ลบ
แก้ไข

สื่อมวลชนในพม่าจัดชุมนุมประท้วงในวันนี้ (7) เพื่อประณามภัยคุกคามแบบใหม่ต่อเสรีภาพสื่อ และเรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวเพื่อนร่วมอาชีพที่ถือว่าเป็นนักข่าวรายแรก ที่ถูกจำคุก นับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองของรัฐบาลทหาร
ผู้สื่อข่าว และนักเคลื่อนไหวประมาณ 150 คน เดินขบวนไปตามถนนสายต่างๆ ในนครย่างกุ้ง ร้องตะโกนคำขวัญ คำว่า “ไม่ต้องการภัยคุกคามเสรีภาพสื่อ” และโบกแผ่นป้ายที่มีข้อความเขียนว่า “สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารคือแนวทางประชาธิปไตย”
การชุมนุมที่จัดขึ้นโดยเครือข่ายผู้สื่อข่าวพม่ามีขึ้นเพื่อตอบโต้ การตัดสินโทษจำคุกผู้สื่อข่าวท้องถิ่นนาน 3 เดือน ซึ่งถูกจับกุมตัวระหว่างหาข่าวในรัฐคะยา ทางตะวันออกของประเทศ
นางมะ คาย ที่ทำงานให้แก่สำนักข่าวอีเลฟเว่น มีเดีย กรุ๊ป ถูกตัดสินความผิดฐานว่ากล่าวใส่ร้ายและทำลายทรัพย์สินของทนายความในระหว่าง การสัมภาษณ์ รวมทั้งการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนายจ้างของนางมะ คาย เชื่อว่า นางมะคาย อาจตกเป็นเป้าโจมตีจากบทความที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันใน ระบบตุลาการ
“นี่เป็นภัยคุกคามโดยตรง เมื่อผู้สื่อข่าวสามารถที่จะถูกลงโทษด้วยข้อหาอาญาในขณะทำงานหาข่าว” มี้นต์ กอว์ เลขาธิการเครือข่ายผู้สื่อข่าวพม่า กล่าว
การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่สิ้นสุดลงในปี 2554 นำไปสู่การปฏิรูปสื่ออย่างรวดเร็ว รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการการเซ็นเซอร์เนื้อหาก่อนเผยแพร่ และการปล่อยตัวนักข่าวที่ถูกจำคุก แต่กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า สื่อกำลังเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบที่แตกต่างออกไป
“การโจมตีเสรีภาพสื่อมวลชนในพม่าได้เปลี่ยนแปลงจากการคุกคามอย่าง โจ่งแจ้งของรัฐ ไปเป็นรูปแบบของการดำเนินคดีที่กฎหมายสื่อใหม่สร้างความกดดันอย่างหนักต่อ บรรดาผู้สื่อข่าว และขัดขวางพวกเขาในการทำงาน” เดวิด แมทธีสัน นักวิจัยจากฮิวแมนไรท์วอช กล่าว
ดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ประจำปี 2556 ของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า พม่ากระโดดขึ้นมาถึง 18 อันดับ มาอยู่ที่ 151 จากทั้งหมด 179 อันดับ
“องค์กรข่าวไม่ควรที่จะต้องประสบกับความเสี่ยงในการพิจารณาคดีทาง อาญา และในกรณีนี้คือการพิพากษาโทษหนึ่งในผู้สื่อข่าวของตนเพียงเพราะการรายงาน ข่าว เสรีภาพของข้อมูลข่าวสารกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง” คำแถลงฉบับหนึ่งระบุ.
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก manager.co.th
สื่อมวลชนพม่าเดินขบวนประท้วงต่อต้านการคุกคามเสรีภาพ

สื่อมวลชนในพม่าจัดชุมนุมประท้วงในวันนี้ (7) เพื่อประณามภัยคุกคามแบบใหม่ต่อเสรีภาพสื่อ และเรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวเพื่อนร่วมอาชีพที่ถือว่าเป็นนักข่าวรายแรก ที่ถูกจำคุก นับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองของรัฐบาลทหาร
ผู้สื่อข่าว และนักเคลื่อนไหวประมาณ 150 คน เดินขบวนไปตามถนนสายต่างๆ ในนครย่างกุ้ง ร้องตะโกนคำขวัญ คำว่า “ไม่ต้องการภัยคุกคามเสรีภาพสื่อ” และโบกแผ่นป้ายที่มีข้อความเขียนว่า “สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารคือแนวทางประชาธิปไตย”
การชุมนุมที่จัดขึ้นโดยเครือข่ายผู้สื่อข่าวพม่ามีขึ้นเพื่อตอบโต้ การตัดสินโทษจำคุกผู้สื่อข่าวท้องถิ่นนาน 3 เดือน ซึ่งถูกจับกุมตัวระหว่างหาข่าวในรัฐคะยา ทางตะวันออกของประเทศ
นางมะ คาย ที่ทำงานให้แก่สำนักข่าวอีเลฟเว่น มีเดีย กรุ๊ป ถูกตัดสินความผิดฐานว่ากล่าวใส่ร้ายและทำลายทรัพย์สินของทนายความในระหว่าง การสัมภาษณ์ รวมทั้งการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนายจ้างของนางมะ คาย เชื่อว่า นางมะคาย อาจตกเป็นเป้าโจมตีจากบทความที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันใน ระบบตุลาการ
“นี่เป็นภัยคุกคามโดยตรง เมื่อผู้สื่อข่าวสามารถที่จะถูกลงโทษด้วยข้อหาอาญาในขณะทำงานหาข่าว” มี้นต์ กอว์ เลขาธิการเครือข่ายผู้สื่อข่าวพม่า กล่าว
การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่สิ้นสุดลงในปี 2554 นำไปสู่การปฏิรูปสื่ออย่างรวดเร็ว รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการการเซ็นเซอร์เนื้อหาก่อนเผยแพร่ และการปล่อยตัวนักข่าวที่ถูกจำคุก แต่กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า สื่อกำลังเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบที่แตกต่างออกไป
“การโจมตีเสรีภาพสื่อมวลชนในพม่าได้เปลี่ยนแปลงจากการคุกคามอย่าง โจ่งแจ้งของรัฐ ไปเป็นรูปแบบของการดำเนินคดีที่กฎหมายสื่อใหม่สร้างความกดดันอย่างหนักต่อ บรรดาผู้สื่อข่าว และขัดขวางพวกเขาในการทำงาน” เดวิด แมทธีสัน นักวิจัยจากฮิวแมนไรท์วอช กล่าว
ดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ประจำปี 2556 ของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่า พม่ากระโดดขึ้นมาถึง 18 อันดับ มาอยู่ที่ 151 จากทั้งหมด 179 อันดับ
“องค์กรข่าวไม่ควรที่จะต้องประสบกับความเสี่ยงในการพิจารณาคดีทาง อาญา และในกรณีนี้คือการพิพากษาโทษหนึ่งในผู้สื่อข่าวของตนเพียงเพราะการรายงาน ข่าว เสรีภาพของข้อมูลข่าวสารกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง” คำแถลงฉบับหนึ่งระบุ.
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com
เนื้อหาอ้างอิงจาก manager.co.th
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เปิดเผย ขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สั่งซื้อจีน 5 ขบวน 20 ตู้ ได้ดำเนินการขนส่งมาถึงท่าเรือแหลมฉบังแล้ว โดยจะเริ่มทดสอบวิ่งในระบบและพร้อมให้บริการในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสก่อนวันที่ 5 ธันวาคม นี้...by Editor Bow
-
dailynews.co.th ๑. ต้นปีที่ผ่านมาจังหวัดต่างๆ ทั่วอินโดนีเซียทะยอยประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในสัดส่วน ที่แตกต่างกัน ในส่วนของกรุงจาการ์ตาประกาศขึ้นจาก ๑.๕ ล้านรูเปียห์/เดือน เป็น ๒.๒ ล้านรูเปียห์/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ...by Editor Bow
-
ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพ การเป็นศูนย์กลางการเดินทาง จึงได้มีการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างการคมนาคมการขนส่งให้มีความเร็ว ปลอดภัยและดีขึ้น เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจาก...by Editor Bow
-
อาเซียนและจีนได้พยายามในการก้าวไปข้างหน้าร่วมกันผ่านการสารสัมพันธ์และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในระดับภูมิภาค...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต