ลบ
แก้ไข
ตามตัวเลขล่าสุดของกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ปัจจุบันในลาวมีเขื่อนอยู่ 23 แห่ง มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกันกว่า 3,000 เมกะวัตต์ อีก 20 แห่ง กำลังจะแล้วเสร็จในช่วงปีสองปีข้างหน้า และมีกำลังผลิตรวมกันกว่า 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้การผลิตไฟฟ้าในลาวมีกำลังติดตั้งรวมกว่า 7,000 เมกะวัตต์ ทะยานขึ้นเป็น “หม้อไฟ” ขุมพลัง “แบตเตอรี่” ในอาเซียนตามแผนการที่ดำเนินมาหลายปี
แต่ทั้งหมดนั้นยังไม่ได้นับรวมโครงการโรงไฟฟ้าหงสา ในแขวงไซบูลี ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชิ้อเพลิง ซึ่งมีกำลังผลิตถึง 1,878 เมกะวัตต์ และไม่ได้นับรวมเขื่อนขนาดเล็กอีกจำนวนมากที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนชุมชนที่อยู่ห่างไกล ตลอดจนโครงการผลิตพลังงานทางเลือกอีกจำนวนหนึ่ง
ที่เหลืออีก 19 โครงการ จะสร้างให้แล้วเสร็จระหว่างปี 2560-2563 สำนักข่าวสารปะเทดลาวอ้างรายงานของนายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานฯ
ในลาวมีหมู่บ้านจำนวนทั้งหมด 8,615 แห่ง ปัจจุบัน 70% มีไฟฟ้าใช้แล้ว ซึ่งคิดเป็นราว 87% ของครอบครัวชาวลาวทั้งประเทศ เกินตัวเลขแผนการ 80% ที่กำหนดไว้ในสิ้นปี 2518 และจนถึงปี 2563 จะมีครอบครัวชาวลาว 90% ที่ไฟฟ้าเข้าถึง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยังกล่าวด้วยว่า หลังปี 2559 เป็นต้นไป การก่อสร้างเขื่อนจะเริ่มลดลง แต่ประเทศจะมีรายได้มากขึ้นจากการจำหน่ายไฟฟ้าซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจดีขึ้น เนื่องจากไฟฟ้ากับแร่ธาตุเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของลาวในขณะนี้
การสร้างเขื่อนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่รัฐบาลได้พยายามทุกทางในการลดผ่อนผลกระทบด้วยการศึกษา และปรึกษาหารืออย่างถ่องแท้ก่อนลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้ผลที่ออกมามีความยั่งยืนที่สุด และเป็นประโยชน์ในระยะยาวตกทอดถึงรุ่นลูกหลาน
นายคำมะนี ยกตัวอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ การสร้างเขื่อน้ำคาน 2 และ 3 ของนักลงจีนในแขวงหลวงพระบาง ซึ่งต้องอพยพราษฎรออกจากพื้นที่กว่า 600 ครอบครัว แต่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบเหล่านั้น
ทางการได้โยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนไปอาศัยในแหล่งทำกินใหม่ มีการจัดสรรที่ดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ และเลี้ยงสัตว์ สร้างถนนเข้าสู่แหล่งชุมชม สร้างระบบไฟฟ้า-น้ำประปา สร้างสถานีอนามัย และโรงเรียน ตั้งกองทุนฝึกอบรมอาชีพให้ประชาชนมีงานทำที่ยั่งยืน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ตัวเลขข้างต้นนับว่าไม่มากหากเทียบกับการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 ในเขตเมือง (อำเภอ) นากาย แขวง (จังหวัด) คำม่วน เมื่อหลายปีก่อน ที่ต้องอพยพราษฎรกว่า 10 หมู่บ้าน แต่ในปัจุบันนากายได้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยว ประชาชนมีรายได้มากขึ้น และพ้นจากสภาพความยากจนไปอีกหนึ่งเมือง นายคำมะนีกล่าว
ตามรายงานของสำนักข่าวทางการก่อนหน้านี้ ปัจจุบันโครงการลงทุนในเขื่อนขนาดใหญ่เริ่มลดลง และนักลงทุนได้หันไปให้ความสนใจเขื่อนขนาดเล็กมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนักลงทุนไทยกำลังเร่งก่อสร้างเขื่อนไซยบูลีขนาด 1,260 เมกะวัตต์ มูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นลำน้ำโขงทั้งสายแห่งแรกของลาวในแขวงไซยะบูลี ทางภาคเหนือ เมื่อแล้วเสร็จจะกลายเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ
ใต้ลงไปนักลงทุนมาเลเซียก็กำลังเร่งสร้างเขื่อนดอนสะโฮงกั้น “ฮูสะโฮง” ซึ่งเป็นทางน้ำไหลขนาดใหญ่สายหนึ่งในระบบแม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่ในเขตนทีสี่พันดอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก
เขื่อนดอนสะโฮง ที่มีกำลังผลิต 260 เมกะวัตต์ จะผลิตไฟเส่งจำหน่ายให้แก่ไทย กับกัมพูชา ท่ามกลางความห่วงใยของนักอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และความเป็นกังวลของชาวเวียดนามหลายสิบล้านคนที่อาศัยทำกินในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก manager.co.th
ลาวเตรียมการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าอีกหลายสิบแห่งในปีหน้า
ตามตัวเลขล่าสุดของกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ปัจจุบันในลาวมีเขื่อนอยู่ 23 แห่ง มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกันกว่า 3,000 เมกะวัตต์ อีก 20 แห่ง กำลังจะแล้วเสร็จในช่วงปีสองปีข้างหน้า และมีกำลังผลิตรวมกันกว่า 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้การผลิตไฟฟ้าในลาวมีกำลังติดตั้งรวมกว่า 7,000 เมกะวัตต์ ทะยานขึ้นเป็น “หม้อไฟ” ขุมพลัง “แบตเตอรี่” ในอาเซียนตามแผนการที่ดำเนินมาหลายปี
แต่ทั้งหมดนั้นยังไม่ได้นับรวมโครงการโรงไฟฟ้าหงสา ในแขวงไซบูลี ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชิ้อเพลิง ซึ่งมีกำลังผลิตถึง 1,878 เมกะวัตต์ และไม่ได้นับรวมเขื่อนขนาดเล็กอีกจำนวนมากที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนชุมชนที่อยู่ห่างไกล ตลอดจนโครงการผลิตพลังงานทางเลือกอีกจำนวนหนึ่ง
ที่เหลืออีก 19 โครงการ จะสร้างให้แล้วเสร็จระหว่างปี 2560-2563 สำนักข่าวสารปะเทดลาวอ้างรายงานของนายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานฯ
ในลาวมีหมู่บ้านจำนวนทั้งหมด 8,615 แห่ง ปัจจุบัน 70% มีไฟฟ้าใช้แล้ว ซึ่งคิดเป็นราว 87% ของครอบครัวชาวลาวทั้งประเทศ เกินตัวเลขแผนการ 80% ที่กำหนดไว้ในสิ้นปี 2518 และจนถึงปี 2563 จะมีครอบครัวชาวลาว 90% ที่ไฟฟ้าเข้าถึง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยังกล่าวด้วยว่า หลังปี 2559 เป็นต้นไป การก่อสร้างเขื่อนจะเริ่มลดลง แต่ประเทศจะมีรายได้มากขึ้นจากการจำหน่ายไฟฟ้าซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจดีขึ้น เนื่องจากไฟฟ้ากับแร่ธาตุเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของลาวในขณะนี้
การสร้างเขื่อนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่รัฐบาลได้พยายามทุกทางในการลดผ่อนผลกระทบด้วยการศึกษา และปรึกษาหารืออย่างถ่องแท้ก่อนลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้ผลที่ออกมามีความยั่งยืนที่สุด และเป็นประโยชน์ในระยะยาวตกทอดถึงรุ่นลูกหลาน
นายคำมะนี ยกตัวอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ การสร้างเขื่อน้ำคาน 2 และ 3 ของนักลงจีนในแขวงหลวงพระบาง ซึ่งต้องอพยพราษฎรออกจากพื้นที่กว่า 600 ครอบครัว แต่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบเหล่านั้น
ทางการได้โยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนไปอาศัยในแหล่งทำกินใหม่ มีการจัดสรรที่ดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ และเลี้ยงสัตว์ สร้างถนนเข้าสู่แหล่งชุมชม สร้างระบบไฟฟ้า-น้ำประปา สร้างสถานีอนามัย และโรงเรียน ตั้งกองทุนฝึกอบรมอาชีพให้ประชาชนมีงานทำที่ยั่งยืน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ตัวเลขข้างต้นนับว่าไม่มากหากเทียบกับการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 ในเขตเมือง (อำเภอ) นากาย แขวง (จังหวัด) คำม่วน เมื่อหลายปีก่อน ที่ต้องอพยพราษฎรกว่า 10 หมู่บ้าน แต่ในปัจุบันนากายได้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยว ประชาชนมีรายได้มากขึ้น และพ้นจากสภาพความยากจนไปอีกหนึ่งเมือง นายคำมะนีกล่าว
ตามรายงานของสำนักข่าวทางการก่อนหน้านี้ ปัจจุบันโครงการลงทุนในเขื่อนขนาดใหญ่เริ่มลดลง และนักลงทุนได้หันไปให้ความสนใจเขื่อนขนาดเล็กมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนักลงทุนไทยกำลังเร่งก่อสร้างเขื่อนไซยบูลีขนาด 1,260 เมกะวัตต์ มูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นลำน้ำโขงทั้งสายแห่งแรกของลาวในแขวงไซยะบูลี ทางภาคเหนือ เมื่อแล้วเสร็จจะกลายเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ
ใต้ลงไปนักลงทุนมาเลเซียก็กำลังเร่งสร้างเขื่อนดอนสะโฮงกั้น “ฮูสะโฮง” ซึ่งเป็นทางน้ำไหลขนาดใหญ่สายหนึ่งในระบบแม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่ในเขตนทีสี่พันดอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก
เขื่อนดอนสะโฮง ที่มีกำลังผลิต 260 เมกะวัตต์ จะผลิตไฟเส่งจำหน่ายให้แก่ไทย กับกัมพูชา ท่ามกลางความห่วงใยของนักอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และความเป็นกังวลของชาวเวียดนามหลายสิบล้านคนที่อาศัยทำกินในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก manager.co.th
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบขนส่งทางรางภายใต้ความร่วมมือไทย - จีน ว่า ในวันที่ 24 สิงหาคมนี้ คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน...by dogTech
-
นายสตัฟฟาน แฮร์สเตริม (H.E. Mr. Staffan Herrstrm) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์)...by dogTech
-
ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นองค์กรที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้น รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน...by dogTech
-
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ ที่จะสร้างความมั่นใจกับความสามารถ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยการขับเคลื่อนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ใน 5 ปีข้างหน้า ทั้งถนน...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต