร้างในอินโดนีเซียเริ่มส่งเสียงเตือนรัฐบาลว่า บริษัทก่อสร้างสัญชาติอิเหนาจะเกิดความเสียเปรียบบริษัทในประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน (เออีซี) ในปี 2558 ทำให้ไม่สามารถแข่งกับประเทศอื่นในการประมูลโครงการก่อสร้างใหญ่ ๆ ในประเทศและในเขตอาเซียนได้
จาการ์ต้าโพสต์ ระบุว่าการรวมตัวเป็นเออีซี จะทำให้ตลาดธุรกิจก่อสร้างในอาเซียนขยายตัวอย่างก้าวกระโดด แต่บริษัทก่อสร้างของอินโดนีเซียจะเสียเปรียบแข่งสู้คนอื่นไม่ได้ เพราะต้นทุนสูงกว่าจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศและอัตราภาษีที่ต้องเสียสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
Mr.Sudarto ประธานสมาคมก่อสร้างแห่งอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์ว่า “ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยและภาษีจะทำให้บริษัทก่อสร้างของเรามีปัญหาในการไปรับงานในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะบริษัทก่อสร้างอินโดต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 13.5% ขณะที่ ดอกเบี้ยที่บริษัทก่อสร้างในมาเลเซีย สิงคโปร์และไทยจ่ายอยู่ในระดับแค่ 3-4%เท่านั้น”
นอกจากภาคเอกชนในนามของสมาคมก่อสร้างฯที่ออกมาเตือนรัฐบาลในเรื่องความเสียเปรียบบริษัทจากเพื่อนบ้านแล้ว บริษัทก่อสร้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซียเองคือ Wijaya Karya (WIKA)ซึ่งออกไปรับงานก่อสร้างนอกประเทศไกลถึงทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ติมอร์เลสเต่ ก็บ่นออกมาดังๆ แบบเดียวกัน
ผู้อำนวยการ WIKA นาย Natal Argawin กล่าวว่าแม้ปีนี้บริษัทจะมีรายได้กว่า 500,000 รูเปียจากงานก่อสร้างนอกประเทศแต่ก็มีอุปสรรคในการขยายงานต่อเพราะมีต้นทุนทางการเงินสูงโดยนอกจากเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์แล้วยังเจอปัญหาภาษีซ้อนในการไปรับงานก่อสร้างต่างประเทศ และหวังว่าจะมีข้อตกลงในหมู่ประเทศอาเซียนให้ครบทุกประเทศในเรื่องภาษีซ้อนเพื่อไม่ต้องจ่ายภาษีเบิ้ล
จาการ์ต้าโพสต์รายงานว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น กระทรวงการคลังอินโดนีเซียได้ทำสัญญาภาษีซ้อนไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ยกเว้นประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์
Mr.Sudarto กล่าวว่านอกจากเรื่องภาษีซ้อนแล้ว บริษัทก่อสร้างสัญชาติอินโดนีเซียยังมีความเสียเปรียบบริษัทจากเพื่อนบ้านเรื่องภาษีอีกประเด็นหนึ่งคือ บริษัทอินโดนีเซียเสียภาษี 3% คิดบนมูลค่าโครงการขณะที่บริษัทก่อสร้างในประเทศมาเลเซียเสียภาษีจากกำไร ดังนั้นรัฐบาลควรจะปรับปรุงภาษีในส่วนนี้ใหม่ให้เหมือนกับมาเลเซีย
นักวิเคราะห์ภาคธุรกิจก่อสร้างในอินโดนีเซีย ระบุว่าบริษัทก่อสร้างอินโดนีเซียไม่ได้เสียเปรียบบริษัทจากประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องต้นทุนดอกเบี้ยและภาษีเท่านั้น ยังมีปัญหาเรื่องความขาดแคลนวิศวกรและสถาปนิกโดยมีรายงานว่าบุคลากรในภาคก่อสร้างทั้งหมดของอินโดนีเซียซึ่งมีจำนวนถึง 6.34 ล้านคน ปรากฏว่ามีเพียง 10% ซึ่งอยู่ในระดับช่างขณะที่มีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตวิศวกรแค่ 113 คนและสถาปนิกได้รับใบอนุญาตเพียง 44 คน
ความเสียเปรียบทั้งเรื่องต้นทุนและทรัพยากรบุคคลทำให้บริษัทก่อสร้างสัญชาติอินโดนีเซียรับงานแบบเหมาช่วงเป็นหลักขณะที่บริษัทก่อสร้างจากสิงคโปร์และมาเลเซียสามารถไปประมูลรับงานแบบครบวงจรสำหรับโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ ในต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ
ผู้รับเหมาอินโดนีเซียกลัวสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทยแย่งงานเมื่อเปิดเออีซี
หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ รายงานว่าบริษัทก่อสร้างในอินโดนีเซียเริ่มส่งเสียงเตือนรัฐบาลว่า บริษัทก่อสร้างสัญชาติอิเหนาจะเกิดความเสียเปรียบบริษัทในประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน (เออีซี) ในปี 2558 ทำให้ไม่สามารถแข่งกับประเทศอื่นในการประมูลโครงการก่อสร้างใหญ่ ๆ ในประเทศและในเขตอาเซียนได้
จาการ์ต้าโพสต์ ระบุว่าการรวมตัวเป็นเออีซี จะทำให้ตลาดธุรกิจก่อสร้างในอาเซียนขยายตัวอย่างก้าวกระโดด แต่บริษัทก่อสร้างของอินโดนีเซียจะเสียเปรียบแข่งสู้คนอื่นไม่ได้ เพราะต้นทุนสูงกว่าจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศและอัตราภาษีที่ต้องเสียสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
Mr.Sudarto ประธานสมาคมก่อสร้างแห่งอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์ว่า “ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยและภาษีจะทำให้บริษัทก่อสร้างของเรามีปัญหาในการไปรับงานในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะบริษัทก่อสร้างอินโดต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 13.5% ขณะที่ ดอกเบี้ยที่บริษัทก่อสร้างในมาเลเซีย สิงคโปร์และไทยจ่ายอยู่ในระดับแค่ 3-4%เท่านั้น”
นอกจากภาคเอกชนในนามของสมาคมก่อสร้างฯที่ออกมาเตือนรัฐบาลในเรื่องความเสียเปรียบบริษัทจากเพื่อนบ้านแล้ว บริษัทก่อสร้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซียเองคือ Wijaya Karya (WIKA)ซึ่งออกไปรับงานก่อสร้างนอกประเทศไกลถึงทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ติมอร์เลสเต่ ก็บ่นออกมาดังๆ แบบเดียวกัน
ผู้อำนวยการ WIKA นาย Natal Argawin กล่าวว่าแม้ปีนี้บริษัทจะมีรายได้กว่า 500,000 รูเปียจากงานก่อสร้างนอกประเทศแต่ก็มีอุปสรรคในการขยายงานต่อเพราะมีต้นทุนทางการเงินสูงโดยนอกจากเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์แล้วยังเจอปัญหาภาษีซ้อนในการไปรับงานก่อสร้างต่างประเทศ และหวังว่าจะมีข้อตกลงในหมู่ประเทศอาเซียนให้ครบทุกประเทศในเรื่องภาษีซ้อนเพื่อไม่ต้องจ่ายภาษีเบิ้ล
จาการ์ต้าโพสต์รายงานว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น กระทรวงการคลังอินโดนีเซียได้ทำสัญญาภาษีซ้อนไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ยกเว้นประเทศกัมพูชาและเมียนมาร์
Mr.Sudarto กล่าวว่านอกจากเรื่องภาษีซ้อนแล้ว บริษัทก่อสร้างสัญชาติอินโดนีเซียยังมีความเสียเปรียบบริษัทจากเพื่อนบ้านเรื่องภาษีอีกประเด็นหนึ่งคือ บริษัทอินโดนีเซียเสียภาษี 3% คิดบนมูลค่าโครงการขณะที่บริษัทก่อสร้างในประเทศมาเลเซียเสียภาษีจากกำไร ดังนั้นรัฐบาลควรจะปรับปรุงภาษีในส่วนนี้ใหม่ให้เหมือนกับมาเลเซีย
นักวิเคราะห์ภาคธุรกิจก่อสร้างในอินโดนีเซีย ระบุว่าบริษัทก่อสร้างอินโดนีเซียไม่ได้เสียเปรียบบริษัทจากประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องต้นทุนดอกเบี้ยและภาษีเท่านั้น ยังมีปัญหาเรื่องความขาดแคลนวิศวกรและสถาปนิกโดยมีรายงานว่าบุคลากรในภาคก่อสร้างทั้งหมดของอินโดนีเซียซึ่งมีจำนวนถึง 6.34 ล้านคน ปรากฏว่ามีเพียง 10% ซึ่งอยู่ในระดับช่างขณะที่มีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตวิศวกรแค่ 113 คนและสถาปนิกได้รับใบอนุญาตเพียง 44 คน
ความเสียเปรียบทั้งเรื่องต้นทุนและทรัพยากรบุคคลทำให้บริษัทก่อสร้างสัญชาติอินโดนีเซียรับงานแบบเหมาช่วงเป็นหลักขณะที่บริษัทก่อสร้างจากสิงคโปร์และมาเลเซียสามารถไปประมูลรับงานแบบครบวงจรสำหรับโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ ในต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมปลัดกระทรวงกลาโหมและคณะ เดินทางไปประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน -...by dogTech
-
ตอนนี้ไม่ว่าจะไปทางไหน หรือกำลังจะเริ่มทำธุรกิจอะไร แน่นอนว่าคุณต้องได้ยินคำว่า "AEC" อย่างแน่นอน แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าAEC คืออะไร AEC (เออีซี) คืออะไร AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean...by Editor Bow
-
กระทรวงสาธารณสุขไทยจับมือกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา พัฒนางานสาธารณสุข 5 เรื่อง โรคระบาดตามพื้นที่แนวชายแดน เน้นกำจัดโรคมาลาเรียและปัญหาเชื้อมาลาเรียดื้อยาของทั้งสองประเทศ พัฒนาศักยภาพบุคลากร พัฒนาระบบบริการสุขภาพ...by dogTech
-
กรมประชาสัมพันธ์ (PRD) ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอาเซียนในสำนักงานภูมิภาคทั่ว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย สำหรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต