ลบ แก้ไข

โซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อการจราจร "จาการ์ตา"

โซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อกา

      เขตเมืองที่ขยายออกเริ่มเต็มไปด้วยตึกสูง ทั้งที่เขตเมืองใหม่ของกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซียมีการเตรียมพร้อมด้วยสายขนาด 8 เลน แต่ดูเหมือนว่าถนนอันกว้างขวางนั้นไม่เพียงพอเสียแล้วสำหรับปริมาณรถที่เพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 160 ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2000-2010 ขณะที่มอเตอร์ไซค์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 460

เหตุผลหลักที่ทำให้บรรดาเศรษฐีทั้งใหม่และเก่าของอินโดนีเซียเลือกที่จะออกรถส่วนตัวมาขับ มาจากระบบขนส่งมวลชนที่ล้าหลังสวนทางกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองหลวงแห่งนี้ นอกจากรถบัสขนาดเล็กที่ดูเก่าคร่ำคร่าพร้อมที่จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้ทุกเมื่อแล้ว ระบบขนส่งมวลชนที่ดูดีกว่าก็คือ รถเมล์แบบ

เดียวกับบีอาร์ทีของกรุงเทพมหานคร แต่ก็มีวิ่งบนถนนสายหลักเพียงไม่กี่เส้นเท่านั้น

คนใช้รถใช้ถนนของจาการ์ตาจึงหาทาง ออกสำหรับการจราจรที่ติดขัดด้วยการใช้สื่อออนไลน์ เพราะแต่ละคนที่ต้องใช้เวลาอยู่บนรถไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ชั่วโมง กับการจราจรที่ติดขัดถึงขนาดที่เรียกได้ว่าคันเร่งไม่ต้องทำงานแค่คอยเหยียบเบรกอย่างเดียว มักฆ่าเวลาด้วยการเล่นเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ โดยข่าวสารการจราจรที่ถูกโพสต์ไว้นั้นจะช่วยให้วางแผนหลีกเลี่ยงเส้นทางติดขัดได้ในระดับหนึ่ง

4 ปีก่อนเว็บไซต์ lewatmana.com ได้ถือกำเนิดขึ้น ทั้งเว็บไซต์และทวิตเตอร์ของเว็บนี้เกิดขึ้นพร้อมกันและทำหน้าที่ในการแจ้งข่าวจราจรแบบเรียลไทม์

“ชาวอินโดนีเซียจะอัพเดทสถานะของตัวเองไว้ในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ตลอดเวลา เราจึงมาคิดกันว่า ทำไมเราไม่แชร์ปัญหาจราจรเหล่านั้นให้ทุกคนได้รับรู้ด้วย” เฮนดรี่ โซลิสต์โย ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์จราจรของจาการ์ตา บอกถึงที่มาที่ไป

เลวัตมานะ (Lewatmana) ในภาษาอินโด นีเซีย หมายถึง ทางไหน เว็บไซต์นี้ไม่ได้บอกถึงสถานะการจราจรในแต่ละเส้นทางเท่านั้น แต่ยังมีการปักธงบอกจุดที่กำลังเกิดปัญหาอย่างน้ำท่วม หรือการชุมนุมประท้วงที่มีอยู่บ่อยครั้งในจาการ์ตา

การรายงานจราจรแบบเรียลไทม์นี้อาศัยกล้องซีซีทีวี 100 เครื่อง ที่กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของเมือง ซึ่งจะแสดงผลมายังหน้าจอ โดยมีจะมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าติดตามสภาพการจราจรของถนนแต่ละสาย ก่อนจะถ่ายภาพและรายงานให้สมาชิกได้รับทราบ

แต่ละเดือนทวิตเตอร์ของเลวัตมานะจะทวีตแจ้งข่าวสารจราจรถึง 14,000 ครั้ง ไปยังสมาชิกผู้ติดตามที่มีอยู่กว่า 200,000 คน

ขณะที่ทวิตเตอร์เนเบนเกอร์ (Nebenger) ชื่อที่หมายถึง คนโบกรถขออาศัยร่วมทาง เป็นอีกแอคเคาท์ที่ได้รับความนิยม

“เนเบนเกอร์ทำหน้าที่เสมือนสถานีรถโดยสาร มันจะบอกให้รู้ว่าเราจะสามารถขออาศัยติดรถใครไปโรงเรียนหรือไปทำงานได้บ้าง” แอนเดรียส เอดิทยา สวาติ ผู้ก่อตั้งแอคเคาท์วัย 27 ปี ระบุ

มันเป็นช่องทางการเดินทางอันล้ำค่าสำหรับคนที่จะเป็นผู้โดยสาร แต่เนเบนเกอร์ก็เพิ่งมีผู้ติดตามเพียง 4,000 คนเท่านั้น โดยมีผู้โดยสารราว 400 คน ใช้ช่องทางนี้ให้เป็นประโยชน์ในแต่ละวัน และหลายคนก็พร้อมที่จะแบ่งปันที่นั่งให้กับผู้โดยสารแปลกหน้าที่จะเดินทางไปเส้นทางเดียวกัน โดยจะบอกกล่าวกันล่วงหน้า 2 ชั่วโมง ก่อนออกเดินทาง

รัตนา มายาซาริ ซึ่งทำงานอยู่ใจกลางกรุงจาการ์ตา หนึ่งในคนที่แชร์ที่นั่งบนรถให้กับเพื่อนร่วมทางจากบ้านของเธอที่อยู่ทางตอนใต้ของจาการ์ตา บอกว่า แต่ก่อนเธอจะร้องเพลงหรือบ่นกับตัวเองเมื่อเจอปัญหาจราจรติดขัด แต่เดี๋ยวนี้เวลาชั่วโมงครึ่งบนรถเธอมีเพื่อนร่วมทางอีกคนที่จะมานั่งคุยกันแทน

ขณะที่การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของรัฐบาลดูเหมือนจะล่าช้าไปถึง 10 ปี เพราะรถไฟฟ้าสายแรกและโมโนเรลกำลังจะตอกเสาเข็ม ระหว่างนี้ประชาชนชาวอินโดนีเซียก็ยังคงต้องพึ่งพาสังคมออนไลน์เพื่อจัดระบบจราจรให้กับตัวเองไปพลาง ๆ ก่อน




เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจากaseanthai.net
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor Bow
ชม 3,266 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ