ลบ
แก้ไข
ขณะนี้สามารถดำเนินการจัดตั้งแล้ว 15 แห่งจากเป้าหมายทั่วประเทศ 19 แห่ง โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะรองรับเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เขตเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสาร เขตการส่งออก เขตท่าเรือ เขตโลจิสติกส์และการขนส่ง เขตวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เขตธุรกิจการบริการ และเขตการค้าย่อย
สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี จัดตั้งเมื่อปี 2552 มีพื้นที่ประมาณ 496 เอเคอร์ ภายในประกอบไปด้วยโซนพักสินค้านำเข้าและส่งออก, ศูนย์บริการศุลกากร แบบวันสต็อบ เซอร์วิส, โซนขนถ่ายสินค้า และเขตนิคมอุตสาหกรรมฯลฯ
ขณะนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยตั้งแต่ปี 2552 ถึงปี 2556 มีมูลค่าการน้าเข้าและส่งออกสินค้าประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าภายในปี 2558 เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการค้าผ่านจังหวัดเมียวดีจะมีการเติบโตหลายเท่าตัว
ประการสำคัญ ทางรัฐบาลพม่าได้มีการปรับกฎระเบียบการนำเข้าส่งออกสินค้าผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี จากเดิมที่ต้องขอใบอนุญาตที่มีการนำเข้าสินค้ากว่า 8,000 ชนิด แต่ขณะนี้ ได้ยกเว้น 1,926 ชนิดโดยไม่จ้าเป็นต้องขอใบอนุญาต ในกลุ่มของสินค้าอุปโภคบริโภค, สินค้าการเกษตร และอุปกรณ์การเกษตร และสินค้าการ์เมนท์
ขณะที่ผู้ประกอบการนำเข้า และส่งออกที่เข้าสู่ระบบการค้าถูกต้องตามกฎหมายทั้งประเทศมีกว่า 1,800 บริษัท และคาดว่าหลังจากนี้จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่เข้าไม่ลงทะเบียนจะเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น
ขณะนี้ กำลังมีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัดเมียวดีไปยังจังหวัดกอกาเรก คาดว่าดำเนินการก่อสร้างเสร็จภายในปี 2558 จะทำให้เส้นทางจากแม่สอดไปยังเมืองเมาะละแหม่ง เมืองหลวงของรัฐมอญ และเข้าสู่ย่างกุ้งสะดวกยิ่งขึ้น ใช้เวลาเดินทางเพียง 1 วัน จากปกติทุกวันนี้ต้องวิ่งรถขาเข้าสลับกับวิ่งรถขาออกไม่สามารถสวนทางกันได้
รัฐบาลพม่ายังเตรียมนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี โดยจะมีการติดตั้งเครื่องเอ็กซ์เรย์ตู้คอนเทนเนอร์ เข้ามาตรวจสอบสินค้านำเข้า และส่งออกให้รวดเร็วยิ่งขึ้นภายใน 1 เดือนข้างหน้านี้
นอกจากนั้น ทางรัฐบาลพม่าได้เร่งให้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีอย่างต่อเนื่อง โดยจัดสรรพื้นที่ทำเขตนิคมอุตสาหกรรม ขณะนี้ ได้มีการปรับพื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งอยู่บริเวณก่อนถึงศูนย์ขนถ่ายสินค้า โดยมอบหมายให้ทางเอกชนญี่ปุ่นเป็นผู้ศึกษา และวางระบบด้านสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะเป็นพื้นที่รองรับการลงทุนจากชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ส่วนสิทธิพิเศษในการลงทุนนั้นได้กำหนดไว้แล้ว แต่หากจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลพม่าต่อไป พร้อมกันนี้ยังได้เร่งพัฒนาโลจิสติกส์พาร์ค เพื่อให้การขนส่งสินค้ามีความคล่องตัว และเป็นระบบมากขึ้น
นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า นับตั้งแต่รัฐบาลพม่า ประกาศเปิดประเทศ จะเห็นได้ว่าเร่งพัฒนาหัวเมืองชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง และมีหลายโครงการที่เกิดเป็นรูปธรรม คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ซึ่งถือว่าจะเป็นอีกประตูของพม่าที่การค้าและการลงทุนเชื่อมอาเซียน โดยมีสิทธิพิเศษให้กับนักลงทุนชาวต่างประเทศ สามารถจะเช่าพื้นที่ได้นานถึง 50 ปี
ขณะที่จังหวัดพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง ที่เชื่อมต่อกับจังหวัดเมียวดี ก็มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายรองรับอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะผลิตเป็นสินค้าป้อนในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ จึงมองว่าหลังจากนี้ไปการพัฒนาของประเทศพม่า น่าจับตาว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ
นายสมศักดิ์ คะวีรัตน์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า นอกจากรัฐบาลพม่าจะให้ความสำคัญในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจเมียวดีแล้ว ในจุดเชื่อมต่อเข้าไปยังหัวเมืองชั้นในของประเทศในพื้นที่ของรัฐกะเหรี่ยง ได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเมืองพะอัน บนพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ โดยเบื้องต้นมีเครือสหพัฒน์ ของนักลงทุนชาวไทย จะเข้าไปลงทุนท้าธุรกิจการ์เมนท์ภายในปีนี้ด้วย
พร้อมกันนี้ยังได้มีการปรับปรุงโรงงานผลิตไฟฟ้าเก่าที่เมืองตะโทง เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเมืองพะอัน และเมืองเมาะละแหม่ง ซึ่งจะสร้างความมั่นใจในด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้กับการลงทุนมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลพม่าให้ความสำคัญต่อหัวเมืองชายแดนอย่างเมืองพะอันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเมืองพะอันได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีกลุ่มนักลงทุนชาวญี่ปุ่น, ชาวเกาหลี และชาวไทยได้เข้าไปลงทุนบางส่วนแล้ว
ขณะที่กลุ่มนักลงทุนจากสิงคโปร์ก็ให้ความสนใจเช่นเดียวกัน ประการสำคัญ แรงงานชาวพม่า ที่เข้าไปทำงานในประเทศไทย ต่างมาจากเมืองพะอันแห่งนี้ หากว่าสามารถดำเนินการได้ตาม
เป้าหมายที่ทางรัฐบาลพม่ากำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเชื่อว่าเมืองพะอัน จะเป็นพื้นที่ที่จะรองรับแรงงานพม่ากลับคืนสู่ประเทศด้วย และคาดว่าจะเป็นฐานการลงทุนที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในอาเซียน โดยปัจจุบันมีค่าจ้างแรงงานอยู่ที่วันละ 100-200 บาท เมื่อเทียบกับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของไทยอยู่ที่วันละ 300 บาท
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก สกาวรัตน์ ศิริมา (กรุงเทพธุรกิจ)
พม่ายกเมียวดี เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ขณะนี้สามารถดำเนินการจัดตั้งแล้ว 15 แห่งจากเป้าหมายทั่วประเทศ 19 แห่ง โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะรองรับเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เขตเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสาร เขตการส่งออก เขตท่าเรือ เขตโลจิสติกส์และการขนส่ง เขตวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เขตธุรกิจการบริการ และเขตการค้าย่อย
สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี จัดตั้งเมื่อปี 2552 มีพื้นที่ประมาณ 496 เอเคอร์ ภายในประกอบไปด้วยโซนพักสินค้านำเข้าและส่งออก, ศูนย์บริการศุลกากร แบบวันสต็อบ เซอร์วิส, โซนขนถ่ายสินค้า และเขตนิคมอุตสาหกรรมฯลฯ
ขณะนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยตั้งแต่ปี 2552 ถึงปี 2556 มีมูลค่าการน้าเข้าและส่งออกสินค้าประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าภายในปี 2558 เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการค้าผ่านจังหวัดเมียวดีจะมีการเติบโตหลายเท่าตัว
ประการสำคัญ ทางรัฐบาลพม่าได้มีการปรับกฎระเบียบการนำเข้าส่งออกสินค้าผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี จากเดิมที่ต้องขอใบอนุญาตที่มีการนำเข้าสินค้ากว่า 8,000 ชนิด แต่ขณะนี้ ได้ยกเว้น 1,926 ชนิดโดยไม่จ้าเป็นต้องขอใบอนุญาต ในกลุ่มของสินค้าอุปโภคบริโภค, สินค้าการเกษตร และอุปกรณ์การเกษตร และสินค้าการ์เมนท์
ขณะที่ผู้ประกอบการนำเข้า และส่งออกที่เข้าสู่ระบบการค้าถูกต้องตามกฎหมายทั้งประเทศมีกว่า 1,800 บริษัท และคาดว่าหลังจากนี้จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่เข้าไม่ลงทะเบียนจะเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น
ขณะนี้ กำลังมีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัดเมียวดีไปยังจังหวัดกอกาเรก คาดว่าดำเนินการก่อสร้างเสร็จภายในปี 2558 จะทำให้เส้นทางจากแม่สอดไปยังเมืองเมาะละแหม่ง เมืองหลวงของรัฐมอญ และเข้าสู่ย่างกุ้งสะดวกยิ่งขึ้น ใช้เวลาเดินทางเพียง 1 วัน จากปกติทุกวันนี้ต้องวิ่งรถขาเข้าสลับกับวิ่งรถขาออกไม่สามารถสวนทางกันได้
รัฐบาลพม่ายังเตรียมนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี โดยจะมีการติดตั้งเครื่องเอ็กซ์เรย์ตู้คอนเทนเนอร์ เข้ามาตรวจสอบสินค้านำเข้า และส่งออกให้รวดเร็วยิ่งขึ้นภายใน 1 เดือนข้างหน้านี้
นอกจากนั้น ทางรัฐบาลพม่าได้เร่งให้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีอย่างต่อเนื่อง โดยจัดสรรพื้นที่ทำเขตนิคมอุตสาหกรรม ขณะนี้ ได้มีการปรับพื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งอยู่บริเวณก่อนถึงศูนย์ขนถ่ายสินค้า โดยมอบหมายให้ทางเอกชนญี่ปุ่นเป็นผู้ศึกษา และวางระบบด้านสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะเป็นพื้นที่รองรับการลงทุนจากชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ส่วนสิทธิพิเศษในการลงทุนนั้นได้กำหนดไว้แล้ว แต่หากจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลพม่าต่อไป พร้อมกันนี้ยังได้เร่งพัฒนาโลจิสติกส์พาร์ค เพื่อให้การขนส่งสินค้ามีความคล่องตัว และเป็นระบบมากขึ้น
นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า นับตั้งแต่รัฐบาลพม่า ประกาศเปิดประเทศ จะเห็นได้ว่าเร่งพัฒนาหัวเมืองชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง และมีหลายโครงการที่เกิดเป็นรูปธรรม คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ซึ่งถือว่าจะเป็นอีกประตูของพม่าที่การค้าและการลงทุนเชื่อมอาเซียน โดยมีสิทธิพิเศษให้กับนักลงทุนชาวต่างประเทศ สามารถจะเช่าพื้นที่ได้นานถึง 50 ปี
ขณะที่จังหวัดพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง ที่เชื่อมต่อกับจังหวัดเมียวดี ก็มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายรองรับอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะผลิตเป็นสินค้าป้อนในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ จึงมองว่าหลังจากนี้ไปการพัฒนาของประเทศพม่า น่าจับตาว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ
นายสมศักดิ์ คะวีรัตน์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า นอกจากรัฐบาลพม่าจะให้ความสำคัญในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจเมียวดีแล้ว ในจุดเชื่อมต่อเข้าไปยังหัวเมืองชั้นในของประเทศในพื้นที่ของรัฐกะเหรี่ยง ได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเมืองพะอัน บนพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ โดยเบื้องต้นมีเครือสหพัฒน์ ของนักลงทุนชาวไทย จะเข้าไปลงทุนท้าธุรกิจการ์เมนท์ภายในปีนี้ด้วย
พร้อมกันนี้ยังได้มีการปรับปรุงโรงงานผลิตไฟฟ้าเก่าที่เมืองตะโทง เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเมืองพะอัน และเมืองเมาะละแหม่ง ซึ่งจะสร้างความมั่นใจในด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้กับการลงทุนมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลพม่าให้ความสำคัญต่อหัวเมืองชายแดนอย่างเมืองพะอันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเมืองพะอันได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มีกลุ่มนักลงทุนชาวญี่ปุ่น, ชาวเกาหลี และชาวไทยได้เข้าไปลงทุนบางส่วนแล้ว
ขณะที่กลุ่มนักลงทุนจากสิงคโปร์ก็ให้ความสนใจเช่นเดียวกัน ประการสำคัญ แรงงานชาวพม่า ที่เข้าไปทำงานในประเทศไทย ต่างมาจากเมืองพะอันแห่งนี้ หากว่าสามารถดำเนินการได้ตาม
เป้าหมายที่ทางรัฐบาลพม่ากำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเชื่อว่าเมืองพะอัน จะเป็นพื้นที่ที่จะรองรับแรงงานพม่ากลับคืนสู่ประเทศด้วย และคาดว่าจะเป็นฐานการลงทุนที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในอาเซียน โดยปัจจุบันมีค่าจ้างแรงงานอยู่ที่วันละ 100-200 บาท เมื่อเทียบกับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของไทยอยู่ที่วันละ 300 บาท
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก สกาวรัตน์ ศิริมา (กรุงเทพธุรกิจ)
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ภาพเรือเปเลลีว (USS Peleiu, LHA 5) ที่นำเสนอในเฟซบุ๊กกองทัพเรือพม่าวันพุธ 12 พ.ย.นี้ เป็นเรือลำเลียงพลจู่โจมยกพลขึ้นบกลำที่ 5 ลำสุดท้ายของเรือชั้นทาราวา (Tarawa-class) และ กำลังจะปลดระวางประจำการต้นปีหน้านี้...by Editor
-
นายชาญศักดิ์ ถวิล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด พร้อมด้วย นายไพฑูรย์ พราหมเกสร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง และนางสาวมิถุนา ภูทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง ราชอาณาจักรกัมพูชา ร่วมกันเปิดประชุมเตรียมความพร้อม...by dogTech
-
ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน ร่วมหารือการดำเนินงานเปลี่ยนระบบการออกอากาศจากระบบ แอนะล็อกเป็นระบบดิจิทัล ในประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านการออกอากาศผ่านระบบดิจิทัล ครั้งที่ 2 (The 2nd meeting of SOMRI...by dogTech
-
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ย้ำถึงความจำเป็นสำหรับภาคประชาชนและภาคเอกชนที่จะร่วมมือในการเตรียมความพร้อมสำหรับประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้น...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต