ลบ แก้ไข

เศรษฐกิจประเทศอาเซียน

เศรษฐกิจประเทศอาเซียน
เศรษฐกิจประเทศอาเซียน

ปี 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมถึงประเทศไทย จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการและการลงทุน ดังนั้น แต่ละประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เออีซี รวมทั้งปกป้องตนเองให้สามารถดำรงสถานะที่ได้ประโยชน์และไม่เสียเปรียบประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเรื่องมาตรฐานสินค้าพืช เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทย
 
นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ทุกประเทศสมาชิกจะต้องใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าพืช และเป็นหน่วยงานดูแลพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง 6 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.กักกันพืช พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ร.บ.พันธุ์พืช และพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช จำเป็นจะต้องมีการทบทวนกฎหมายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของอาเซียน แต่ที่สำคัญคือต้องทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด
 
โดยขณะนี้ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม และการกักกันพืช ตลอดจนศึกษา วิจัย วิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำมาวิเคราะห์กับกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ทั้งที่เป็นประโยชน์และที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย เพื่อทบทวน แก้ไข พระราชบัญญัติต่าง ๆ ให้สามารถปกป้องผลประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกร และภาคการเกษตรของไทยไม่ให้เสียเปรียบประเทศอื่น ๆ
 
นอกจากด้านกฎหมายแล้ว กรมฯ  ยังมีการเตรียมความพร้อมในด้านงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชที่มีต้นทุนต่ำ เพิ่มผลผลิต และมีคุณภาพ รวมทั้งวางแผนการผลิต โดยเน้นการผลิตพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันระหว่างอาเซียน มีการวิเคราะห์ผลกระทบรายสินค้าทั้งเชิงบวกและลบของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน การกำหนดค่าสารพิษตกค้างสูงสุดในผลผลิตที่ยอมรับได้ หรือเอ็มอาร์แอลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งมาตรฐานที่อาเซียนกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกัน ควบคู่กับการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกที่สูงกว่าการนำเข้าโดยคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นต้น
สุดท้ายอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้ข้อ
 
คิดว่า…การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกคนจะต้องปรับตัวในการเรียนรู้และพัฒนาจุดด้อย เพิ่มประสิทธิภาพจุดเด่นให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งเกษตรกรมีศักยภาพอยู่แล้ว อีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตต่าง ๆ ของเราก็มีอยู่มากมาย ถ้าสามารถร่วมมือกันสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด เราจะได้การยอมรับจากผู้ประกอบการมากขึ้น นอกจากนี้เรายังมีแหล่งวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่าการนำเข้าจากนอกกลุ่มอาเซียน ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ดังนั้นการขายสินค้าเราจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศ 60 ล้านคน ขยายเป็นประชากรในภูมิภาคอาเซียน 600 ล้านคน รวมไปถึงตลาดนอกอาเซียนที่ประเทศไทยส่งออกอีกจำนวนมาก.

เดินหน้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 21พค55 


เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก เดลินิวส์ ,youtube
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor Bow
ชม 21,380 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ