ลบ
แก้ไข
ระบบยานพาหนะแบบโควต้า หรือ Vehicle Quota System นั้นมีเป้าหมายที่จะจำกัดอัตราการเพิ่มของยานพาหนะระหว่างกุมภาพันธ์ ปี 2013ถึง มกราคมปี 2015ให้อยู่ในระดับ ร้อยละ 0.5 ต่อปี การจำกัดการเพิ่มของรถใหม่นั้นเกี่ยวข้องกับการขอทะเบียนรถ หรือ Certificate of Entitlement (COE)ที่จะแสดงสิทธิการเป็นเจ้าของรถนั้น ผู้ที่จะซื้อรถจะต้องประมูลซื้อ COE โดยที่ COE มีจำนวนจำกัดภายใต้การควบคุมของรัฐ ผู้ถือ COE มีสิทธิ์ครอบครองยานยนต์ได้เป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบเวลาดังกล่าวจะต้องทำลายยานยนต์หรือ ส่งออกยานยนต์ หรือต่ออายุ COE ไปอีกหนึ่งครั้งมีกำหนด 5 หรือ 10 ปี (ต่ออายุได้เพียงครั้งเดียว) เจ้า COE ถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
ประเภทถ่ายโอนมิได้:
• ประเภท A: รถยนต์ (1,600 ซีซีหรือต่ำกว่า) และแท็กซี่
• ประเภท B: รถยนต์ (ตั้งแต่ 1,601 ซีซี ขึ้นไป)
• ประเภท D: จักรยานยนต์
ประเภทถ่ายโอนได้:
• ประเภท C: รถขนส่งสินค้าและรถโดยสารขนาดใหญ่
• ประเภท E: Open Category (ใช้กับยานยนต์ประเภทใดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักนำไปใช้กับรถยนต์)
การจัดสรรและกำหนดโควตาป้ายทะเบียนใหม่ให้รถประเภทต่างๆจะคำนวณจากจำนวนรถที่ทะเบียนหมดอายุแล้ว จำนวนรถที่อนุญาตให้เพิ่มได้ในแต่ละปี และการปรับเปลี่ยนของจำนวนรถประเภทอื่นๆ เช่น แท็กซี่ และรถที่ถูกทำลายหรือส่งออกไป ซึ่งการคำนวณโควต้าจะมีการดำเนินการทุกสามเดือน โดยผู้ที่จะได้โควตาจะต้องทำการประมูลป้ายทะเบียนรถเพื่อนำมาสวมกับรถที่ซื้อไว้ ราคาประมูล COE จะแปรผันตามอุปสงค์ ซึ่งอาจจะแพงมาก นอกจากนี้ การจ่ายค่าป้ายทะเบียนแล้ว เจ้าของยานพาหนะยังต้องรับภาระการจ่ายภาษีการใช้รถ (Road Tax) ที่กำหนดช่วงเวลาที่สามารถนำรถออกมาวิ่งได้อีกด้วย เช่น ช่วงเวลาเร่งรีบ ช่วงวันหยุด ซึ่งส่งผลให้มีการใช้รถส่วนตัวลดลง จึงเห็นว่าสิงคโปร์สามารถบังคับใช้นโยบายที่ทำให้การจราจรในประเทศมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงรักษาสภาพแวดล้อมไม่ให้เกิดมลพิษ ประเทศไทยน่าจะศึกษาไว้และนำมาใช้จัดการระบบการจราจรของเราได้
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก aseanthai.net
นโยบายการจำกัดจำนวนรถในสิงคโปร์
ระบบยานพาหนะแบบโควต้า หรือ Vehicle Quota System นั้นมีเป้าหมายที่จะจำกัดอัตราการเพิ่มของยานพาหนะระหว่างกุมภาพันธ์ ปี 2013ถึง มกราคมปี 2015ให้อยู่ในระดับ ร้อยละ 0.5 ต่อปี การจำกัดการเพิ่มของรถใหม่นั้นเกี่ยวข้องกับการขอทะเบียนรถ หรือ Certificate of Entitlement (COE)ที่จะแสดงสิทธิการเป็นเจ้าของรถนั้น ผู้ที่จะซื้อรถจะต้องประมูลซื้อ COE โดยที่ COE มีจำนวนจำกัดภายใต้การควบคุมของรัฐ ผู้ถือ COE มีสิทธิ์ครอบครองยานยนต์ได้เป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบเวลาดังกล่าวจะต้องทำลายยานยนต์หรือ ส่งออกยานยนต์ หรือต่ออายุ COE ไปอีกหนึ่งครั้งมีกำหนด 5 หรือ 10 ปี (ต่ออายุได้เพียงครั้งเดียว) เจ้า COE ถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
ประเภทถ่ายโอนมิได้:
• ประเภท A: รถยนต์ (1,600 ซีซีหรือต่ำกว่า) และแท็กซี่
• ประเภท B: รถยนต์ (ตั้งแต่ 1,601 ซีซี ขึ้นไป)
• ประเภท D: จักรยานยนต์
ประเภทถ่ายโอนได้:
• ประเภท C: รถขนส่งสินค้าและรถโดยสารขนาดใหญ่
• ประเภท E: Open Category (ใช้กับยานยนต์ประเภทใดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักนำไปใช้กับรถยนต์)
การจัดสรรและกำหนดโควตาป้ายทะเบียนใหม่ให้รถประเภทต่างๆจะคำนวณจากจำนวนรถที่ทะเบียนหมดอายุแล้ว จำนวนรถที่อนุญาตให้เพิ่มได้ในแต่ละปี และการปรับเปลี่ยนของจำนวนรถประเภทอื่นๆ เช่น แท็กซี่ และรถที่ถูกทำลายหรือส่งออกไป ซึ่งการคำนวณโควต้าจะมีการดำเนินการทุกสามเดือน โดยผู้ที่จะได้โควตาจะต้องทำการประมูลป้ายทะเบียนรถเพื่อนำมาสวมกับรถที่ซื้อไว้ ราคาประมูล COE จะแปรผันตามอุปสงค์ ซึ่งอาจจะแพงมาก นอกจากนี้ การจ่ายค่าป้ายทะเบียนแล้ว เจ้าของยานพาหนะยังต้องรับภาระการจ่ายภาษีการใช้รถ (Road Tax) ที่กำหนดช่วงเวลาที่สามารถนำรถออกมาวิ่งได้อีกด้วย เช่น ช่วงเวลาเร่งรีบ ช่วงวันหยุด ซึ่งส่งผลให้มีการใช้รถส่วนตัวลดลง จึงเห็นว่าสิงคโปร์สามารถบังคับใช้นโยบายที่ทำให้การจราจรในประเทศมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงรักษาสภาพแวดล้อมไม่ให้เกิดมลพิษ ประเทศไทยน่าจะศึกษาไว้และนำมาใช้จัดการระบบการจราจรของเราได้
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก aseanthai.net
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการอำนวยการยกร่างแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560 - 2564 ให้สัมภาษณ์ว่า...by dogTech
-
-
เมื่อเร็ว ๆ นี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานตามมาตรฐานแรงงานเพื่อรอง รับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ โรงแรมมุกดาหารแกรนด์โฮเทล ด้าน...by Editor
-
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรีจัดกิจกรรมเปิดประตูสู่อาเซียน การส่งเสริมการให้บริการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขยาดย่อมอาเซียน (ASEAN SMEs Service Center) จังหวัดกาญจนบุรี...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต