ลบ
แก้ไข
moe.go.th
ในปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงในอาเซียนเกิดขึ้นหลายอย่าง ทั้งการเปลี่ยนแปลงเลขาธิการอาเซียนและการหมุนเวียนชาติที่จะเป็นประธานและเจ้าบ้านในการประชุมผู้นำอาเซียนในปีนี้โดยนายเลย์ ลอง มินห์ เลขาธิการอาเซียนคนใหม่จากเวียดนาม และชาติเจ้าภาพการประชุมอย่างบรูไน อาจมีงานหนักรออยู่ข้างหน้าในการแก้ปัญหาความร่วมมือในอาเซียนในปีนี้
โดยปีที่แล้วในการประชุมผู้นำอาเซียน มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเหนือประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ที่มีการเรียกร้องสิทธิในการครอบครองพื้นที่เหนือทะเลจีนใต้กันระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนและจีน โดยบรรยากาศการประชุมอาเซียน ซัมมิทเมื่อที่แล้วนั้นเป็นไปอย่างก้าวร้าว หลังกัมพูชาแสดงท่าทีสนับสนุนจีนอย่างชัดเจน ทำให้เวียดนามและฟิลิปปินส์ไม่พอใจ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ที่มีการเผชิญหน้ากับจีนมาตลอด โดยล่าสุดเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนก็ได้มีการเผชิญหน้ากันระหว่างทหารเรือฟิลิปปินส์กับเรือของจีน
ขณะเดียวกันเมื่อปีที่แล้วสหรัฐฯก็ได้พยายามกลับเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาค โดยสหรัฐฯ ได้ตกลงสร้างความร่วมมือ "แกนเอเชีย" (Asia Pivot) กับเวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะบั่นทอนความสัมพันธ์ภายในอาเซียนได้
โดยการเข้าแทรกแทรงและความขัดแย้งกับชาติมหาอำนาจในปีที่แล้วได้หันเหความสนใจของอาเซียนไปจากประเด็นในภูมิภาคโดยเฉพาะความพยายามของอาเซียนที่จะเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมภายในปี พ.ศ. 2558
อย่างไรก็ตาม การจะให้อาเซียนกลับมามุ่งหน้าพัฒนาความร่วมมือกันอีกครั้งอาจจะเป็นการยากสักหน่อย โดยภาระที่หนังอึ้งนั้นตกไปอยู่กับ ประเทศบรูไน ที่ได้รับหน้าที่ให้เป็นประเทศเจ้าภาพและเป็นประธานในการประชุม อาเซียน ซัมมิท ประจำปีพ.ศ. 2556 โดยประชากรของบรูไนนั้นมีเพียง 4 แสนคน จากทั้งหมด 600 ล้านคนในอาเซียน และมีเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาเซียนเพียงประมาณ 30 คน
นายลิม จอค เซง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไนกล่าวว่า การได้บรูไนเป็นเจ้าภาพและประธานในการประชุมอาเซียน ซัมมิทปีนี้ อาจเป็นจุดได้เปรียบสำหรับอาเซียนก็ได้ เนื่องจากบรูไนดูจะไม่เป็นภัยคุกคามสำหรับจีน ซึ่งหากประธานในการประชุมครั้งนี้เป็นเวียดนาม หรือฟิลลิปปินส์ สถานการความขัดแย้งอาจรุนแรงมากขึ้น และแม้ว่าบรูไนจะเรียกร้องสิทธิในการครอบครองพื้นที่ในทะเลจีนใต้ด้วย แต่ก็เรียกร้องแค่ แนวประการังใต้น้ำเท่านั้น
นอกจากนี้การที่บรูไนรวยมาก ทำให้บรูไนไม่ต้องนอบน้อมกับจีน เพื่อที่จะของพึ่งพิงจีนในด้านการเงินเหมือนกับกัมพูชา (ที่สนับสนุนจีนในการประชุม ซัมมิทปีที่แล้ว) และพม่าที่อาจเป็นชาติต่อไป
โดยบรูไนเตรียมที่จะดำเนินนโยบาย "การทูตแบบปิดเงียบ" (quiet diplomacy) ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับจีน โดยนาย ลิม จอง เซค ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อหารือกับเจ้าหน้าของทางการจีน และทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยว่า ความร่วมมือระหว่าง "อาเซียน-จีน" นั้นสำคัญกว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้
โดยชาติอาเซียนพร้อมที่จะใช้"วิถีอาเซียน" ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ แต่จีนกลับนิยมการหารือแบบทวิภาคีกับประเทศคู่กรณี แต่นายลิม จอง เซค ก็ยังคาดหวังว่าจะสามารถดึงจีนให้มาร่วมหารือแบบกลุ่ม และหาข้อตกลงได้ ในการประชุมอาเซียน ซัมมิท ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งอาจกระทันหันมาก โดยเฉพาะหากนายสี จิ้นผิง ผู้นำคนใหม่ของจีนยังไม่ส่งสัญญาณว่าทางการจีนจะมีท่าทีอ่อนลงในปัญหานี้
นอกจากนี้นายเลย์ลอง มินห์ เลขาธิการอาเซียนคนใหม่จากเวียดนาม ก็ต้องทำหน้าที่ฐานะเลขาธิการอาเซียนด้วย แม้ว่าเวียดนามจะมีท่าทีระแวงจีนและพยายามกดดันนายเลย์ ลอง มินห์ให้ใช้ตำแหน่งเลขาธิการในการนำอาเซียนเผชิญหน้ากับจีน แต่ที่ผ่านมา นาย เลย์ ลอง มินห์ ก็ยังคงทำหน้าที่ได้ดี และมุ่งเน้นนำอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก
ประเทศบรูไน เจ้าภาพอาเซียน กับสถานการณ์ เหนือทะเลจีนใต้

ในปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงในอาเซียนเกิดขึ้นหลายอย่าง ทั้งการเปลี่ยนแปลงเลขาธิการอาเซียนและการหมุนเวียนชาติที่จะเป็นประธานและเจ้าบ้านในการประชุมผู้นำอาเซียนในปีนี้โดยนายเลย์ ลอง มินห์ เลขาธิการอาเซียนคนใหม่จากเวียดนาม และชาติเจ้าภาพการประชุมอย่างบรูไน อาจมีงานหนักรออยู่ข้างหน้าในการแก้ปัญหาความร่วมมือในอาเซียนในปีนี้
โดยปีที่แล้วในการประชุมผู้นำอาเซียน มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเหนือประเด็นความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ที่มีการเรียกร้องสิทธิในการครอบครองพื้นที่เหนือทะเลจีนใต้กันระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนและจีน โดยบรรยากาศการประชุมอาเซียน ซัมมิทเมื่อที่แล้วนั้นเป็นไปอย่างก้าวร้าว หลังกัมพูชาแสดงท่าทีสนับสนุนจีนอย่างชัดเจน ทำให้เวียดนามและฟิลิปปินส์ไม่พอใจ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ที่มีการเผชิญหน้ากับจีนมาตลอด โดยล่าสุดเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนก็ได้มีการเผชิญหน้ากันระหว่างทหารเรือฟิลิปปินส์กับเรือของจีน
ขณะเดียวกันเมื่อปีที่แล้วสหรัฐฯก็ได้พยายามกลับเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาค โดยสหรัฐฯ ได้ตกลงสร้างความร่วมมือ "แกนเอเชีย" (Asia Pivot) กับเวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะบั่นทอนความสัมพันธ์ภายในอาเซียนได้
โดยการเข้าแทรกแทรงและความขัดแย้งกับชาติมหาอำนาจในปีที่แล้วได้หันเหความสนใจของอาเซียนไปจากประเด็นในภูมิภาคโดยเฉพาะความพยายามของอาเซียนที่จะเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมภายในปี พ.ศ. 2558
อย่างไรก็ตาม การจะให้อาเซียนกลับมามุ่งหน้าพัฒนาความร่วมมือกันอีกครั้งอาจจะเป็นการยากสักหน่อย โดยภาระที่หนังอึ้งนั้นตกไปอยู่กับ ประเทศบรูไน ที่ได้รับหน้าที่ให้เป็นประเทศเจ้าภาพและเป็นประธานในการประชุม อาเซียน ซัมมิท ประจำปีพ.ศ. 2556 โดยประชากรของบรูไนนั้นมีเพียง 4 แสนคน จากทั้งหมด 600 ล้านคนในอาเซียน และมีเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาเซียนเพียงประมาณ 30 คน
นายลิม จอค เซง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไนกล่าวว่า การได้บรูไนเป็นเจ้าภาพและประธานในการประชุมอาเซียน ซัมมิทปีนี้ อาจเป็นจุดได้เปรียบสำหรับอาเซียนก็ได้ เนื่องจากบรูไนดูจะไม่เป็นภัยคุกคามสำหรับจีน ซึ่งหากประธานในการประชุมครั้งนี้เป็นเวียดนาม หรือฟิลลิปปินส์ สถานการความขัดแย้งอาจรุนแรงมากขึ้น และแม้ว่าบรูไนจะเรียกร้องสิทธิในการครอบครองพื้นที่ในทะเลจีนใต้ด้วย แต่ก็เรียกร้องแค่ แนวประการังใต้น้ำเท่านั้น
นอกจากนี้การที่บรูไนรวยมาก ทำให้บรูไนไม่ต้องนอบน้อมกับจีน เพื่อที่จะของพึ่งพิงจีนในด้านการเงินเหมือนกับกัมพูชา (ที่สนับสนุนจีนในการประชุม ซัมมิทปีที่แล้ว) และพม่าที่อาจเป็นชาติต่อไป
โดยบรูไนเตรียมที่จะดำเนินนโยบาย "การทูตแบบปิดเงียบ" (quiet diplomacy) ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับจีน โดยนาย ลิม จอง เซค ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อหารือกับเจ้าหน้าของทางการจีน และทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยว่า ความร่วมมือระหว่าง "อาเซียน-จีน" นั้นสำคัญกว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้
โดยชาติอาเซียนพร้อมที่จะใช้"วิถีอาเซียน" ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ แต่จีนกลับนิยมการหารือแบบทวิภาคีกับประเทศคู่กรณี แต่นายลิม จอง เซค ก็ยังคาดหวังว่าจะสามารถดึงจีนให้มาร่วมหารือแบบกลุ่ม และหาข้อตกลงได้ ในการประชุมอาเซียน ซัมมิท ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งอาจกระทันหันมาก โดยเฉพาะหากนายสี จิ้นผิง ผู้นำคนใหม่ของจีนยังไม่ส่งสัญญาณว่าทางการจีนจะมีท่าทีอ่อนลงในปัญหานี้
นอกจากนี้นายเลย์ลอง มินห์ เลขาธิการอาเซียนคนใหม่จากเวียดนาม ก็ต้องทำหน้าที่ฐานะเลขาธิการอาเซียนด้วย แม้ว่าเวียดนามจะมีท่าทีระแวงจีนและพยายามกดดันนายเลย์ ลอง มินห์ให้ใช้ตำแหน่งเลขาธิการในการนำอาเซียนเผชิญหน้ากับจีน แต่ที่ผ่านมา นาย เลย์ ลอง มินห์ ก็ยังคงทำหน้าที่ได้ดี และมุ่งเน้นนำอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ทุกหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในด้านสามเสาหลักของอาเซียนได้รับการสั่งให้จัดลำดับความสำคัญของการดำเนินงานและทำงานร่วมกันในลักษณะบูรณาการในการเรียนการสอน...by dogTech
-
ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยวิสัยทัศน์นี้ได้รับการถ่ายทอดในที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนในด้านยาเสพติดตามคำแนะนำของผู้นำอาเซียน...by dogTech
-
ภาพแฟ้มเอเอฟพีเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555 เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการการเลือกตั้งแสดงบัตรลงคะแนนเสียงระหว่างการนับคะแนนที่คูหาเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งย่างกุ้ง คณะกรรมาธิการการเลือกตั้งระบุวันนี้ (21) ว่า...by Editor
-
รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชน โดยมีข้อสั่งการหลายประการ ซึ่งล่าสุดได้สั่งการให้มีช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์สำหรับ...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต