ลบ
แก้ไข

นายพจ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เปิดเผยในงานเสวนา “รู้อิเหนา รู้เรา เข้าใจตลาด” ว่า การไปลงทุนในธุรกิจอาหารในอินโดนีเซียจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการผลิตอาหารฮาลาล ส่งออกไปยังตลาดมุสลิมที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วโลก 2,000 ล้านคน เนื่องจากเครื่องหมายฮาลาลของอินโดนีเซียเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ต่างจากประเทศไทยและที่ผ่านมาผู้ผลิตที่ส่งออกอาหารฮาลาลไปบางตลาดไทยต้องอาศัยการรับรองจากประเทศมาเลเซียด้วย โดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารในภาคใต้ของไทย
นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียยังมีแหล่งวัตถุดิบในการผลิตอาหารโดยเฉพาะอาหารทะล และมีค่าจ้างขั้นต่ำที่ถูก รวมถึงมีการสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่สามารถส่งออกไปในยุโรป และ สหรัฐ ในอัตราภาษีที่ต่ำกว่าไทย ขณะที่ไทยมีศักยภาพด้านการผลิตและเทคโนโลยี เมื่อร่วมทุนกันก็จะขยายตลาดในง่ายและมากขึ้นด้วย
“อินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่มีประชากร 285-300 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากจีน อินเดีย สหรัฐ แต่เป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยจะไปการลงทุนในอินโดนีเซียจำเป็นต้องมีการร่วมทุนกับนักธุรกิจในพื้นที่ก็จะลดความเสี่ยงทั้งการถูกโกงและการถูกเอาเปรียบด้วย แต่การเลือกผู้ลงทุนควรศึกษาประวัติให้ดีก่อน”
รอ.สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียเริ่มเป็นแหล่งการลงทุนของต่างชาติมากขึ้น เนื่องจากมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่สุดในอาเซียน และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยปีละ 6% หลายปีติดต่อกัน เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่และประชากรเริ่มมีกำลังซื้อที่สูง โดยคาดว่าจะมีประชากรที่มีกำลังซื้อสูงมากถึง 35 ล้านคน หรือคิดเป็น 10-15% ของประชากรทั้งหมด และ มีกลุ่มชนชั้นกลางประมาณ 131 ล้านคน ดังนั้นอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่ที่ผู้ประกอบการไทยมองข้ามไม่ได้
สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีโอกาสจะขยายการค้าและการลงทุนไปยังอินโดฯได้อีกมาก เช่น กลุ่ม อาหารและเครื่องดื่ม, ของใช้และตกแต่งบ้าน, เครื่องนุ่งห่ม , เครื่องหนังและแฟชั่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามการลงทุนในตลาดอินโดนีเซียยังมีอุปสรรคทั้งในเรื่องของการปรับเปลี่ยนกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์และป้องกันเศรษฐกิจและธุรกิจในประเทศมากขึ้น
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก เดลินิวส์
แนะผู้ประกอบการอาหารไทยลุยร่วมทุนอินโดฯ

นายพจ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เปิดเผยในงานเสวนา “รู้อิเหนา รู้เรา เข้าใจตลาด” ว่า การไปลงทุนในธุรกิจอาหารในอินโดนีเซียจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการผลิตอาหารฮาลาล ส่งออกไปยังตลาดมุสลิมที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วโลก 2,000 ล้านคน เนื่องจากเครื่องหมายฮาลาลของอินโดนีเซียเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ต่างจากประเทศไทยและที่ผ่านมาผู้ผลิตที่ส่งออกอาหารฮาลาลไปบางตลาดไทยต้องอาศัยการรับรองจากประเทศมาเลเซียด้วย โดยเฉพาะผู้ผลิตอาหารในภาคใต้ของไทย
นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียยังมีแหล่งวัตถุดิบในการผลิตอาหารโดยเฉพาะอาหารทะล และมีค่าจ้างขั้นต่ำที่ถูก รวมถึงมีการสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่สามารถส่งออกไปในยุโรป และ สหรัฐ ในอัตราภาษีที่ต่ำกว่าไทย ขณะที่ไทยมีศักยภาพด้านการผลิตและเทคโนโลยี เมื่อร่วมทุนกันก็จะขยายตลาดในง่ายและมากขึ้นด้วย
“อินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่มีประชากร 285-300 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากจีน อินเดีย สหรัฐ แต่เป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยจะไปการลงทุนในอินโดนีเซียจำเป็นต้องมีการร่วมทุนกับนักธุรกิจในพื้นที่ก็จะลดความเสี่ยงทั้งการถูกโกงและการถูกเอาเปรียบด้วย แต่การเลือกผู้ลงทุนควรศึกษาประวัติให้ดีก่อน”
รอ.สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียเริ่มเป็นแหล่งการลงทุนของต่างชาติมากขึ้น เนื่องจากมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่สุดในอาเซียน และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยปีละ 6% หลายปีติดต่อกัน เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่และประชากรเริ่มมีกำลังซื้อที่สูง โดยคาดว่าจะมีประชากรที่มีกำลังซื้อสูงมากถึง 35 ล้านคน หรือคิดเป็น 10-15% ของประชากรทั้งหมด และ มีกลุ่มชนชั้นกลางประมาณ 131 ล้านคน ดังนั้นอินโดนีเซียเป็นตลาดใหญ่ที่ผู้ประกอบการไทยมองข้ามไม่ได้
สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีโอกาสจะขยายการค้าและการลงทุนไปยังอินโดฯได้อีกมาก เช่น กลุ่ม อาหารและเครื่องดื่ม, ของใช้และตกแต่งบ้าน, เครื่องนุ่งห่ม , เครื่องหนังและแฟชั่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามการลงทุนในตลาดอินโดนีเซียยังมีอุปสรรคทั้งในเรื่องของการปรับเปลี่ยนกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์และป้องกันเศรษฐกิจและธุรกิจในประเทศมากขึ้น
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก เดลินิวส์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
อัพเดทอาชีพเสรีอาเซียน 8 อาชีพ 7 อาชีพมาตรฐานที่ได้รับการรับรองให้สามารถไปทำงานตามประเทศต่าง ๆ aec ได้ ได้แก่ 1. แพทย์ ในอาเซียน 2558 ประตูแห่งโอกาสอย่าง อาเซียน จะเปิดกว้างให้ 10 ประเทศได้มีโอกาสค้าขายกันอย่างเสรี...by Editor Bow
-
ประเทศไทยได้เน้นกิจกรรมความร่วมมือและโครงการที่เสริมสร้างความร่วมมือในพื้นที่ประเทศในกลุ่ม BIMSTEC...by dogTech
-
นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีชั้นสูงของมาเลเซีย (ADVANCE TECHNOLOGY TRAINING...by dogTech
-
เขต การค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) AFTA การค้าเสรีอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก...by Editor Bow
เรื่องมาใหม่
คำฮิต