ลบ แก้ไข

อาเซียน บรูไน

ข้อมูลทั่วไป อาเซียน บรูไน

อาเซียน บรูไน
ธงชาติ บรูไน

 
ชื่อทางการ 
 
เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
 
อาเซียน บรูไน
topicstock

ที่ตั้ง
 
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย 
 
โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้
 
พื้นที่
 
5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong และ Tutong
 
อาเซียน บรูไน
bloggang.com

เมืองหลวง
 
บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) อยู่ในเขต Brunei-Muara
 
ประชากร
 
374,577 คน (2550) เชื้อชาติมาเลย์ 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น 67,424 คน (18%)
 
อัตราการเพิ่มประชากรปีละ 3.5 % (2550)
 
ภูมิอากาศ  
 
ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 23-32 องศาเซลเซียส ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม
 
และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
 
ภาษา
 
ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ  ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย
 
ศาสนา
 
ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%) และฮินดู
 
ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.37 ดอลลาร์บรูไน/1 ดอลลาร์สหรัฐ (1)หรือ ประมาณ
 
23.98 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (2) (บรูไนมีความตกลงแลกเปลี่ยนเงินกับสิงคโปร์ทำให้เงินดอลลาร์บรูไนมีมูลค่า
 
เท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์และสามารถใช้แทนกันได้ แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ
 
23.95บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์)
 
 
GDP *18,918 ล้านดอลลาร์บรูไน (2549)  
 
GDP per capita 49,400 ดอลลาร์บรูไน (2549)
 
GDP Growthร้อยละ 3.8
 
ระบอบการปกครอง
 
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาฯ องค์ที่ 29 ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 ซึ่งในปีนี้ (2551) เป็นวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 62 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ
 
วันสำคัญ
 
วันประกาศอิสรภาพ 1 มกราคม พ.ศ.2527
 
วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระราชาธิบดีฯ 15 กรกฎาคม

การเมืองการปกครอง
- รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี 
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลังอีกด้วย ทั้งนี้ 
นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิดและจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่
- ปัจจุบันมีพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคเดียวคือ พรรค Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei 
(PPKB) ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลแต่ไม่มีบทบาทนัก โดยรัฐบาลบรูไน ฯ เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องมีพรรคการเมือง 
เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น หรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสมเด็จพระราชาธิบดีได้อยู่แล้ว                            
- ในปี 2547 มีการเคลื่อนไหวที่สำคัญเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศให้ฟื้นฟูสภานิติบัญญัติขึ้นอีกครั้ง 
นำไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างประชาธิปไตยของบรูไนฯซึ่งพัฒนาการดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดีจากต่างประเทศ นักวิชาการ รวมทั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ยังเคลื่อนไหวอยู่
- ในปี 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศปรับคณะรัฐมนตรีครั้งสำคัญในรอบ 22 ปี โดยทรงแต่งตั้งมกุฎราชกุมารอัล มูห์ทาดี บิลลาห์ ให้ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวทางการสืบทอดอำนาจ ในการบริหารประเทศในอนาคต นอกจากนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีโดยได้เปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่มีความชำนาญและผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก สะท้อนให้เห็นว่าสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงให้ความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคพลังงาน รวมทั้งการพัฒนาประเทศให้เป็นมุสลิมสายกลางมากขึ้น เพื่อให้บรูไน ฯ มีความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ
 
- ปัจจุบันรัฐบาลของประเทศบรูไนประกอบได้ด้วย 12 กระทรวง คือ
- สำนักนายกรัฐมนตรี
 
- กระทรวงกลาโหม
 
 
- กระทรวงการต่างประเทศ
 
- กระทรวงมหาดไทย
 
 
- กระทรวงอุตสาหกรรม
 
- กระทรวงศาสนา
 
- กระทรวงการพัฒนา
 
 
 
- กระทรวงคมนาคม
 
 
เศรษฐกิจ
- บรูไน ฯ เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย 
และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG อันดับสี่ของโลก จึงมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 
คิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อออสเตรเลีย จีน อินเดีย สิงคโปร์ ไทย และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร และเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าจากสิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
- นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน บรูไนฯ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก อาทิ อุตสาหกรรมฮาลาล โดยรัฐบาลได้เปิดตัวโครงการBrunei Premium Halal Brand ขึ้น ภายใต้ความร่วมมือกับภาคเอกชนออสเตรเลีย เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและอาหารฮาลาลบรูไนฯ สู่ตลาดสากล นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมีจุดขายอยู่ที่การเป็นประเทศที่มีความสงบและปลอดภัย และมีนโยบายจะพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และการรักษาพยาบาล
- แผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 9 รัฐบาลจะเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งปัจจุบันบรูไนฯ สามารถสร้างโรงงานผลิตเมทานอล ขึ้นที่เขตอุตสาหกรรม Sungai Liang นอกจากนี้รัฐบาลพยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนภายในประเทศ ในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน     
- ปัจจุบัน บรูไน ฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น มีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ  อย่างไรก็ดี การพัฒนายังเป็นไปย่างล่าช้า เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ อาทิ 
กฎระเบียบที่เคร่งครัดต่าง ๆการห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ การขาดช่างฝีมือ ประกอบกับคนบรูไนฯ 
ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบใหม่และระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างชาติ
 
สังคม 
 
- บรูไนฯ จัดระเบียบสังคมตามข้อบัญญัติของศาสนามุสลิมและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด               
 
- บรูไนฯ มีระบบรัฐสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐให้หลักประกันด้านการศึกษา การเคหะและการรักษาพยาบาล และไม่มีการเก็บภาษีเงินได้ ทำให้บรูไนฯ ไม่มีปัญหาทางการเมือง อย่างไรก็ดี ปัญหาสังคมที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ปัญหาการว่างงาน (ณ เดือนพฤษภาคม 2550 มีสถิติการว่างงาน 5,814 คน) ซึ่งรัฐบาลพยายามโน้มน้าวให้ประชาชนทำงานในภาคเอกชนมากขึ้น แทนที่จะรองานราชการเพียงอย่างเดียวเช่นในอดีต                                                                                                   
 


เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก ASEANKAN1 ,บ้านจอมยุทธ
 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor Bow
ชม 119,322 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ