ลบ
แก้ไข
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยดูเหมือนว่านโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะให้ความสำคัญกับการเปิดการค้าเสรีอาเซียนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี การเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่แต่ละหน่วยงานภาครัฐกำลังเตรียมการโดยการจัดทำแผนรองรับอยู่ และของบประมาณจากสำนักงบประมาณที่จะจัดโครงการให้สอดคล้องกับการเปิดการค้าเสรีของอาเซียนรวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมในประเทศอาเซียนด้วยกัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการรวมตัวกันในประชาคมอาเซียนคือ อาเซียนเองยังไม่มีกฎหมายกลาง หรือองค์กรที่ทำหน้าที่แทนรัฐทั้ง 10 ประเทศ ด้วยเหตุนี้เอง ข้อตกลงใดที่ประเทศสมาชิกที่ประชุมและมีมติให้แต่ละประเทศรับไปปฏิบัตินั้น จึงมีสภาพบังคับที่ไม่เคร่งครัดเท่าที่ควรและขึ้นอยู่กับว่า รัฐแต่ละรัฐได้ให้ความสำคัญกับข้อตกลงหรือความผูกพันที่ได้ร่วมประชุมกันมากน้อยเพียงใดหากประเทศในอาเซียนใดที่เสียผลประโยชน์จากข้อตกลงนั้นก็ยากที่จะน่ามติดังกล่าวไปปฏิบัติตามและเมื่อไม่นำไปปฏิบัติสภาพบังคับทางกฎหมายระหว่างกันจึงไม่เกิดขึ้น เพราะคงต้องใช้มาตรการทางการเมืองในการเจรจา เพื่อให้ประเทศนั้นดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าว
ด้านการพัฒนากฎหมายไทยเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีที่กำหนดไว้ในข้อตกลงอาเซียนนั้น มีหลายเรื่องที่ประเทศไทยต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศในอาเซียน การเปิดให้คนในอาเซียนเข้ามาเพื่อทำงานที่เป็นคนงานใช้ฝีมือเข้ามาทำงานได้ ระบบการจัดสวัสดิการสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยทางด้านอาหาร และการเยียวยาความเสียหายจากการที่คนในอาเซียนได้รับความเสียหายในประเทศไทย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ หน่วยงานภาครัฐกำลังเตรียมการเพื่อศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องและเสนอปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปีหน้านี้
แต่ข้อจำกัดประการสำคัญที่อาเซียนประสบซึ่งมีความแตกต่างจากประชาคมยุโรป คือในประชาคมยุโรปนั้น ประเทศส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมอย่างกลมกลืนสอดคล้อง และระบบกฎหมายส่วนใหญ่เป็นระบบที่ใช้ประมวล มีประเทศอังกฤษเท่านั้นที่เป็นระบบคอมมอนลอว์ ด้วยเหตุนี้ การจัดระบบกฎหมายจึงจะท่าง่ายกว่าการพัฒนาระบบกฎหมายภายในประเทศของอาเซียนให้สอดคล้องกับความตกลงที่กำหนดขึ้น
ทั้งนี้ เพราะกฎหมายของประเทศในอาเซียนนั้นแม้ว่าจะอยู่ในบริเวณภูมิภาคเดียวกัน แต่ประเทศของอาเซียนได้รับอิทธิพลของกฎหมาย ทั้งในระบบคอมมอนลอว์ และระบบซีวิลลอว์ และผสมผสานกับกฎหมายดั้งเดิมของแต่ละประเทศ ทำให้รูปแบบของกฎหมายภายในจึงเป็นระบบที่ผสมผสาน และมีความแตกต่างกันอย่างมาก รวมถึงองค์กรในระบบกระบวนการยุติธรรม ก็มีระบบที่แตกต่างกัน
ในด้านภาษาก็เช่นเดียวกัน แต่ละชาติแม้ว่าจะสามารถสื่อสารในภาษาอังกฤษได้ก็ตามแต่ประชากรส่วนใหญ่ของอาเซียน ยังไม่มีความชำนาญในภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาที่จะใช้สื่อสารในประเทศอาเซียนด้วยกัน แหล่งข้อมูลทางกฎหมาย แม้ว่าในแต่ละประเทศจะมีตัวบทที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ตาม แต่ยังขาดกฎหมายลำดับรอง หรือประกาศต่างๆ ที่ยังคงเป็นภาษาของแต่ละชาติ จึงยากต่อการค้นคว้าสืบค้นทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อจำกัดที่กล่าวมานี้เอง จึงทำให้การศึกษาและพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเป็นภารกิจที่สำคัญของคณะนิติศาสตร์ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความประสงค์จะติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานในประเทศอาเซียน ที่จะต้องรู้เขารู้เราในข้อมูลทางกฎหมายว่ามีหลักเกณฑ์ที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคในการด่าเนินการระหว่างประเทศในอาเซียนด้วยกัน เพื่อบรรลุข้อตกลงที่ได้มีมติในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพียงใด เพราะต่างคนต่างยังไม่มีข้อมูลซึ่งกันและกัน
การพัฒนากฎหมายอาเซียนจึงมีอยู่สองระดับ ระดับที่หนึ่ง แต่ละประเทศต้องรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงอาเซียน ซึ่งมีอยู่สามเสาหลัก และวิเคราะห์ให้ได้ว่า หลักเกณฑ์ของแต่ละประเทศนั้น มีข้อจ่ากัดในการอนุวัตให้เป็นไปตามข้อตกลงอาเซียนหรือไม่เพียงใด ซึ่งการด่าเนินการในเรื่องนี้ นอกจากการรวบรวมกฎหมายแล้ว ยังต้องประสานผู้เชี่ยวชาญในกฎหมายเรื่องนั้นๆ มาทำการศึกษาร่วมกัน เพื่อท่าความเข้าใจในรายละเอียดของกฎหมายแต่ละประเทศ และความสอดคล้องกับมาตรการที่อาเซียนต้องการ การพัฒนากฎหมายในระดับนี้ แม้จะมีความยากแต่ยังสามารถได้รูปแบบของกฎหมายและค่าตอบในแนวทางการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องได้อย่างไม่ยากนัก
ระดับที่สอง ซึ่งถือเป็นระดับที่ยากที่สุด คือ การพัฒนากฎหมายของอาเซียนเอง ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของประชาคมอาเซียน ที่จะมีอำนาจในการออกกฎ หรือมาตรการเพื่อให้ประเทศสมาชิกถือตามเหมือนในประชาคมยุโรป อำนาจในการเจรจาแทนทุกประเทศ และเป็นตัวแทนของประชาคมอาเซียนในการเจรจากับประเทศอื่นนอกอาเซียนและการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียนเอง
การพัฒนากฎหมายในระดับที่สองนี้ ไม่อยู่ในภารกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ต้องเป็นความร่วมมือกัน และภายใต้ข้อตกลงที่ว่า เมื่อเจรจาจนได้ข้อยุติแล้ว ประเทศสมาชิกจะต้องยอมรับกฎกติกาและกฎหมายที่ออกมา และหากไม่ถือตามต้องมีสภาพบังคับที่ชัดเจน ซึ่งการบรรลุสิ่งนี้ได้แต่ละประเทศต้องยอมสละอำนาจอธิปไตยของตนในทางความเป็นอิสระในการออกกฎหมายหรือยอมรับกฎหมายให้เป็นไปตามหรือสอดคล้องกับข้อตกลงที่เกิดจากการประชุมของผู้แทนของสมาชิกในอาเซียนด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ การก้าวสู่การพัฒนากฎหมายในระดับที่สองนี้ คงเป็นเส้นทางที่ยาวไกลกว่าการพัฒนาในระดับที่หนึ่งข้างต้น
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ณรงค์ ใจหาญ (สยามรัฐ)
การพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยดูเหมือนว่านโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะให้ความสำคัญกับการเปิดการค้าเสรีอาเซียนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี การเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่แต่ละหน่วยงานภาครัฐกำลังเตรียมการโดยการจัดทำแผนรองรับอยู่ และของบประมาณจากสำนักงบประมาณที่จะจัดโครงการให้สอดคล้องกับการเปิดการค้าเสรีของอาเซียนรวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมในประเทศอาเซียนด้วยกัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการรวมตัวกันในประชาคมอาเซียนคือ อาเซียนเองยังไม่มีกฎหมายกลาง หรือองค์กรที่ทำหน้าที่แทนรัฐทั้ง 10 ประเทศ ด้วยเหตุนี้เอง ข้อตกลงใดที่ประเทศสมาชิกที่ประชุมและมีมติให้แต่ละประเทศรับไปปฏิบัตินั้น จึงมีสภาพบังคับที่ไม่เคร่งครัดเท่าที่ควรและขึ้นอยู่กับว่า รัฐแต่ละรัฐได้ให้ความสำคัญกับข้อตกลงหรือความผูกพันที่ได้ร่วมประชุมกันมากน้อยเพียงใดหากประเทศในอาเซียนใดที่เสียผลประโยชน์จากข้อตกลงนั้นก็ยากที่จะน่ามติดังกล่าวไปปฏิบัติตามและเมื่อไม่นำไปปฏิบัติสภาพบังคับทางกฎหมายระหว่างกันจึงไม่เกิดขึ้น เพราะคงต้องใช้มาตรการทางการเมืองในการเจรจา เพื่อให้ประเทศนั้นดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าว
ด้านการพัฒนากฎหมายไทยเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีที่กำหนดไว้ในข้อตกลงอาเซียนนั้น มีหลายเรื่องที่ประเทศไทยต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศในอาเซียน การเปิดให้คนในอาเซียนเข้ามาเพื่อทำงานที่เป็นคนงานใช้ฝีมือเข้ามาทำงานได้ ระบบการจัดสวัสดิการสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยทางด้านอาหาร และการเยียวยาความเสียหายจากการที่คนในอาเซียนได้รับความเสียหายในประเทศไทย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ หน่วยงานภาครัฐกำลังเตรียมการเพื่อศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องและเสนอปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปีหน้านี้
แต่ข้อจำกัดประการสำคัญที่อาเซียนประสบซึ่งมีความแตกต่างจากประชาคมยุโรป คือในประชาคมยุโรปนั้น ประเทศส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมอย่างกลมกลืนสอดคล้อง และระบบกฎหมายส่วนใหญ่เป็นระบบที่ใช้ประมวล มีประเทศอังกฤษเท่านั้นที่เป็นระบบคอมมอนลอว์ ด้วยเหตุนี้ การจัดระบบกฎหมายจึงจะท่าง่ายกว่าการพัฒนาระบบกฎหมายภายในประเทศของอาเซียนให้สอดคล้องกับความตกลงที่กำหนดขึ้น
ทั้งนี้ เพราะกฎหมายของประเทศในอาเซียนนั้นแม้ว่าจะอยู่ในบริเวณภูมิภาคเดียวกัน แต่ประเทศของอาเซียนได้รับอิทธิพลของกฎหมาย ทั้งในระบบคอมมอนลอว์ และระบบซีวิลลอว์ และผสมผสานกับกฎหมายดั้งเดิมของแต่ละประเทศ ทำให้รูปแบบของกฎหมายภายในจึงเป็นระบบที่ผสมผสาน และมีความแตกต่างกันอย่างมาก รวมถึงองค์กรในระบบกระบวนการยุติธรรม ก็มีระบบที่แตกต่างกัน
ในด้านภาษาก็เช่นเดียวกัน แต่ละชาติแม้ว่าจะสามารถสื่อสารในภาษาอังกฤษได้ก็ตามแต่ประชากรส่วนใหญ่ของอาเซียน ยังไม่มีความชำนาญในภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาที่จะใช้สื่อสารในประเทศอาเซียนด้วยกัน แหล่งข้อมูลทางกฎหมาย แม้ว่าในแต่ละประเทศจะมีตัวบทที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ตาม แต่ยังขาดกฎหมายลำดับรอง หรือประกาศต่างๆ ที่ยังคงเป็นภาษาของแต่ละชาติ จึงยากต่อการค้นคว้าสืบค้นทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อจำกัดที่กล่าวมานี้เอง จึงทำให้การศึกษาและพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเป็นภารกิจที่สำคัญของคณะนิติศาสตร์ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความประสงค์จะติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานในประเทศอาเซียน ที่จะต้องรู้เขารู้เราในข้อมูลทางกฎหมายว่ามีหลักเกณฑ์ที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคในการด่าเนินการระหว่างประเทศในอาเซียนด้วยกัน เพื่อบรรลุข้อตกลงที่ได้มีมติในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพียงใด เพราะต่างคนต่างยังไม่มีข้อมูลซึ่งกันและกัน
การพัฒนากฎหมายอาเซียนจึงมีอยู่สองระดับ ระดับที่หนึ่ง แต่ละประเทศต้องรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงอาเซียน ซึ่งมีอยู่สามเสาหลัก และวิเคราะห์ให้ได้ว่า หลักเกณฑ์ของแต่ละประเทศนั้น มีข้อจ่ากัดในการอนุวัตให้เป็นไปตามข้อตกลงอาเซียนหรือไม่เพียงใด ซึ่งการด่าเนินการในเรื่องนี้ นอกจากการรวบรวมกฎหมายแล้ว ยังต้องประสานผู้เชี่ยวชาญในกฎหมายเรื่องนั้นๆ มาทำการศึกษาร่วมกัน เพื่อท่าความเข้าใจในรายละเอียดของกฎหมายแต่ละประเทศ และความสอดคล้องกับมาตรการที่อาเซียนต้องการ การพัฒนากฎหมายในระดับนี้ แม้จะมีความยากแต่ยังสามารถได้รูปแบบของกฎหมายและค่าตอบในแนวทางการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องได้อย่างไม่ยากนัก
ระดับที่สอง ซึ่งถือเป็นระดับที่ยากที่สุด คือ การพัฒนากฎหมายของอาเซียนเอง ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของประชาคมอาเซียน ที่จะมีอำนาจในการออกกฎ หรือมาตรการเพื่อให้ประเทศสมาชิกถือตามเหมือนในประชาคมยุโรป อำนาจในการเจรจาแทนทุกประเทศ และเป็นตัวแทนของประชาคมอาเซียนในการเจรจากับประเทศอื่นนอกอาเซียนและการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียนเอง
การพัฒนากฎหมายในระดับที่สองนี้ ไม่อยู่ในภารกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ต้องเป็นความร่วมมือกัน และภายใต้ข้อตกลงที่ว่า เมื่อเจรจาจนได้ข้อยุติแล้ว ประเทศสมาชิกจะต้องยอมรับกฎกติกาและกฎหมายที่ออกมา และหากไม่ถือตามต้องมีสภาพบังคับที่ชัดเจน ซึ่งการบรรลุสิ่งนี้ได้แต่ละประเทศต้องยอมสละอำนาจอธิปไตยของตนในทางความเป็นอิสระในการออกกฎหมายหรือยอมรับกฎหมายให้เป็นไปตามหรือสอดคล้องกับข้อตกลงที่เกิดจากการประชุมของผู้แทนของสมาชิกในอาเซียนด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ การก้าวสู่การพัฒนากฎหมายในระดับที่สองนี้ คงเป็นเส้นทางที่ยาวไกลกว่าการพัฒนาในระดับที่หนึ่งข้างต้น
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ณรงค์ ใจหาญ (สยามรัฐ)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
เกาหลีเสพศัลยกรรมระดับโลก-ไทยครองแชมป์ ASEAN หากไปเกาหลีใต้แล้วเจอสาว ๆ เริ่มไม่แน่ใจว่าสวยแท้ หรือสวยเทียมเพราะสถิติล่าสุดยืนยันแล้วว่าเป็นประเทศที่เสพติดการทำศัลยกรรมมากที่สุดในโลก ประเมินว่าผู้หญิงเกาหลี 1 ใน 5...by Editor Bow
-
ปลัดแรงงาน เปิดเผย 10 ส.ค. นี้ บังคับใช้อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมืออีก 20 สาขาอาชีพ ในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ ยานยนต์ อัญมณี และกลุ่มโลจิสติกส์...by dogTech
-
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นกล่าวแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมหารือกับรองนายกรัฐมนตรีถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ที่จะต้องดำเนินต่อไป...by dogTech
-
อาหารยอดนิยมของประเทศสมาชิกอาเซียน อาหารยอดนิยมของบรูไน อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ...by สิรินภา เลิศสุรวัฒน์
เรื่องมาใหม่
คำฮิต