ลบ
แก้ไข
นับตั้งแต่มีการเซ็นความตกลงความช่วยเหลือจากประเทศไทยในเดือน ก.ย.2556 การก่อสร้างคลังสินค้า ซึ่งรวมทั้งบริเวณจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์สินค้ากับการก่อสร้างถนนลาดยางเพื่อเชื่อมกับสถานีรถไฟท่านาแล้งแล้วเสร็จไปประมาณ 23% สื่อของทางการรายงานเรื่องนี้อ้างนายสมซะนะ ลาซะพง หัวหน้าสำนักงานบริหารการรถไฟ กระทรวงการโยธาและขนส่ง ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างคาดว่าทางรถไฟเฟสที่ 2 จะแล้วเสร็จตามกำหนดในปี 2558 นี้
การก่อสร้างทางรถไฟเฟสที่ 2 ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 5 ปี หลังจากรัฐบาลลาวได้ตัดสินใจขอยกเลิกความช่วยเหลือจากไทย โดยหวังว่าทางรถไฟช่วง 9 กิโลเมตรเศษนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีนที่จะสร้างไปเชื่อมกับระบบรถไฟความเร็วสูงของไทยที่ จ.หนองคาย แต่หลังจากโครงการของฝ่ายจีนเกิดความล่าช้า ได้ทำให้ลาวปรับแผน และเสนอขอความช่วยเหลือจากไทยอีกครั้ง และแผนการก่อสร้างครั้งใหม่ถูกผนวกเข้ากับแผนพัฒนาของลาวเพื่อให้เขตบ้านดวงโพสี ที่ตั้งของสถานีรถไฟท่านาแล้ง เป็นเขตคลังสินค้าทั้งเข้าและออกที่อาศัยการขนส่งระบบราง ซึ่งทำให้การก่อสร้างต้องใช้เงินงบประมาณมากขึ้น
ตามรายงานของสำนักข่าวทางการแผนการขยายสถานีรถไฟและการต่อเส้นทางเข้าสู่ชานเมืองหลวงใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 176,000 ล้านกีบ หรือประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย ทั้งในรูปเงินกู้ และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า การก่อสร้างคลังสินค้าที่มีมูลค่าราว 22 ล้านดอลลาร์ ดำเนินมาเป็นเวลากว่า 6 เดือน และการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ 2 จากสถานีท่านาแล้ง เมือง (อำเภอ) หาดทรายฟอง ไปยังสถานีบ้านคำสะหวด เมืองไซเสดถา นครเวียงจันทน์ ซึ่งจะใช้เงินประมาณ 20 ล้านดอลลาร์กำลังจะเริ่มขึ้น
ส่วนอีกปลายข้างหนึ่งปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างอาคารสำนักงานบริหาร กับเรือนพนักของเจ้าหน้าที่ในเขตบ้านคำสะหวาด ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีท่านาแล้ง ไปประมาณ 7 กม.สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน
เมื่อปี 2552 รัฐบาลลาวได้ประกาศแผนแม่บทการพัฒนาบริเวณท่านาแล้งที่เคยเป็นท้องถิ่นทุรกันดารของเมืองหลวง ให้เป็นเขตเศรษฐกิจ และการค้าอันใหญ่โตที่ใช้การขนส่งระบบรางเชื่อมต่อกับไทย และสมาชิกกลุ่มอาเซียน ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาแผนการอื่นๆ กับโครงการลงทุนของต่างชาติติดตามมาอย่างมากมายในอาณาบริเวณดังกล่าวรวมเป็นมูลคาหลายร้อยล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน ทั้งสนามกอล์ฟ โรงแรม ร้านค้า และบริการอื่นๆ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลลาวยังก่อสร้างทางหลวงสายใหม่อีก 1 สาย เป็นถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องทางจราจร ระยะทางกว่า 12 กม.เชื่อมคำสะหวาด เข้ากับบ้านดงโสพี เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมและขนส่งระหว่างนครเวียงจันทน์ กับสถานีรถไฟแห่งแรกของประเทศอีกด้วย โดยมีกำหนดแล้วเสร็จปลายปีหน้า หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจและสังคมรายงาน
ตามตัวเลขของหัวหน้าสถานีรถไฟท่านาแล้ง ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ได้มีผู้โดยสารรถไฟจากหนองคาย ข้ามไปยังฝั่งลาวถึง 6,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายจนเป็นสถิติใหม่ แต่ราว 80% ของผู้โดยสารก็ยังเป็นชาวต่างชาติ เมื่อการก่อสร้างเฟสที่ 2 แล้วเสร็จซึ่งจะทำให้รถไฟแล่นเข้าถึงตัวเมืองหลวงได้ เชื่อว่าจะทำให้ชาวลาวนิยมใช้บริการมากยิ่งขึ้น สื่อของทางการรายงาน
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก manager.co.th
ลาว-ไทยเร่ง ปีหน้าเตรียมนั่งรถไฟไปเวียงจันทน์
นับตั้งแต่มีการเซ็นความตกลงความช่วยเหลือจากประเทศไทยในเดือน ก.ย.2556 การก่อสร้างคลังสินค้า ซึ่งรวมทั้งบริเวณจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์สินค้ากับการก่อสร้างถนนลาดยางเพื่อเชื่อมกับสถานีรถไฟท่านาแล้งแล้วเสร็จไปประมาณ 23% สื่อของทางการรายงานเรื่องนี้อ้างนายสมซะนะ ลาซะพง หัวหน้าสำนักงานบริหารการรถไฟ กระทรวงการโยธาและขนส่ง ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างคาดว่าทางรถไฟเฟสที่ 2 จะแล้วเสร็จตามกำหนดในปี 2558 นี้
การก่อสร้างทางรถไฟเฟสที่ 2 ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 5 ปี หลังจากรัฐบาลลาวได้ตัดสินใจขอยกเลิกความช่วยเหลือจากไทย โดยหวังว่าทางรถไฟช่วง 9 กิโลเมตรเศษนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบรถไฟความเร็วสูงจากจีนที่จะสร้างไปเชื่อมกับระบบรถไฟความเร็วสูงของไทยที่ จ.หนองคาย แต่หลังจากโครงการของฝ่ายจีนเกิดความล่าช้า ได้ทำให้ลาวปรับแผน และเสนอขอความช่วยเหลือจากไทยอีกครั้ง และแผนการก่อสร้างครั้งใหม่ถูกผนวกเข้ากับแผนพัฒนาของลาวเพื่อให้เขตบ้านดวงโพสี ที่ตั้งของสถานีรถไฟท่านาแล้ง เป็นเขตคลังสินค้าทั้งเข้าและออกที่อาศัยการขนส่งระบบราง ซึ่งทำให้การก่อสร้างต้องใช้เงินงบประมาณมากขึ้น
ตามรายงานของสำนักข่าวทางการแผนการขยายสถานีรถไฟและการต่อเส้นทางเข้าสู่ชานเมืองหลวงใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 176,000 ล้านกีบ หรือประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย ทั้งในรูปเงินกู้ และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า การก่อสร้างคลังสินค้าที่มีมูลค่าราว 22 ล้านดอลลาร์ ดำเนินมาเป็นเวลากว่า 6 เดือน และการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ 2 จากสถานีท่านาแล้ง เมือง (อำเภอ) หาดทรายฟอง ไปยังสถานีบ้านคำสะหวด เมืองไซเสดถา นครเวียงจันทน์ ซึ่งจะใช้เงินประมาณ 20 ล้านดอลลาร์กำลังจะเริ่มขึ้น
ส่วนอีกปลายข้างหนึ่งปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างอาคารสำนักงานบริหาร กับเรือนพนักของเจ้าหน้าที่ในเขตบ้านคำสะหวาด ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีท่านาแล้ง ไปประมาณ 7 กม.สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน
เมื่อปี 2552 รัฐบาลลาวได้ประกาศแผนแม่บทการพัฒนาบริเวณท่านาแล้งที่เคยเป็นท้องถิ่นทุรกันดารของเมืองหลวง ให้เป็นเขตเศรษฐกิจ และการค้าอันใหญ่โตที่ใช้การขนส่งระบบรางเชื่อมต่อกับไทย และสมาชิกกลุ่มอาเซียน ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาแผนการอื่นๆ กับโครงการลงทุนของต่างชาติติดตามมาอย่างมากมายในอาณาบริเวณดังกล่าวรวมเป็นมูลคาหลายร้อยล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน ทั้งสนามกอล์ฟ โรงแรม ร้านค้า และบริการอื่นๆ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลลาวยังก่อสร้างทางหลวงสายใหม่อีก 1 สาย เป็นถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องทางจราจร ระยะทางกว่า 12 กม.เชื่อมคำสะหวาด เข้ากับบ้านดงโสพี เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมและขนส่งระหว่างนครเวียงจันทน์ กับสถานีรถไฟแห่งแรกของประเทศอีกด้วย โดยมีกำหนดแล้วเสร็จปลายปีหน้า หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจและสังคมรายงาน
ตามตัวเลขของหัวหน้าสถานีรถไฟท่านาแล้ง ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ได้มีผู้โดยสารรถไฟจากหนองคาย ข้ามไปยังฝั่งลาวถึง 6,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายจนเป็นสถิติใหม่ แต่ราว 80% ของผู้โดยสารก็ยังเป็นชาวต่างชาติ เมื่อการก่อสร้างเฟสที่ 2 แล้วเสร็จซึ่งจะทำให้รถไฟแล่นเข้าถึงตัวเมืองหลวงได้ เชื่อว่าจะทำให้ชาวลาวนิยมใช้บริการมากยิ่งขึ้น สื่อของทางการรายงาน
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก manager.co.th
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร เผยข้อมูลจาก สตช. พบ 10 อันดับสถานที่ ที่รถหายมากที่สุด อันดับ 1 คือ ลานจอดรถการเคหะร่มเกล้า อันดับ 2 ลานจอดรถการเคหะคลองจั่น อันดับ 3 ลานจอดรถสนามหลวง 2 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร - บก.02...by Editor Bow
-
จุดผ่อนปรนการค้าบ้านมะม่วง-จุดผ่อนปรนเนิน 400 นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด พร้อมด้วยนายจันทร์ โซ๊ะพอล ผู้ว่าราชการจังหวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา...by dogTech
-
เว็บไซต์สกายแทร็กซ์ (Skytrax) ผู้จัดอันดับสนามบินทั่วโลก เปิดเผยอันดับ สนามบินที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2557 (The Worlds Best Airports 2014) ผลปรากฏว่า ท่าอากาศยานนานาชาติชางฮีของสิงคโปร์ หรือ ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี...by Editor Bow
-
เรื่องมาใหม่
คำฮิต