ลบ
แก้ไข

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ของทางการพม่าได้เปลี่ยนชื่อเป็น Global New Light of Myanmar ตั้งแต่ฉบับ 1 ต.ค.เป็นต้นไป ภายใต้การร่วมทุนใหม่กับเอกชน อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปสื่อที่จะทำให้สื่อของประเทศมีความเสรีมากขึ้น.--Photo/Myanmar.cm.
หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของทางการพม่า "นิวไลท์ออฟเมียนมาร์" เริ่มดำเนินการในรูปแบบของการร่วมทุนกับนักลงทุนเอกชนในวันนี้ (1) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า "โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์" โดยมีบริษัท News and Periodicals Enterprise ของกระทรวงข่าวสาร ถือครองหุ้น 51% และบริษัทเอกชน Global Direct Link ถือครองส่วนที่เหลือ 49%
หนังสือพิมพ์ฉบับใหม่นี้ ระบุว่ามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษให้เป็นสื่อที่เสรีขึ้นและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความหลากหลายของสื่อ
รัฐบาลพม่าเริ่มปฏิรูปสื่อในเดือนมิ.ย. 2554 โดยเปิดเสรีการควบคุมการตีพิมพ์สื่อภายในประเทศ และในเดือนธ.ค. 2555 ทางการได้ให้เสรีกับภาคเอกชนในการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวัน และยกเลิกสำนักงานทะเบียนและตรวจสอบสิ่งพิมพ์
นับตั้งแต่นั้น พม่ามีหนังสือพิมพ์รายวันตีพิมพ์ 31 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์เอกชนภาษาพม่า 24 ฉบับ ภาษาอังกฤษ 2 ฉบับ และหนังสือพิมพ์รายวันของรัฐอีก 5 ฉบับ นอกจากนั้นยังมีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของเอกชนอีกกว่า 200 ฉบับ ทั้งในภาษาพม่า ภาษาอังกฤษและจีน รวมทั้งนิตยสารมากกว่า 200 หัว และสำนักพิมพ์เอกชนเกือบ 7,000 แห่ง
ในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา พม่าประกาศใช้กฎหมายสื่อฉบับใหม่ที่อนุญาตให้ตั้งบริษัทสื่อเอกชนและสาธารณะ รวมทั้งกิจการที่เป็นการร่วมทุน พร้อมทั้งให้เสรีภาพสื่อโดยปราศจากการตรวจเซ็นเซอร์ ตราบเท่าที่สื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบ.
ขอบคุณที่มา : manager.co.th
นสพ.ทางการพม่าเปิดเอกชนร่วมทุน เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง-เนื้อหาเสรีมากขึ้น
หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ของทางการพม่าได้เปลี่ยนชื่อเป็น Global New Light of Myanmar ตั้งแต่ฉบับ 1 ต.ค.เป็นต้นไป ภายใต้การร่วมทุนใหม่กับเอกชน อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปสื่อที่จะทำให้สื่อของประเทศมีความเสรีมากขึ้น.--Photo/Myanmar.cm.
หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของทางการพม่า "นิวไลท์ออฟเมียนมาร์" เริ่มดำเนินการในรูปแบบของการร่วมทุนกับนักลงทุนเอกชนในวันนี้ (1) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า "โกลบอลนิวไลท์ออฟเมียนมาร์" โดยมีบริษัท News and Periodicals Enterprise ของกระทรวงข่าวสาร ถือครองหุ้น 51% และบริษัทเอกชน Global Direct Link ถือครองส่วนที่เหลือ 49%
หนังสือพิมพ์ฉบับใหม่นี้ ระบุว่ามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษให้เป็นสื่อที่เสรีขึ้นและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความหลากหลายของสื่อ
รัฐบาลพม่าเริ่มปฏิรูปสื่อในเดือนมิ.ย. 2554 โดยเปิดเสรีการควบคุมการตีพิมพ์สื่อภายในประเทศ และในเดือนธ.ค. 2555 ทางการได้ให้เสรีกับภาคเอกชนในการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวัน และยกเลิกสำนักงานทะเบียนและตรวจสอบสิ่งพิมพ์
นับตั้งแต่นั้น พม่ามีหนังสือพิมพ์รายวันตีพิมพ์ 31 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์เอกชนภาษาพม่า 24 ฉบับ ภาษาอังกฤษ 2 ฉบับ และหนังสือพิมพ์รายวันของรัฐอีก 5 ฉบับ นอกจากนั้นยังมีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของเอกชนอีกกว่า 200 ฉบับ ทั้งในภาษาพม่า ภาษาอังกฤษและจีน รวมทั้งนิตยสารมากกว่า 200 หัว และสำนักพิมพ์เอกชนเกือบ 7,000 แห่ง
ในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา พม่าประกาศใช้กฎหมายสื่อฉบับใหม่ที่อนุญาตให้ตั้งบริษัทสื่อเอกชนและสาธารณะ รวมทั้งกิจการที่เป็นการร่วมทุน พร้อมทั้งให้เสรีภาพสื่อโดยปราศจากการตรวจเซ็นเซอร์ ตราบเท่าที่สื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบ.
ขอบคุณที่มา : manager.co.th
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ชาวเวียดนามชนแก้วเบียร์กันในงานเทศกาลที่จัดขึ้นในกรุงฮานอย เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการบริโภคเบียร์ต่อหัวมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย.--Reuters/Kham....by Editor
-
-
-
พระเขมรเดินขบวนผ่านตำรวจปราบจลาจลที่ตั้งแถวอยู่ด้านหน้าพระราชวังในกรุงพนมเปญ วันที่ 3 ก.ย....by Editor
เรื่องมาใหม่
คำฮิต