ลบ แก้ไข

ความพร้อมไทยติดลบรับประชาคมอาเซียน

ความพร้อมไทยติดลบรับประช

แรงบีบของการเปิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ทำให้รัฐบาลและหน่วยราชการไทยต้องตื่นตัวในการวาง “พิมพ์เขียว” เพื่อตั้งรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานทั้งหมดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการรายงานทั้งในแง่บวกและแง่ลบ จึงมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ฯ เป็นแกนนำในการประสานแผนแม่บทที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม หลังการประชุมเวิร์กชอปครั้งดังกล่าว เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุม ถึงแนวทางในการทำงานของกระทรวงต่างๆ ที่ยังไม่ชัดเจน และยังไม่เห็นอนาคตว่าประเทศไทยจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้จริงหรือ ไม่

ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ได้รายงานมติของการประชุมไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระบุว่า มีการจำแนกภารกิจเป็น 3 เสาหลัก หรือ 3 แนวทาง แยกเป็น ประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ประชาคมการเมืองและความมั่นคง

โดยในด้านประชาคมเศรษฐกิจนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดทำโครงสร้างความต้องการ บุคลากรให้ชัดเจน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถวางแผนกำลังการผลิตคนได้ตรงกับความต้องการ

ความพร้อมไทยติดลบรับประช
 

พร้อมสั่งการให้กระทรวงการคลังเร่งรัดงานด้านศุลกากร ในการตรวจปล่อยสินค้าทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า อีกทั้งควรหารือกับประเทศจีนเพื่อให้มีการทำงานแบบคู่ขนานในการก่อสร้างเส้น ทางรถไฟจากจีน และการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ที่สามารถบรรทุกสินค้าน้ำหนักเบาของไทย เพื่อให้การเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งเสร็จสมบูรณ์ และสามารถใช้งานได้พร้อมกัน

ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรจัดทำรายชื่อสินค้าเกษตรที่มีการนำเข้าจากประเทศอาเซียน เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ (รีเอ็กซ์ปอร์ต) และการกำหนดแบบฟอร์มเอกสารต่างๆ เพื่อความรวดเร็ว ซึ่งจะรักษาความสดของสินค้าเกษตรไว้ได้ และลดต้นทุนการบริการด้านการขนส่งสินค้า

ในด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมนั้น มีการวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงลบว่า จะมีแรงงานนอกระบบจำนวนมากขึ้น จึงต้องเตรียมระบบการคุ้มครองทางสังคมให้แรงงานเหล่านี้รวมถึงครอบครัวและ บุตรด้วย

ขณะที่แรงงานไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ภาษาอังกฤษ ขาดโอกาสในการศึกษาต่อและการเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับ สตรี เด็ก เยาวชน และผู้พิการบางกลุ่ม ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการของรัฐ และขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขมีความกังวลว่า การเคลื่อนย้ายแรงงานและสินค้าอย่างเสรีในอาเซียน จะนำไปสู่การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อต่างๆ จึงควรมีกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานและแนวทางเดียวกัน ในการควบคุมและป้องกันโรค

ส่วนการบริการทางการแพทย์จะรับภาระหนักมากขึ้น มีการประเมินว่าในปี 2558 จะมีผู้มารับบริการสาธารณสุขจากโรงพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้นมากรวมถึงกว่า 2 ล้านคน

ทั้งนี้ หากมีการผลิตบุคลากรที่เพียงพอ จะทำให้ประเทศไทยมีรายได้ในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ถึง 1 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขนำเสนอรัฐบาล พบว่า จำเป็นต้องมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุขรวมกันทั้งสิ้นกว่า 29,000 คน เป็นการด่วน

โดยเฉพาะวิชาชีพแพทย์นั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ต้องเพิ่มเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนอีกถึง 1,200 คน จากปัจจุบันที่ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรแพทย์อยู่แล้ว 10,719 คน ดังนั้น หากรัฐบาลไม่มีการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหานี้ จะทำให้อีก 2 ปีข้างหน้าจะมีปัญหาการขาดแคลนแพทย์ถึง 11,974 คน และขาดแคลนทันตแพทย์อีก 3,267 คน

ขณะที่วิชาชีพพยาบาล ต้องเพิ่มเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน 5,454 คน จากปัจจุบันที่ขาดแคลนอยู่แล้วถึง 16,030 คน เท่ากับว่าจะขาดแคลนรวมกันถึง 21,628 คน
 

ทั้งนี้ ทางออกที่มีการเสนอก็คือ การให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นสถาบันการผลิต รวมทั้งรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีอยู่แล้วไม่ให้มีปัญหาสมองไหล ด้วยการเพิ่มค่าตอบแทนและตำแหน่งที่เหมาะสม โดยหลังจากนี้จะต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐ เอกชน สภาวิชาชีพ มาพิจารณาแก้ปัญหาร่วมกัน

ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วย 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม ได้รายงานผลกระทบเชิงลบที่สำคัญของการเกิดประชาคมอาเซียน ระบุว่า อาจเกิดปัญหาความมั่นคงและภัยรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติดข้ามชาติ และการค้ามนุษย์

การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาจเกิดผลกระทบต่อความสงบสุขและความมั่นคงภายใน ประเทศ ปัญหาจากกลุ่มก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ที่แสวงหาประโยชน์จากการเปิดและเคลื่อนย้ายเสรี ทำให้การป้องกันและปราบปรามยุ่งยากซับซ้อนขึ้น

ประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งพิจารณาก็คือ การสนับสนุนแนวคิดในการจัดตั้ง “กองกำลังอาเซียน” ให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยเตรียมพร้อมทั้งกำลังพล งบประมาณ และการบริหารจัดการ การเพิ่มสมรรถนะในการบริหารจัดการพื้นที่ ส่งเสริมความเข้าใจและการยอมรับในระบอบการเมืองการปกครองในประชาคมอาเซียน สร้างความร่วมมือด้านการทหาร โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดน

ความพร้อมไทยติดลบรับประช
 

21 สิงหาคม 2012

แรงบีบของการเปิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ทำให้รัฐบาลและหน่วยราชการไทยต้องตื่นตัวในการวาง “พิมพ์เขียว” เพื่อตั้งรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานทั้งหมดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการรายงานทั้งในแง่บวกและแง่ลบ จึงมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ฯ เป็นแกนนำในการประสานแผนแม่บทที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม หลังการประชุมเวิร์กชอปครั้งดังกล่าว เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุม ถึงแนวทางในการทำงานของกระทรวงต่างๆ ที่ยังไม่ชัดเจน และยังไม่เห็นอนาคตว่าประเทศไทยจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้จริงหรือ ไม่

ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ได้รายงานมติของการประชุมไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระบุว่า มีการจำแนกภารกิจเป็น 3 เสาหลัก หรือ 3 แนวทาง แยกเป็น ประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ประชาคมการเมืองและความมั่นคง

โดยในด้านประชาคมเศรษฐกิจนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดทำโครงสร้างความต้องการ บุคลากรให้ชัดเจน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถวางแผนกำลังการผลิตคนได้ตรงกับความต้องการ

พร้อมสั่งการให้กระทรวงการคลังเร่งรัดงานด้านศุลกากร ในการตรวจปล่อยสินค้าทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า อีกทั้งควรหารือกับประเทศจีนเพื่อให้มีการทำงานแบบคู่ขนานในการก่อสร้างเส้น ทางรถไฟจากจีน และการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ที่สามารถบรรทุกสินค้าน้ำหนักเบาของไทย เพื่อให้การเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งเสร็จสมบูรณ์ และสามารถใช้งานได้พร้อมกัน

ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรจัดทำรายชื่อสินค้าเกษตรที่มีการนำเข้าจากประเทศอาเซียน เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ (รีเอ็กซ์ปอร์ต) และการกำหนดแบบฟอร์มเอกสารต่างๆ เพื่อความรวดเร็ว ซึ่งจะรักษาความสดของสินค้าเกษตรไว้ได้ และลดต้นทุนการบริการด้านการขนส่งสินค้า

ในด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมนั้น มีการวิเคราะห์ผลกระทบในเชิงลบว่า จะมีแรงงานนอกระบบจำนวนมากขึ้น จึงต้องเตรียมระบบการคุ้มครองทางสังคมให้แรงงานเหล่านี้รวมถึงครอบครัวและ บุตรด้วย

ขณะที่แรงงานไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ภาษาอังกฤษ ขาดโอกาสในการศึกษาต่อและการเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับ สตรี เด็ก เยาวชน และผู้พิการบางกลุ่ม ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการของรัฐ และขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขมีความกังวลว่า การเคลื่อนย้ายแรงงานและสินค้าอย่างเสรีในอาเซียน จะนำไปสู่การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อต่างๆ จึงควรมีกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานและแนวทางเดียวกัน ในการควบคุมและป้องกันโรค

ส่วนการบริการทางการแพทย์จะรับภาระหนักมากขึ้น มีการประเมินว่าในปี 2558 จะมีผู้มารับบริการสาธารณสุขจากโรงพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้นมากรวมถึงกว่า 2 ล้านคน

ทั้งนี้ หากมีการผลิตบุคลากรที่เพียงพอ จะทำให้ประเทศไทยมีรายได้ในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ถึง 1 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขนำเสนอรัฐบาล พบว่า จำเป็นต้องมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุขรวมกันทั้งสิ้นกว่า 29,000 คน เป็นการด่วน

โดยเฉพาะวิชาชีพแพทย์นั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ต้องเพิ่มเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนอีกถึง 1,200 คน จากปัจจุบันที่ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรแพทย์อยู่แล้ว 10,719 คน ดังนั้น หากรัฐบาลไม่มีการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหานี้ จะทำให้อีก 2 ปีข้างหน้าจะมีปัญหาการขาดแคลนแพทย์ถึง 11,974 คน และขาดแคลนทันตแพทย์อีก 3,267 คน

ขณะที่วิชาชีพพยาบาล ต้องเพิ่มเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน 5,454 คน จากปัจจุบันที่ขาดแคลนอยู่แล้วถึง 16,030 คน เท่ากับว่าจะขาดแคลนรวมกันถึง 21,628 คน

ทั้งนี้ ทางออกที่มีการเสนอก็คือ การให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นสถาบันการผลิต รวมทั้งรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีอยู่แล้วไม่ให้มีปัญหาสมองไหล ด้วยการเพิ่มค่าตอบแทนและตำแหน่งที่เหมาะสม โดยหลังจากนี้จะต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐ เอกชน สภาวิชาชีพ มาพิจารณาแก้ปัญหาร่วมกัน

ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วย 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม ได้รายงานผลกระทบเชิงลบที่สำคัญของการเกิดประชาคมอาเซียน ระบุว่า อาจเกิดปัญหาความมั่นคงและภัยรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติดข้ามชาติ และการค้ามนุษย์

การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาจเกิดผลกระทบต่อความสงบสุขและความมั่นคงภายใน ประเทศ ปัญหาจากกลุ่มก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ที่แสวงหาประโยชน์จากการเปิดและเคลื่อนย้ายเสรี ทำให้การป้องกันและปราบปรามยุ่งยากซับซ้อนขึ้น

ประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งพิจารณาก็คือ การสนับสนุนแนวคิดในการจัดตั้ง “กองกำลังอาเซียน” ให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยเตรียมพร้อมทั้งกำลังพล งบประมาณ และการบริหารจัดการ การเพิ่มสมรรถนะในการบริหารจัดการพื้นที่ ส่งเสริมความเข้าใจและการยอมรับในระบอบการเมืองการปกครองในประชาคมอาเซียน สร้างความร่วมมือด้านการทหาร โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดน

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็นเจ้าภาพในการวางแผนงานด้านเศรษฐกิจ ส่วนนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดูแลด้านสังคมและวัฒนธรรม ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม และนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ดูแลด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน

นอกจากนั้น ยังมอบให้ รมว.แรงงาน, รมว.ศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยวางแผนกำลังคนของทั้งระบบ ครอบคลุมทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ และภาคการผลิตและบริการ ทั้งในส่วนของจำนวน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และทักษะด้านภาษา

ความพร้อมไทยติดลบรับประช
 

นพ.วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เปิดเผยว่า ในปี 2558 อาจเกิดความเปลี่ยนแปลงต่อระบบการให้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านบุคลากรทางการแพทย์ ที่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากจะมีผู้ใช้บริการจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก รวมถึงการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจการแพทย์ในอนาคต

ทั้งนี้ ธุรกิจบริการทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนมี 4 ด้าน ได้แก่ 1. การบริการทางไกล เช่น การให้คำปรึกษาผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Tele-consultant), การรับส่งภาพเอ็กซเรย์ทางไกล (Tele-radiogist), การใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดคนไข้ (Robotic Surgery or Practice)

2. การรับบริการข้ามพรมแดน เช่น การที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางให้บริการสุขภาพ (Medical Hub) แก่นักท่องเที่ยว หรือการผ่าตัดแปลงเพศ 3. การข้ามชาติไปลงทุนบริการในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ธุรกิจโรงพยาบาล, บริการทางสุขภาพ และอุตสาหกรรมยา 4. การเคลื่อนย้ายแรงงานด้านสุขภาพ เช่น แพทย์เฉพาะด้าน พยาบาล นักเทคนิคฯ เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุขควรใช้โอกาสนี้ในการวางแผนด้านอัตรากำลังคนและเทคโนโลยี เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่จะเกิดขึ้นยาวอีก 10-20 ปีข้างหน้า ไม่ใช่คิดแค่เรื่องการเข้ามาแข่งขันของอาเซียนเพียงอย่างเดียว เพราะจะสร้างข้อจำกัดที่สูง แต่ควรมองว่าประชาคมอาเซียนเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาตัวเอง

นพ.วิพุธกล่าวว่า การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียน ยังจะทำให้กระบวนการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพหรือ HIA มีความสำคัญมาก ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน แต่ในส่วนของประเทศไทยก็ต้องชี้แจงกับเพื่อนบ้านด้วยว่า กลไกการชี้ขาดมีหลายส่วน ไม่ใช่รัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีภาคประชาชน รวมถึงศาลปกครอง ในการพิจารณาตัดสินอีกด้วย

ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) มองว่า การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงใหม่ๆ เช่น การเปิดเสรีด้านการขนส่งสินค้าข้ามแดน จะทำให้รถบรรทุกที่ขนสารเคมีจากประเทศเพื่อนบ้านนำสารเคมีเหล่านี้มาทิ้งใน ประเทศไทย เหมือนที่ในสหรัฐเคยเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “มิดไนท์รัน” ที่รถบรรทุกสารเคมีไปทิ้งกลางทาง กว่ารัฐบาลจะรู้ว่าในขยะนั้นมีอะไรก็ต้องใช้เวลาถึง 4-5 ปี

ความพร้อมไทยติดลบรับประช
 

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าขณะนี้อาเซียนได้รับความสนใจจากประเทศตะวันตก รวมถึงยักษ์ใหญ่อย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี จะเห็นได้ว่าอาเซียนมีคู่เจรจาทั้งอาเซียนบวกสาม และอาเซียน-สหรัฐ หลังจากนี้ก็ยังมีหลายประเทศ ที่ขอเข้าร่วมเจรจาอีก ล่าสุด อาเซียนจะขยายสมาชิกเพิ่มอีก 2 ประเทศ คือ ติมอร์ตะวันออกและปาปัวนิวกินี ยิ่งทำให้ศักยภาพของอาเซียนมีการเติบโต ซึ่งประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเงินทุนต่างชาติที่จะไหลเข้ามาลงทุน มากขึ้น

ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สภาพัฒน์ฯ กล่าวว่า หลังจากเกิดประชาคมอาเซียน จะมีการลงทุนขนาดใหญ่เข้ามาอีกมาก เพราะจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงระหว่างประเทศ เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายในประเทศพม่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงการส่งออกสินค้ากับที่ท่าเรือแหลมฉบัง ดังนั้น โอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนตามแนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวเหนือ-ใต้ของอาเซียนยังมีมาก

ในส่วนของประเทศไทยนั้นควรเตรียมกลไกรองรับการเปิดเสรีการลงทุนที่จะเข้า มามากขึ้น โดยเฉพาะระบบการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และ การประเมินด้านสุขภาพ (HIA) จะต้องมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงภาคประชาชนจะต้องมีความเข้มแข็งและอาจร่วมมือกับเป็นเครือข่ายในระดับ ภูมิภาค


เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก thaipublica

 

 

 

 

 

Editor Bow
ชม 4,725 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • ประโยชน์ที่จะได้รับหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 www.k-tcc.co.th ประโยชน์อาเซียน ลดความขัดแย้งและเพิ่มความเชื่อมั่นระหว่างสมาชิก 1...
    by Editor Bow
  • พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงข้อห่วงใยเกี่ยวกับอัตราการว่างงานที่มีการกล่าวอ้างถึงการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่ารัฐบาลนี้กำลังทำงานภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว...
    by dogTech
  • trueplookpanya.com ปัญหาอาเซียนและอุปสรรคที่สำคัญของประชาคมอาเซียน 1. ประเทศสมาชิกอาเซียน มีสภาพภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน จึงมีสินค้าเกษตรหรือแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน บางครั้งจึงมีการแย่งตลาดกันเอง...
    by Editor Bow
  • ท่องเที่ยว ประเทศบรูไนดารุสซาลาม pantip.com เมืองบินบันดาร์ เสรี เบกาวัน เมืองบินบันดาร์ เสรี เบกาวัน เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนอยู่ในเขตการปกครองบรูไน-เมารา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า...
    by Editor Bow

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean