ลบ
แก้ไข
ปัจจุบันจังหวัดท่าขี้เหล็ก เขตรัฐฉาน ประเทศพม่า อยู่ตรงข้ามกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เปรียบเป็นเมืองหน้าด่าน ที่สำคัญในการทำการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศไทย และหลังจาก ที่รัฐบาลพม่าเปิดประเทศ และมีนโยบาย ผ่อนคลายกฎระเบียบที่เข้มงวด ทำให้บรรยากาศการพัฒนาเมืองเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนสร้างอาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับการค้าที่นับวันมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่การสร้างโรงแรมขนาดใหญ่รองรับนักท่องเที่ยวที่มีการ หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดันท่าขี้เหล็กเชื่อมไทย-ลาว-จีน
นายเท อ่อง รองประธานหอการค้าจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า กล่าวว่า การรวมกลุ่มของภาคเอกชนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก มีความเข้มแข็งในการพัฒนาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในระดับที่ดี และเมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ยิ่งทำให้บทบาทของภาคเอกชนจะมีความสำคัญ ในเวทีระดับท้องถิ่นคู่ขนานไปกับภาคเอกชนของไทย, ลาว และจีนมากขึ้น ด้วยศักยภาพทางภูมิประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกัน อีกทั้งมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในจังหวัดท่าขี้เหล็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจ ทั้งระบบเติบโตอย่างรวดเร็ว
ประการสำคัญ นอกจากจังหวัด ท่าขี้เหล็กจะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ ของเขตรัฐฉาน ประเทศพม่าที่มีพรมแดนตรงข้ามกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายของประเทศไทยแล้วในอนาคตอันใกล้นี้ จะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญต่อจังหวัดท่าขี้เหล็ก ไม่เพียงแต่เป็นเมืองหน้าด่านทางบกเชื่อมกับประเทศไทย แต่ยังเป็นเมืองหน้าด่านที่เชื่อมทางบกกับสปป.ลาวด้วย เพราะขณะนี้ได้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงลาว-พม่าแห่งแรก ระหว่างบ้านใจละ จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า กับเมืองลอง แขวงน้ำทาง สปป.ลาว ตอนนี้ คืบหน้าไปกว่า50% คาดว่าจะสามารถ ใช้งานได้ภายในปี 2558 ธุรกิจคึกแห่ซื้อที่ดินสร้างโรงแรม
ที่ผ่านมา จังหวัดท่าขี้เหล็กเป็นจุดระบายสินค้าของไทยผ่านทางบกข้ามด่านพรหมแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ก่อนจะส่งต่อ เข้าไปยังจังหวัดชั้นในของประเทศพม่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นจุดระบายสินค้าของจีนที่ส่งผ่านมาทางแม่น้ำโขงด้วย แต่เมื่อมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงลาว-พม่า จะทำให้สินค้าจากจีนผ่านทางบกเข้าสปป.ลาว ก่อนข้ามสะพานดังกล่าวเข้ามาสู่จังหวัดท่าขี้เหล็ก เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง และยังเชื่อมต่อไปยังเวียดนามผ่านทางสปป.ลาวอีกด้วย รวมถึงประเทศที่ 3 เท่ากับว่าต่อไป
จังหวัดท่าขี้เหล็กจะกลายเป็นเมืองท่า ทางการค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ถึง 5 ชาติ
สำหรับความเคลื่อนไหวทางการลงทุนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก โดยเฉพาะบริเวณบ้านใจละจุดใกล้เคียงกับสะพานดังกล่าวมีนักลงทนชาวพม่าเข้าไปซื้อที่ดินกันอย่างคึกคัก เพื่อรอจังหวะพัฒนาสร้างโรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจโลจิสติกส์ ขณะที่พื้นที่รอบๆ เขตเมืองท่าขี้เหล็ก ตอนนี้จะมีการก่อสร้างจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงแรม ขนาดใหญ่สูง 8-9 ชั้นห้องสัมมนาด้วยมี มีไม่ต่ำกว่า 5-6 แห่ง และมีโรงแรมระดับ 3 ดาว รวมถึงรีสอร์ทอีกไม่ต่ ากว่า 5 แห่ง เพื่อรองรับการกลุ่มนักธุรกิจทั้งชาวพม่า และชาวต่างประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกด้วย
โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดท่าขี้เหล็กมีการขยายตัวในสัดส่วนที่สูงขึ้น หลังจากรัฐบาลพม่าอนุญาตให้ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ถือพาสปอร์ตผ่านด่านพรหมแดนท่าขี้เหล็กเข้าสู่จังหวัดชั้นในได้ ทำให้กลายเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดท่าขี้เหล็กทั้งทางบก และทางอากาศมากกว่า 400,000 คน และคาดว่าหลังจากนี้จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบคมนาคมทางบกจะสะดวกขึ้น ควบคู่กับสนามบินท่าขี้เหล็กมีสายการบิน 7 รายที่เปิดเที่ยวบินให้บริการเชื่อมต่อไปยังจังหวัดชั้นในที่สำคัญของพม่า ทุนจีนเล็งสร้างตลาดชายแดน
นายไซ ยี ฟู่ ผู้อำนวยการ บริษัทฮิวจ์ อิเลฟเฟ่น จำกัด ดำเนินธุรกิจส่งออก พืชเกษตรรายใหญ่ในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า กล่าวว่า ตอนนี้พื้นที่บริเวณการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงพม่า-ลาว มีนักลงทุนชาวพม่าหลายรายได้ซื้อที่ดินเพื่อรองรับการเติบโตทางการค้าในบริเวณนี้แล้ว และทราบว่ามีกลุ่มทุนจีนอาจจะเข้ามาลงทุนสร้างตลาดการค้าชายแดน 4 ชาติในฝั่งสปป.ลาวบนพื้นที่นับ 1,000 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับฝั่งพม่า หากว่าเกิดเป็นรูปธรรมจะทำให้ทั้งพม่าและสปป.ลาว จะได้รับอานิสงส์จากการสร้างสะพานแห่งนี้เป็นอย่างมาก
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก สกาวรัตน์ ศิริมา (กรุงเทพธุรกิจ)
สะพานข้ามโขงพม่า-ลาวพลิกโฉม 'ท่าขี้เหล็ก' ขึ้นแท่นเมืองท่า 5 ชาติ
ปัจจุบันจังหวัดท่าขี้เหล็ก เขตรัฐฉาน ประเทศพม่า อยู่ตรงข้ามกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เปรียบเป็นเมืองหน้าด่าน ที่สำคัญในการทำการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศไทย และหลังจาก ที่รัฐบาลพม่าเปิดประเทศ และมีนโยบาย ผ่อนคลายกฎระเบียบที่เข้มงวด ทำให้บรรยากาศการพัฒนาเมืองเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนสร้างอาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับการค้าที่นับวันมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่การสร้างโรงแรมขนาดใหญ่รองรับนักท่องเที่ยวที่มีการ หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดันท่าขี้เหล็กเชื่อมไทย-ลาว-จีน
นายเท อ่อง รองประธานหอการค้าจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า กล่าวว่า การรวมกลุ่มของภาคเอกชนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก มีความเข้มแข็งในการพัฒนาการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในระดับที่ดี และเมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ยิ่งทำให้บทบาทของภาคเอกชนจะมีความสำคัญ ในเวทีระดับท้องถิ่นคู่ขนานไปกับภาคเอกชนของไทย, ลาว และจีนมากขึ้น ด้วยศักยภาพทางภูมิประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกัน อีกทั้งมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในจังหวัดท่าขี้เหล็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจ ทั้งระบบเติบโตอย่างรวดเร็ว
ประการสำคัญ นอกจากจังหวัด ท่าขี้เหล็กจะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ ของเขตรัฐฉาน ประเทศพม่าที่มีพรมแดนตรงข้ามกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายของประเทศไทยแล้วในอนาคตอันใกล้นี้ จะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญต่อจังหวัดท่าขี้เหล็ก ไม่เพียงแต่เป็นเมืองหน้าด่านทางบกเชื่อมกับประเทศไทย แต่ยังเป็นเมืองหน้าด่านที่เชื่อมทางบกกับสปป.ลาวด้วย เพราะขณะนี้ได้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงลาว-พม่าแห่งแรก ระหว่างบ้านใจละ จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า กับเมืองลอง แขวงน้ำทาง สปป.ลาว ตอนนี้ คืบหน้าไปกว่า50% คาดว่าจะสามารถ ใช้งานได้ภายในปี 2558 ธุรกิจคึกแห่ซื้อที่ดินสร้างโรงแรม
ที่ผ่านมา จังหวัดท่าขี้เหล็กเป็นจุดระบายสินค้าของไทยผ่านทางบกข้ามด่านพรหมแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ก่อนจะส่งต่อ เข้าไปยังจังหวัดชั้นในของประเทศพม่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นจุดระบายสินค้าของจีนที่ส่งผ่านมาทางแม่น้ำโขงด้วย แต่เมื่อมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงลาว-พม่า จะทำให้สินค้าจากจีนผ่านทางบกเข้าสปป.ลาว ก่อนข้ามสะพานดังกล่าวเข้ามาสู่จังหวัดท่าขี้เหล็ก เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง และยังเชื่อมต่อไปยังเวียดนามผ่านทางสปป.ลาวอีกด้วย รวมถึงประเทศที่ 3 เท่ากับว่าต่อไป
จังหวัดท่าขี้เหล็กจะกลายเป็นเมืองท่า ทางการค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ถึง 5 ชาติ
สำหรับความเคลื่อนไหวทางการลงทุนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก โดยเฉพาะบริเวณบ้านใจละจุดใกล้เคียงกับสะพานดังกล่าวมีนักลงทนชาวพม่าเข้าไปซื้อที่ดินกันอย่างคึกคัก เพื่อรอจังหวะพัฒนาสร้างโรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจโลจิสติกส์ ขณะที่พื้นที่รอบๆ เขตเมืองท่าขี้เหล็ก ตอนนี้จะมีการก่อสร้างจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงแรม ขนาดใหญ่สูง 8-9 ชั้นห้องสัมมนาด้วยมี มีไม่ต่ำกว่า 5-6 แห่ง และมีโรงแรมระดับ 3 ดาว รวมถึงรีสอร์ทอีกไม่ต่ ากว่า 5 แห่ง เพื่อรองรับการกลุ่มนักธุรกิจทั้งชาวพม่า และชาวต่างประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกด้วย
โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดท่าขี้เหล็กมีการขยายตัวในสัดส่วนที่สูงขึ้น หลังจากรัฐบาลพม่าอนุญาตให้ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ถือพาสปอร์ตผ่านด่านพรหมแดนท่าขี้เหล็กเข้าสู่จังหวัดชั้นในได้ ทำให้กลายเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดท่าขี้เหล็กทั้งทางบก และทางอากาศมากกว่า 400,000 คน และคาดว่าหลังจากนี้จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบคมนาคมทางบกจะสะดวกขึ้น ควบคู่กับสนามบินท่าขี้เหล็กมีสายการบิน 7 รายที่เปิดเที่ยวบินให้บริการเชื่อมต่อไปยังจังหวัดชั้นในที่สำคัญของพม่า ทุนจีนเล็งสร้างตลาดชายแดน
นายไซ ยี ฟู่ ผู้อำนวยการ บริษัทฮิวจ์ อิเลฟเฟ่น จำกัด ดำเนินธุรกิจส่งออก พืชเกษตรรายใหญ่ในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า กล่าวว่า ตอนนี้พื้นที่บริเวณการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงพม่า-ลาว มีนักลงทุนชาวพม่าหลายรายได้ซื้อที่ดินเพื่อรองรับการเติบโตทางการค้าในบริเวณนี้แล้ว และทราบว่ามีกลุ่มทุนจีนอาจจะเข้ามาลงทุนสร้างตลาดการค้าชายแดน 4 ชาติในฝั่งสปป.ลาวบนพื้นที่นับ 1,000 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับฝั่งพม่า หากว่าเกิดเป็นรูปธรรมจะทำให้ทั้งพม่าและสปป.ลาว จะได้รับอานิสงส์จากการสร้างสะพานแห่งนี้เป็นอย่างมาก
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก สกาวรัตน์ ศิริมา (กรุงเทพธุรกิจ)
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ประเทศไทยได้พยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อและช่วยลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศ...by dogTech
-
กรมประชาสัมพันธ์ โดยสำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดกิจกรรมการแข่งขันตอบปัญหาอาเซียน (ASEAN QUIZ)...by dogTech
-
เว็บไซต์ CareerBuilder และทาง Economic Modeling Specialists Intl. (EMSI) ประกาศผลการสำรวจล่าสุดจากฐานข้อมูลตลาดแรงงานของ EMSI ซึ่งดึงข้อมูลจากกว่า 90 หน่วยงานในสหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าอาชีพไหนเป็นอาชีพที่มาแรงที่สุด...by Editor Bow
-
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจจะช่วยปลดล็อคข้อจำกัดทางการเงินให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยสามารถนำทรัพย์สินอุปกรณ์...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต