ลบ แก้ไข

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ประตูการค้าอาเซียน

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ประต


สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก เป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แล้ว 3 แห่ง คือ

       สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก เชื่อมต่อเทศบาลหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เปิดใช้เมื่อปี 2537 
       สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก เริ่มจากพม่า ไทย ลาว และสิ้นสุดที่เวียดนาม เปิดใช้เมื่อปี 2550
       สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน) เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างไทย ลาว เวียดนามและภาคใต้ของจีน เปิดใช้เมื่อปี 2554


สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ประต

สะพานแห่งนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อคนนครพนมเพราะที่ผ่านมาจังหวัดเราเหมือนอยู่ก้นซอยด้วยความห่างไกลจากกรุงเทพฯ ทำให้คนที่มาเที่ยวส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่ทางผ่าน แต่เมื่อเปิดสะพานจะมีการเดินทางที่สะดวกมากขึ้น โดยนักท่องเที่ยวสามารถข้ามไปเที่ยวลาวแล้วกลับมานอนที่นครพนมได้ หรือจะไปเที่ยวจังหวัดใกล้เคียงแล้วมานอนนครพนม แล้ววันต่อไปค่อยข้ามแดนไปเที่ยวก็ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในตัว 

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อเปิดการเดินทางที่สะดวกเกรงว่านักท่องเที่ยวไทยจะไปเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านกันหมด ทางจังหวัดเลยรวมเป็น กลุ่มจังหวัดสนุก ประกอบด้วย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร เพื่อวางแผนการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดใกล้เคียงให้มีแนวทางสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยนอกจากจะดึงดูดนักท่องเที่ยวไทยแล้วยังพยายามดึงนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านให้มาเยี่ยมชมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเวียดนามที่ไทยมีความสัมพันธ์แนบแน่นและมีแหล่งท่องเที่ยวหลายที่ซึ่งท่านโฮจิมินห์เคยมาพักอาศัย

“ถ้าใครมีเวลาน้อยแต่ชอบเยี่ยมชมด้านประวัติศาสตร์สามารถมาเที่ยวชมวัฒนธรรมของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ และอาณาจักรศรีโคตรบองในอดีตได้จากฝั่งไทยและฝั่งลาว โดยจะได้ความรู้ต่าง ๆ มากมาย”

ขณะเดียวกันด้านการค้าตอนนี้ที่นครพนมมีการเตรียมพร้อมเพื่อสร้างห้องเย็นแช่แข็งปลาและอาหารทะเล เพราะสามารถส่งออกอาหารทะเลไปขายยังประเทศเพื่อนบ้านได้ ถือเป็นอีกการลงทุนที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันสามารถให้ประเทศเพื่อนบ้านเช่าห้องเย็นเพื่อเตรียมส่งออกไปยังประเทศปลายทางได้อีกด้วย

สำหรับผู้ประกอบการโรงแรมที่นครพนมตอนนี้มีประมาณ 68 แห่ง มีห้องพัก 1,500 ห้อง ซึ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลต่าง ๆ โรงแรมอาจไม่พอ หลังจากเปิดสะพานคาดว่าจะมีนักลงทุนเข้ามาสร้างโรงแรมอีกมาก แต่จริง ๆ แล้วคนท้องถิ่นเองก็มีศักยภาพซึ่งการลงทุนด้านโรงแรมอาจจะต้องใช้งบประมาณสูง แต่สามารถนำวิถีพื้นบ้านมาเป็นสไตล์การตกแต่งโรงแรมเพื่อสร้างความแตกต่างได้ 

จากการคาดการณ์หลังจากเปิดสะพานแห่งนี้ไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการค้าขายและท่องเที่ยวมากพอสมควร ซึ่งผู้ประกอบการท้องถิ่นเองก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องเร่งสร้างมาตรฐานเพื่อให้นักท่องเที่ยวประทับใจและกลับมาเที่ยวจังหวัดของเราอีกครั้ง

สะพานมิตรภาพ ไทย–ลาว แห่งที่ 3 จะเป็นอีกเส้นทางสำคัญของการพัฒนาชาติอาเซียน และสร้างความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในอนาคตต่อไป.



เรียบเรียงโดย editor bow
ข้อมูลอ้างอิง เดลินิวส์ ,
nwvoc ,google
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor Bow
ชม 15,311 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • การศึกษา ของบรูไน ดารุสซาลาม dailynews.co.th กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของบรูไนใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 : 2 ดังนี้ - ประถมศึกษา 5 ปี (อนุบาล 1 ปี และประถม 4 ปี) - มัธยมศึกษาตอนต้น...
    by Editor Bow
  • กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ที่แจ้งว่า ชาวสิงคโปร์กำลังท้าทายการห้ามสูบบูหรี่ไฟฟ้าแม้มีการปรับเงินผู้ค้าและผู้ซื้ออย่างหนักก็ตาม ซึ่งทางการยึดบุหรี่ไฟฟ้าได้5,356 ชิ้นเมื่อปีที่แล้วหรือเพิ่มขึ้นเกือบ...
    by Editor Bow
  • การวางแผนเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติเป็นประเด็นน่าสนใจหลักของการอภิปรายในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนในบรูไน ประชุมอาชญากรรมข้ามชาติ...
    by dogTech
  • สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) คาดการณ์ว่า ปี 2558 จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับการส่งออกข้าวของประเทศเมื่อต้องเผชิญการแข่งขันอย่างดุเดือดจากคู่แข่งไทย กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD)...
    by Editor

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean