ลบ
แก้ไข

ลาวได้ประกาศจัดตั้งแขวง (จังหวัด) เพิ่มอีก 1 แขวง เปลี่ยนชื่อเมืองเอกของแขวงใหม่ตามพระนามของบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่งและแต่ง ตั้งเจ้าแขวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่ในวันสิ้นปี 2556 ที่เพิ่งจะผ่านมา นายสมบัด เยียลีเฮอ อดีตเจ้าครองนครเวียงจันทน์ซึ่งหลายปีมานี้มีตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะ กรรมการแห่งชาติเพื่อลดความยากจนที่มีความคุ้นเคยกับอาณาบริเวณดังกล่าวเป็น อย่างดีได้เข้าทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแขวงยากจนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
สภาแห่งชาติลาวได้ลงมติในเดือน ธ.ค.2556 รับรองกฎหมายฉบับหนึ่งเพื่อจัดตั้งแขวงใหม่ การจัดตั้งอย่างเป็นทางการมีขึ้นในวันที่ 31 เดือนเดียวกัน นายทองสิงทำมะวง นายกรัฐมนตรี รวมทั้งบรรดา "วีรชนแห่งชาติ" ในแขวงดังกล่าว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่นๆ ได้เดินทางเข้าร่วมในพิธีการที่เมืองไซสมบูนด้วยสื่อของทางการรายงาน
แขวงที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีประชากรกว่า 81,800 คนพื้นที่ราว 8,500 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วย 5 เมือง (อำเภอ) ที่แยกจากแขวงเวียงจันทน์กับแขวงเซียงขวางคือเมืองห่ม เมืองท่าทูม เมืองล่องสานกับล่องแจ้งซึ่งเป็นถิ่นเก่าของกองทัพชาวม้งของนายพลวังเปาที่ จัดตั้งโดยองค์การสืบราชการลับสหรัฐในครั้งสงคราม
ในโอกาสเดียวกันนี้ได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อ "เมืองไซสมบูน" เป็น "เมืองอนุวง" ตามพระนามอดีตบรมกษัตริย์ซึ่งเมื่อเกือบ 200 ปีก่อนทรงพยายามประกาศเอกราชให้ราชอาณาจักรลาวพ้นจากการเป็นประเทศราชของราช อาณาจักรสยาม นักประวัติศาสตร์ไทยเรียกขานพระนามบรมกษัตริย์ของชาวลาวพระองค์นี้ว่า "พระเจ้าอนุวงเวียงจันทน์"

แขวงไซสมบูนได้กลายเป็นแขวงที่ 18 ของประเทศรวมทั้งเมืองหลวงด้วย มีพื้นทิศใต้ติดกับนครเวียงจันทน์ ทิศเหนือติดแขวงเซียงขวาง ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกถูกขนาบด้วยแขวงบอลิคำไซกับแขวงเวียงจันทน์ตาม ลำดับ
ระหว่างปราศรัยในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่นายสมบัดชื่นชมผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมท้องถิ่นทุระกันดารแห่งนี้
ในปัจจุบันแขวงไซสมบูนมีประชาชนราว 7,800 ครอบครัว ในนั้นเหลืออยู่ราว 18.34% ที่ถูกจัดในกลุ่มที่ยังมีชีวิตอยู่ "ต่ำกว่าขีดความยากจน" และมี 4,200 ครอบครัวที่พ้นจากขีดความยากจนดังกล่าวในช่วงหลายปีมานี้ซึ่งคิดเป็นอัตรา ส่วนลดลง 5.34% สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน
ในครั้งหนึ่งไซสมบูนเคยเป็นดินแดนทีมีปัญหาเรื่องชนชาติส่วนน้อยมาก ที่สุดและถูกทางการจัดตั้งขึ้นเป็น "เขตปกครองพิเศษ" ในปี พ.ศ.2537 ส่งผู้ที่มีความชำนาญเข้าบริหารจัดการรวมทั้งบุคคลจากกองทัพด้วย หัวหน้าเขตพิเศษไซสมบูนคนสุดท้ายคือ พล.ต.สมเพ็ด ทิบมาลา (ยศพลจัตวาในขณะนั้น) อดีตรองหัวหน้ากรมใหญ่เสนาธิการกองทัพประชาชน
ทางการได้ยุบเขตปกครองพิเศษแห่งนี้ในต้นปี 2549 เมืองต่างๆ ถูกโอนไปสังกัดอำนาจการปกครองของแขวงเวียงจันทน์กับแขวงเซียงขวาง พล.จ.สมเพ็ดถูกโยกย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ชั่วคราวในแขวงเวียงจันทน์ก่อนจะถูก โยกกลับเมืองหลวงรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนที่ 1 จนกระทั่งถึงแก่กรรมในเดือน เม.ย.2553
หลายปีมารนี้ทางการได้เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ตัดเส้นทางคมนาคมเข้าพื้นที่ นำไฟฟ้าสร้างระบบไฟฟ้าและประปา โรงเรียน โรงพยาบาลและบริการที่จำเป็นต่างๆ เปลี่ยนดินแดนลี้ลับให้สว่างไสว สังคมสงบและสร้างงานขึ้นในท้องถิ่น
เมื่อปีที่แล้วลาวได้ประกาศส่งเสริมการลงทุนในเขตรอยต่อระหว่างแขวง เวียงจันทน์กับแขวงเซียงขวางซึ่งมีศักยภาพสูงทั้งในด้านเศรษฐกิจการเกษตรและ การท่องเที่ยว รวมทั้งประกาศแผนการพัฒนายกระดับสนามบินล่องแจ้งขึ้นเป็นสนามบินพาณิชย์แห่ง ใหม่อีกด้วย.
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก
ลาวตั้ง "เมืองอนุวง" เฉลิมพระเกียรติบรมกษัตริย์ ตั้งจังหวัดใหม่อีก 1 จังหวัด

ลาวได้ประกาศจัดตั้งแขวง (จังหวัด) เพิ่มอีก 1 แขวง เปลี่ยนชื่อเมืองเอกของแขวงใหม่ตามพระนามของบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่งและแต่ง ตั้งเจ้าแขวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่ในวันสิ้นปี 2556 ที่เพิ่งจะผ่านมา นายสมบัด เยียลีเฮอ อดีตเจ้าครองนครเวียงจันทน์ซึ่งหลายปีมานี้มีตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะ กรรมการแห่งชาติเพื่อลดความยากจนที่มีความคุ้นเคยกับอาณาบริเวณดังกล่าวเป็น อย่างดีได้เข้าทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแขวงยากจนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
สภาแห่งชาติลาวได้ลงมติในเดือน ธ.ค.2556 รับรองกฎหมายฉบับหนึ่งเพื่อจัดตั้งแขวงใหม่ การจัดตั้งอย่างเป็นทางการมีขึ้นในวันที่ 31 เดือนเดียวกัน นายทองสิงทำมะวง นายกรัฐมนตรี รวมทั้งบรรดา "วีรชนแห่งชาติ" ในแขวงดังกล่าว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่นๆ ได้เดินทางเข้าร่วมในพิธีการที่เมืองไซสมบูนด้วยสื่อของทางการรายงาน
แขวงที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีประชากรกว่า 81,800 คนพื้นที่ราว 8,500 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วย 5 เมือง (อำเภอ) ที่แยกจากแขวงเวียงจันทน์กับแขวงเซียงขวางคือเมืองห่ม เมืองท่าทูม เมืองล่องสานกับล่องแจ้งซึ่งเป็นถิ่นเก่าของกองทัพชาวม้งของนายพลวังเปาที่ จัดตั้งโดยองค์การสืบราชการลับสหรัฐในครั้งสงคราม
ในโอกาสเดียวกันนี้ได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อ "เมืองไซสมบูน" เป็น "เมืองอนุวง" ตามพระนามอดีตบรมกษัตริย์ซึ่งเมื่อเกือบ 200 ปีก่อนทรงพยายามประกาศเอกราชให้ราชอาณาจักรลาวพ้นจากการเป็นประเทศราชของราช อาณาจักรสยาม นักประวัติศาสตร์ไทยเรียกขานพระนามบรมกษัตริย์ของชาวลาวพระองค์นี้ว่า "พระเจ้าอนุวงเวียงจันทน์"

แขวงไซสมบูนได้กลายเป็นแขวงที่ 18 ของประเทศรวมทั้งเมืองหลวงด้วย มีพื้นทิศใต้ติดกับนครเวียงจันทน์ ทิศเหนือติดแขวงเซียงขวาง ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกถูกขนาบด้วยแขวงบอลิคำไซกับแขวงเวียงจันทน์ตาม ลำดับ
ระหว่างปราศรัยในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่นายสมบัดชื่นชมผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมท้องถิ่นทุระกันดารแห่งนี้
ในปัจจุบันแขวงไซสมบูนมีประชาชนราว 7,800 ครอบครัว ในนั้นเหลืออยู่ราว 18.34% ที่ถูกจัดในกลุ่มที่ยังมีชีวิตอยู่ "ต่ำกว่าขีดความยากจน" และมี 4,200 ครอบครัวที่พ้นจากขีดความยากจนดังกล่าวในช่วงหลายปีมานี้ซึ่งคิดเป็นอัตรา ส่วนลดลง 5.34% สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน
ในครั้งหนึ่งไซสมบูนเคยเป็นดินแดนทีมีปัญหาเรื่องชนชาติส่วนน้อยมาก ที่สุดและถูกทางการจัดตั้งขึ้นเป็น "เขตปกครองพิเศษ" ในปี พ.ศ.2537 ส่งผู้ที่มีความชำนาญเข้าบริหารจัดการรวมทั้งบุคคลจากกองทัพด้วย หัวหน้าเขตพิเศษไซสมบูนคนสุดท้ายคือ พล.ต.สมเพ็ด ทิบมาลา (ยศพลจัตวาในขณะนั้น) อดีตรองหัวหน้ากรมใหญ่เสนาธิการกองทัพประชาชน
ทางการได้ยุบเขตปกครองพิเศษแห่งนี้ในต้นปี 2549 เมืองต่างๆ ถูกโอนไปสังกัดอำนาจการปกครองของแขวงเวียงจันทน์กับแขวงเซียงขวาง พล.จ.สมเพ็ดถูกโยกย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ชั่วคราวในแขวงเวียงจันทน์ก่อนจะถูก โยกกลับเมืองหลวงรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนที่ 1 จนกระทั่งถึงแก่กรรมในเดือน เม.ย.2553
หลายปีมารนี้ทางการได้เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ตัดเส้นทางคมนาคมเข้าพื้นที่ นำไฟฟ้าสร้างระบบไฟฟ้าและประปา โรงเรียน โรงพยาบาลและบริการที่จำเป็นต่างๆ เปลี่ยนดินแดนลี้ลับให้สว่างไสว สังคมสงบและสร้างงานขึ้นในท้องถิ่น
เมื่อปีที่แล้วลาวได้ประกาศส่งเสริมการลงทุนในเขตรอยต่อระหว่างแขวง เวียงจันทน์กับแขวงเซียงขวางซึ่งมีศักยภาพสูงทั้งในด้านเศรษฐกิจการเกษตรและ การท่องเที่ยว รวมทั้งประกาศแผนการพัฒนายกระดับสนามบินล่องแจ้งขึ้นเป็นสนามบินพาณิชย์แห่ง ใหม่อีกด้วย.
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ปรารภในช่วงเริ่มต้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)...by dogTech
-
กระแสการประท้วงและ การเคลื่อนไหวต่อต้านการเลือกตั้ง ไม่ได้มีเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในหลายประเทศทั่วเอเชีย ปรากฏการณ์ฝ่ายค้านต้านเลือกตั้งในไทย เหมือนหรือแตกต่างจากประเทศอื่นๆ อย่างไร...by Editor Bow
-
ภาพแฟ้มเอเอฟพีปี 2555 ชาวพม่านั่งเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ภายในโรงงานแห่งหนึ่งชานนครย่างกุ้ง ทางการพม่าเปิดเผยตัวเลขการลงทุนจากต่างชาตินับจนถึงสิ้นเดือนก.ย.ที่ผ่านมามีมูลค่ารวมทั้งหมดเกือบแตะ 50,000 ล้านดอลลาร์...by Editor
-
นักวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่าปี 2557 เป็นปีที่ภาคเอกชนวางแผนทำธุรกิจยากลำบาก เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่า การชุมนุมทางการเมืองจะยืดเยื้อนานแค่ไหน ดังนั้น เครื่องจักรสำคัญที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้...by Editor Bow
เรื่องมาใหม่
คำฮิต