ลบ
แก้ไข
สำหรับเรื่องค่าแรงดูเหมือนว่าจะเป็นคล้ายดาบสองคมสำหรับรัฐบาลในอาเซียน คือหากรัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากเกินศักยภาพของแรงงานอย่างที่เกิดขึ้นในไทย ก็จะมีปัญหาเรื่องการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และหากรัฐบาลปล่อยปละละเลยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องค่าแรง ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนกัมพูชา ที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นค่าแรง
ที่ผ่านมาในไทยเอง ทางหอการค้าญี่ปุ่นได้ทำแบบสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ที่สรุปได้ว่าส่วนใหญ่ นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการที่จะขยายสายพานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลุ่มน้ำโขง และอินโดนีเซียมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากประเด็นเรื่องน้ำท่วม และการเมืองแล้ว เรื่องค่าแรงยังถูกบรรจุอยู่ในเรื่องที่นักลงทุนญี่ปุ่นพิจารณาอีกด้วย พร้อมกับเร่งให้ไทยพัฒนาสู่ประเทศการผลิตเทคโนโลยีระดับสูงอีกด้วย
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เคยกล่าวว่า ค่าแรงของไทยที่สูงขึ้น และไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแรงงาน หากว่าค่าแรงงานสูง แต่ศักยภาพของแรงงานเป็นแรงงานที่มีฝีมือ นักลงทุนก็ยินดีที่จะจ้าง แต่ในไทยแรงงานไร้ฝีมือยังมีอยู่มาก และไม่สอดคล้องต่อค่าแรงที่สืบเนื่องมาจากนโยบายรัฐ ไม่ใช่เพียงแค่ในไทยที่มีการขึ้นค่าแรง แต่หากเป็นทั้งอาเซียน
อย่างที่สำนักข่าวโคเรีย เฮเรลด์ รายงานว่า ค่าแรงที่ขึ้นอย่างเฉียบพลันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนจากเกาหลีใต้ ที่เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในลำดับต้นๆ รองจากญี่ปุ่น และจีน
ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าแรงงานในกัมพูชา ที่เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าของค่าแรงเดิม สำหรับช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และสำหรับในเมืองสำคัญๆ ของเวียดนามและอินโดนีเซีย ค่าแรงเพิ่มขึ้นประมาณ14.9% และ 22% ตามลำดับ
สำหรับผลสำรวจขององค์การการค้าญี่ปุ่น เมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า บริษัทญี่ปุ่นต่างคาดการณ์ ว่าค่าแรงในกัมพูชา และ สปป.ลาว จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7% และในประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 10-20% ค่าแรงที่แพงขึ้นในจีน ที่เป็นปัจจัยหลักสำคัญทำให้นักลงทุนต้องย้ายฐานการผลิตมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ในปัจจุบันกลุ่มประเทศอาเซียนกลับกำลังสูญเสียความได้เปรียบเรื่องค่าแรง อาทิ มาเลเซีย และไทย อย่าง บรรดาบริษัทสัญชาติเกาหลีที่จะต้องจ่ายค่าแรงประมาณ 231,000-257,400 บาทต่อปี ซึ่งใกล้กับระดับค่าแรงในจีน ที่อยู่ประมาณปีละ 264,000 บาท
เป็นไปได้ว่าบริษัทจากเกาหลีใต้ที่ผลิตแบรนด์ระดับโลกอย่าง ซัมซุง หรือแอลจี สู่ตลาดโลก อาจจะย้ายฐานบางส่วนไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกอย่าง สปป.ลาว หรือกระทั่งย้ายฐานออกจากภูมิภาคไปยังประเทศศรีลังกา หรือแม้แต่ไปยังแอฟริกา แต่บางบริษัทอาจมีแนวโน้มที่จะไม่ย้ายฐานการผลิตไปไหน หากรัฐบาลมีการเตรียมการดีในการเพิ่มการสนับสนุนการลงทุน และออกมาตรการด้านภาษี
ทั้งนี้ หากมองในระยะสั้น อาเซียนจะสามารถเป็นฐานการผลิตให้กับประเทศ นักลงทุนใหญ่ๆ อย่างเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่ต้องการหนีค่าแรงสูงและการออกระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่รัดกุมมากขึ้นจากจีน แต่ในระยะยาวค่าแรงในอาเซียนก็ต้องพุ่งขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการนำเข้านวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้ลดต้นทุนการผลิตก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ที่สำคัญรัฐบาล ในอาเซียนต้องให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเป็นการดึงดูดต่อการเข้ามาลงทุนพร้อมเทคโนโลยีระดับสูงจากนักลงทุนทั่วโลกด้วย
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
อาเซียน ค่าแรงขึ้น เร่งพัฒนาให้ใช้เทคโนโลยีระดับสูงแทน
สำหรับเรื่องค่าแรงดูเหมือนว่าจะเป็นคล้ายดาบสองคมสำหรับรัฐบาลในอาเซียน คือหากรัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากเกินศักยภาพของแรงงานอย่างที่เกิดขึ้นในไทย ก็จะมีปัญหาเรื่องการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และหากรัฐบาลปล่อยปละละเลยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องค่าแรง ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนกัมพูชา ที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นค่าแรง
ที่ผ่านมาในไทยเอง ทางหอการค้าญี่ปุ่นได้ทำแบบสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ที่สรุปได้ว่าส่วนใหญ่ นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการที่จะขยายสายพานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลุ่มน้ำโขง และอินโดนีเซียมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากประเด็นเรื่องน้ำท่วม และการเมืองแล้ว เรื่องค่าแรงยังถูกบรรจุอยู่ในเรื่องที่นักลงทุนญี่ปุ่นพิจารณาอีกด้วย พร้อมกับเร่งให้ไทยพัฒนาสู่ประเทศการผลิตเทคโนโลยีระดับสูงอีกด้วย
รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เคยกล่าวว่า ค่าแรงของไทยที่สูงขึ้น และไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแรงงาน หากว่าค่าแรงงานสูง แต่ศักยภาพของแรงงานเป็นแรงงานที่มีฝีมือ นักลงทุนก็ยินดีที่จะจ้าง แต่ในไทยแรงงานไร้ฝีมือยังมีอยู่มาก และไม่สอดคล้องต่อค่าแรงที่สืบเนื่องมาจากนโยบายรัฐ ไม่ใช่เพียงแค่ในไทยที่มีการขึ้นค่าแรง แต่หากเป็นทั้งอาเซียน
อย่างที่สำนักข่าวโคเรีย เฮเรลด์ รายงานว่า ค่าแรงที่ขึ้นอย่างเฉียบพลันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนจากเกาหลีใต้ ที่เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในลำดับต้นๆ รองจากญี่ปุ่น และจีน
ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าแรงงานในกัมพูชา ที่เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าของค่าแรงเดิม สำหรับช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และสำหรับในเมืองสำคัญๆ ของเวียดนามและอินโดนีเซีย ค่าแรงเพิ่มขึ้นประมาณ14.9% และ 22% ตามลำดับ
สำหรับผลสำรวจขององค์การการค้าญี่ปุ่น เมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า บริษัทญี่ปุ่นต่างคาดการณ์ ว่าค่าแรงในกัมพูชา และ สปป.ลาว จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7% และในประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 10-20% ค่าแรงที่แพงขึ้นในจีน ที่เป็นปัจจัยหลักสำคัญทำให้นักลงทุนต้องย้ายฐานการผลิตมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ในปัจจุบันกลุ่มประเทศอาเซียนกลับกำลังสูญเสียความได้เปรียบเรื่องค่าแรง อาทิ มาเลเซีย และไทย อย่าง บรรดาบริษัทสัญชาติเกาหลีที่จะต้องจ่ายค่าแรงประมาณ 231,000-257,400 บาทต่อปี ซึ่งใกล้กับระดับค่าแรงในจีน ที่อยู่ประมาณปีละ 264,000 บาท
เป็นไปได้ว่าบริษัทจากเกาหลีใต้ที่ผลิตแบรนด์ระดับโลกอย่าง ซัมซุง หรือแอลจี สู่ตลาดโลก อาจจะย้ายฐานบางส่วนไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกอย่าง สปป.ลาว หรือกระทั่งย้ายฐานออกจากภูมิภาคไปยังประเทศศรีลังกา หรือแม้แต่ไปยังแอฟริกา แต่บางบริษัทอาจมีแนวโน้มที่จะไม่ย้ายฐานการผลิตไปไหน หากรัฐบาลมีการเตรียมการดีในการเพิ่มการสนับสนุนการลงทุน และออกมาตรการด้านภาษี
ทั้งนี้ หากมองในระยะสั้น อาเซียนจะสามารถเป็นฐานการผลิตให้กับประเทศ นักลงทุนใหญ่ๆ อย่างเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่ต้องการหนีค่าแรงสูงและการออกระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่รัดกุมมากขึ้นจากจีน แต่ในระยะยาวค่าแรงในอาเซียนก็ต้องพุ่งขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการนำเข้านวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้ลดต้นทุนการผลิตก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ที่สำคัญรัฐบาล ในอาเซียนต้องให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเป็นการดึงดูดต่อการเข้ามาลงทุนพร้อมเทคโนโลยีระดับสูงจากนักลงทุนทั่วโลกด้วย
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
การประชุมสุดยอดผู้นำอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจะเกิดขึ้นภายใต้แนวคิด "ความมุ่งมั่นในการพัฒนาร่วมกันและสร้างความยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง." โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย (1) กลุ่มการลงทุนGMS(2) กลุ่มธุรกิจGMS(3)...by dogTech
-
ชมรมไทยพารามอเตอร์ร่วมกับสมาพันธ์กีฬาการบินประเทศมาเลเซีย จัดกิจกรรม "Thai-Malaysia FriendlyParamotor Flying Tour ภายใต้โครงการ AEC Paramotor Friendship เมื่อ (5 มี.ค. 59) ซึ่งนำสมาชิกจากทั่วประเทศ...by dogTech
-
จุดเริ่มที่อยากให้ประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ มีความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทัดเทียมกับภูมิภาคอื่นๆ เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจากกำเนิด ASEAN community...by Editor Bow
-
ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวถึงบทบาทสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในเวทีโลก ว่า จากการที่สตง.มีอำนาจตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณและทรัพย์สินของแผ่นดินของหน่วยต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต