ลบ
แก้ไข
สาเหตุประการแรก ที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพที่เปราะบางต่อปัญหาดังกล่าว เพราะประชากรจำนวนมากกว่า 500 ล้านคน จากทั้งหมด 620 ล้านคน ทั่วทั้งภูมิภาค อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่กินบริเวณเป็นความยาวกว่า 173,251 กิโลเมตร ดังนั้น ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาทิ การที่โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นทุกทุก 10 ปีราว 0.1-0.3 องศาเซลเซียส และทำให้ระดับน้ำทะเลค่อยๆ สูงขึ้นทีละเล็กทีละน้อยราว 1-3 มิลลิเมตรต่อปี ย่อมส่งผลกระทบต่อประชากรแถบชายฝั่งเป็นแน่
ประการที่สอง กว่าร้อยละ 43 ของประชากรในภูมิภาคอาเซียน ยังยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักในการเลี้ยงชีพ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งภูมิภาคราวร้อยละ 10 ทำให้ผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมีมากพอสมควร ทั้งความแห้งแล้ง น้ำท่วม หรือพายุฤดูร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายภาคส่วนเศรษฐกิจที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ จำพวกป่าไม้ และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งปัญหาไฟป่าที่พบมากในแถบประเทศอินโดนีเซีย อันเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักทั้งในประเทศอินโดนีเซียเอง และประเทศเพื่อนบ้าน ที่ทำให้หมอกควันกระจายฟุ้งไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้หลายฝ่ายอาจมองว่า เศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจริญเติบโตขึ้นมาก และทำให้ปัญหาความยากจนดีขึ้นมาก และปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากนัก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะหากดูที่สถิติแล้ว จำนวนคนที่ประสบปัญหายากจน โดยชี้วัดที่ตัวเลขเส้นความยากจน ซึ่งคนที่ใช้ชีวิตด้วยเงินต่ำกว่า 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือราว 38 บาท ยังมีมากถึงประมาณ 90 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาค และคนเหล่านี้คือคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนมากที่สุด เพราะส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และคนหาของป่าผลิตภัณฑ์จากป่า เป็นต้น
สำหรับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจหลักๆ นั้น ที่เห็นได้ชัดก็อย่างเช่น สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในไทย ทำให้ฝนตกมากเกินปกติ รวมไปถึงป่าไม้ที่ลดลงจากฝีมือมนุษย์ ทำให้น้ำท่วมหนักในปี 2554 ทำให้เศรษฐกิจล่มอย่างหนัก หลายโรงงานต้องปิดตัว ขณะที่หลายๆ ประเทศถึงขั้นวางแผนลดปริมาณการลงทุนในประเทศไทย ไปยังประเทศอื่นอีกด้วย ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่สำคัญ ก็เช่น ผลกระทบต่อภาคส่วนการประมง เพราะหากสภาพอากาศเปลี่ยน โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย จะทำให้ระบบนิเวศทางทะเลเสื่อมลงอย่างแน่นอน และจะทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล ก็จะยิ่งมีความสวยงามลดลงไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงนั้น จะส่งผลให้ภัยภิบัติเกิดถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น ทำให้ความเสียหายรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว อย่างที่เห็นชัดๆ คงหนีไม่พ้น ซูเปอร์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ที่พัดถล่ม ประเทศฟิลิปปินส์ และสร้างความเสียหายต่อผู้คนนับล้าน และสร้างความเสียหายด้านเศรษฐกิจเป็นมูลค่านับหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ จากการคาดคะเนโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ภายในปี 2643 อุณหภูมิจะสูงขึ้นราว 4 องศาเซลเซียส และมีโอกาสจะพุ่งสูงถึง 5.5 องศา
เซลเซียส ถึงร้อยละ 5.5 ทั้งนี้ หากเกิดขึ้นจริง จะท าให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งโลก หรือ GDP จะลดลงร้อยละ 0.6 ส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะได้รับผลกระทบด้าน GDP ลดลงถึงร้อยละ 2.6 เลยทีเดียว
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ทันหุ้น
ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยน กระทบเศรษฐกิจอาเซียน
สาเหตุประการแรก ที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพที่เปราะบางต่อปัญหาดังกล่าว เพราะประชากรจำนวนมากกว่า 500 ล้านคน จากทั้งหมด 620 ล้านคน ทั่วทั้งภูมิภาค อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่กินบริเวณเป็นความยาวกว่า 173,251 กิโลเมตร ดังนั้น ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาทิ การที่โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นทุกทุก 10 ปีราว 0.1-0.3 องศาเซลเซียส และทำให้ระดับน้ำทะเลค่อยๆ สูงขึ้นทีละเล็กทีละน้อยราว 1-3 มิลลิเมตรต่อปี ย่อมส่งผลกระทบต่อประชากรแถบชายฝั่งเป็นแน่
ประการที่สอง กว่าร้อยละ 43 ของประชากรในภูมิภาคอาเซียน ยังยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักในการเลี้ยงชีพ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งภูมิภาคราวร้อยละ 10 ทำให้ผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมีมากพอสมควร ทั้งความแห้งแล้ง น้ำท่วม หรือพายุฤดูร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายภาคส่วนเศรษฐกิจที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ จำพวกป่าไม้ และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งปัญหาไฟป่าที่พบมากในแถบประเทศอินโดนีเซีย อันเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักทั้งในประเทศอินโดนีเซียเอง และประเทศเพื่อนบ้าน ที่ทำให้หมอกควันกระจายฟุ้งไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้หลายฝ่ายอาจมองว่า เศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจริญเติบโตขึ้นมาก และทำให้ปัญหาความยากจนดีขึ้นมาก และปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากนัก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะหากดูที่สถิติแล้ว จำนวนคนที่ประสบปัญหายากจน โดยชี้วัดที่ตัวเลขเส้นความยากจน ซึ่งคนที่ใช้ชีวิตด้วยเงินต่ำกว่า 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือราว 38 บาท ยังมีมากถึงประมาณ 90 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาค และคนเหล่านี้คือคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนมากที่สุด เพราะส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และคนหาของป่าผลิตภัณฑ์จากป่า เป็นต้น
สำหรับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจหลักๆ นั้น ที่เห็นได้ชัดก็อย่างเช่น สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในไทย ทำให้ฝนตกมากเกินปกติ รวมไปถึงป่าไม้ที่ลดลงจากฝีมือมนุษย์ ทำให้น้ำท่วมหนักในปี 2554 ทำให้เศรษฐกิจล่มอย่างหนัก หลายโรงงานต้องปิดตัว ขณะที่หลายๆ ประเทศถึงขั้นวางแผนลดปริมาณการลงทุนในประเทศไทย ไปยังประเทศอื่นอีกด้วย ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่สำคัญ ก็เช่น ผลกระทบต่อภาคส่วนการประมง เพราะหากสภาพอากาศเปลี่ยน โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย จะทำให้ระบบนิเวศทางทะเลเสื่อมลงอย่างแน่นอน และจะทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล ก็จะยิ่งมีความสวยงามลดลงไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงนั้น จะส่งผลให้ภัยภิบัติเกิดถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น ทำให้ความเสียหายรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว อย่างที่เห็นชัดๆ คงหนีไม่พ้น ซูเปอร์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน ที่พัดถล่ม ประเทศฟิลิปปินส์ และสร้างความเสียหายต่อผู้คนนับล้าน และสร้างความเสียหายด้านเศรษฐกิจเป็นมูลค่านับหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ จากการคาดคะเนโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ภายในปี 2643 อุณหภูมิจะสูงขึ้นราว 4 องศาเซลเซียส และมีโอกาสจะพุ่งสูงถึง 5.5 องศา
เซลเซียส ถึงร้อยละ 5.5 ทั้งนี้ หากเกิดขึ้นจริง จะท าให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งโลก หรือ GDP จะลดลงร้อยละ 0.6 ส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะได้รับผลกระทบด้าน GDP ลดลงถึงร้อยละ 2.6 เลยทีเดียว
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ทันหุ้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
เอกชนหนุนคนไทยเที่ยวเพื่อนบ้านอาเซียน หวังปั้นยอด หลังคาดทัวร์นอกวูบหนักไตรมาสแรกปี 2557 นายสุทธิพงศ์ เผื่อนพิภพ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) เปิดเผยว่า...by Editor Bow
-
-
matichon.co.th ของฝาก ของประเทศสิงคโปร์ ที่ควรซื้อกลับมา - กระเป๋าของ Charles & Keith จะราคาถูกกว่าเมืองไทยประมาณสามสี่เท่าตัว - เสื้อผ้าเเบรนเนมต่างๆ ซื้อที่ห้างโรบินสัน(ตรงถนน Orchard road) bossini กับ giordano...by Editor Bow
-
ประเทศไทย สวัสดี ไปพม่าต้องพูดว่า มิงกาลาบา เวียดนาม พูดว่า ซินจ่าว มากล่าวคำสวัสดี ในภาษาของประเทศอาเซียน กันเถอะ ข้อมูลโดย สำนักพิมพ์ MAC...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต