ลบ
แก้ไข
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) คืออะไร
อาเซียนจะรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือรวมถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ กติกาที่ตกลงกัน
นักธุรกิจ ในฐานะผู้ผลิต ผู้ส่งออก-นำเข้า นักลงทุน และบุคลากรวิชาชีพ คือ
ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีความได้เปรียบของประเทศอาเซียนอื่น เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และ แรงงานในกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และเทคโนโลยีและการจัดการของสิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
เปิดเสรีอาเซียน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) คืออะไร
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้นกว่าการดำเนินงานของอาเซียนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแนวคิดของผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 เมื่อปี 2553 โดยมีเป้าหมายให้บรรลุผล ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) และต่อมาผู้นำอาเซียนได้เร่งเวลาให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 (ค.ศ.2015)
เป้าหมายของ AEC คือ
ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือโดยเสรี และ การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น
ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก
อาเซียนจะรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือรวมถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ กติกาที่ตกลงกัน
1. อัตราภาษี 0%
2. มีการอำนวยความสะดวกทางการค้า ลดขั้นตอนพิธีการศุลกากร
3. การอนุญาตให้ผู้ส่งออกรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification) จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2555 (ค.ศ. 2012)
4. ASEAN Trade Repository (แหล่งเก็บรักษาข้อมูลการค้าอาเซียน) เช่น อัตราภาษี NTBs กฎแหล่งกำเนิดสินค้า กฎระเบียบทางการค้า
5. นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการสาขาต่างๆ ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 และลดเลิกข้อจำกัด/อุปสรรคในการให้บริการทุกรูปแบบ ตามกรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS)
บรรยากาศการค้าและการลงทุนเสรีมากขึ้น จากการลด/เลิกข้อจำกัด กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทางการค้า การลงทุน โดย
(1) เปิดเสรีการลงทุน คุ้มครองการลงทุน ส่งเสริมละอำนวยความสะดวกการลงทุน ครอบคลุมธุรกิจ 5 ภาค ได้แก่ เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และภาคการผลิต รวมถึงบริการที่เกี่ยวเนื่อง ตามกรอบความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA)
(2) ปรับประสานนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา
มีเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกันหมดในภูมิภาค ช่วยลดต้นทุนทางโลจิสติกส์ในภูมิภาคอันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกที่เสมอภาคยิ่งขึ้น ช่วยลดช่องว่างระหว่างกัน ทำให้กำลังซื้อของประเทศเพื่อบ้านดีขึ้น ขยายโอกาสการส่งออกและการลงทุนของไทย
มีการเชื่อมโยงกับประเทศภายนอก โดยเฉพาะประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (+6) อาเซียนจะเป็นภูมิภาคเปิด มีการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจโดยทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค เป็นการเพิ่มโอกาสการค้าและการลงทุน
2. ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
ผลประโยชน์ของ AEC เกี่ยวข้องกับ
ประชาชน ในฐานะผู้บริโภคสินค้าและบริการ คือ
1. มีโอกาสเลือกซื้อ/ใช้บริการที่มีคุณภาพ และหลากหลายมากขึ้น ในราคาที่เป็นธรรม เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น
2. ได้รับความคุ้มครองจากการบริโภคสินค้าและบริการ จากข้อตกลงของอาเซียน
เกษตรกร ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตร คือ
1. สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เนื่องจากภาษีสินค้าเกษตรเป็น 0%
2. มีโอกาสสร้างเครือข่ายการผลิตในอาเซียน และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัย
นักธุรกิจ ในฐานะผู้ผลิต ผู้ส่งออก-นำเข้า นักลงทุน และบุคลากรวิชาชีพ คือ
1. กระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2. ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จาก Supply Chain ในอาเซียน เช่น
ใช้วัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากประเทศอาเซียนอื่นในราคาถูกลง
ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอาเซียนอื่น
ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีความได้เปรียบของประเทศอาเซียนอื่น เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และ แรงงานในกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และเทคโนโลยีและการจัดการของสิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น
3. ผู้ส่งออก-นำเข้ามีโอกาสเข้าถึงตลาดกว้างขึ้น สามารถขยายการค้าและบริการ
4. นักธุรกิจมีโอกาสสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการในประเทศอาเซียนอื่น เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มอำนาจการต่อรอง
5. นักธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและถูกลง จากความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน
6. นักลงทุนหรือบุคลากรวิชาชีพสามารถเข้าไปจัดตั้งธุรกิจหรือไปให้บริการในประเทศอาเซียนอื่นง่ายขึ้น จากการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนของอาเซียน
หากเราสามารถปรับตัวได้ก่อน เรียนรู้ที่จะใช้โอกาสจากสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ก่อน ย่อมสร้างความได้เปรียบให้กับเรา
ในทางกลับกัน หากเรายังไม่ทราบ หรือไม่รู้ และไม่พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเราอย่างหลีกหนีไม่พ้น
การเตรียมการของภาครัฐ
กระทรวงพาณิชย์ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง
การปฏิบัติตามแผนงาน และแนวทางรองรับผลกระทบ ซึ่งในส่วนนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามแผนงาน AEC ซึ่งมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 47 หน่วยงาน ร่วมอยู่ด้วย
มาตรการรองรับผลกระทบ
กองทุนช่วยเหลือการปรับโครงสร้างด้านการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรพื้นฐาน ภายใต้กระทรวงเกษตรฯ จนถึงปัจจุบันได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วประมาณ 260 ล้านบาท (ปี 2553 ไม่ได้ขอจัดสรรงบประมาณ ขณะนี้มีวงเงินเหลืออยู่ 272 ล้านบาท)
กองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและการบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ โดยสนับสนุนเรื่องการวิจัยและพัฒนาจัดหาที่ปรึกษา และปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ จนถึงปัจจุบันได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วประมาณ 164 ล้านบาท (ปี 2553 ได้รับงบประมาณ 100 ล้านบาท ขณะนี้มีวงเงินเหลือ 76 ล้านบาท)
มาตรการรองรับผลกระทบ ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น พรบ. มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC Blueprint ก่อให้เกิดผลกระทบ ก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้
การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ตามคำสัง กนศ. ที่ 1/2550 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2550) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน
3. นักธุรกิจชาวไทยต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้รับกับแนวทางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก สมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย ,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก สมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย ,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
มีรายงานว่า เมื่อวานนี้ (12 พฤศจิกายน) ที่ผ่านมา พระสงฆ์พม่าหลายร้อย รูปและประชาชนบางส่วนได้ออกมาเดินประท้วงในกรุงย่างกุ้ง เพื่อประท้วงการมาเยือนของ องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) มีรายงานว่า เมื่อวานนี้...by สิรินภา เลิศสุรวัฒน์
-
-
เปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำของสมาชิกเพื่อนบ้านอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ค่าแรงสูงที่สุด และประเทศพม่าค่าแรงต่ำสุด เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจาก...by Editor Bow
-
กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า สื่อมวลชนที่ต้องการเดินทางไปรายงานข่าวการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๒๗ (the 27thASEAN Summitand Related Summit 2015) ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต