ลบ
แก้ไข
"เวียดนาม" เป็นประเทศที่เป็นแหล่งดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการดําเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น รวมถึงมาตรการที่รัฐบาล
นํามาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งน่าจะส่งผลให้เห็นชัดเจน เวียดนามพึ่งพารายได้จากการส่งออก ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะส่งออกสินค้าไปยังยุโรป สหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ของประเทศ รวมไปถึงระดับการเปิดของระบบเศรษฐกิจต่อตลาดภายนอกประเทศอยู่ในระดับสูง ดังจะเห็นได้จากการนําเข้าสินค้าปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศอย่างเข้มข้น
โอกาสการลงทุนธุรกิจอาหารแปรรูปที่ไทยควรพิจารณา
"เวียดนาม" เป็นประเทศที่เป็นแหล่งดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการดําเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น รวมถึงมาตรการที่รัฐบาล
นํามาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งน่าจะส่งผลให้เห็นชัดเจน เวียดนามพึ่งพารายได้จากการส่งออก ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะส่งออกสินค้าไปยังยุโรป สหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ของประเทศ รวมไปถึงระดับการเปิดของระบบเศรษฐกิจต่อตลาดภายนอกประเทศอยู่ในระดับสูง ดังจะเห็นได้จากการนําเข้าสินค้าปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศอย่างเข้มข้น
ขณะเดียวกัน เวียดนามยังมีปัจจัยสนับสนุนทางเศรษฐกิจและการลงทุน อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ความได้เปรียบด้านทําเลที่ตั้ง ประชากรในวัยแรงงานที่มีจํานวนมาก
ค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงมาก มีความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคและยกระดับรายได้ของประชากร รวมถึงมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ ไปสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเตรียมรองรับเงินลงทุนตางชาติ และแข่งขันในตลาดโลกได้
ค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงมาก มีความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคและยกระดับรายได้ของประชากร รวมถึงมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ ไปสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเตรียมรองรับเงินลงทุนตางชาติ และแข่งขันในตลาดโลกได้
จากสถิติด้านการลงทุนจากต่างประเทศในช่วงปี 2555 พบว่า อุตสาหกรรม ที่ได้รับความสนใจจากต่างชาติได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์พื้นที่สําคัญที่ได้รับเงินลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด ประกอบด้วย จังหวัดบินห์เยือง (BINH DUOUNG) ทางตอนใต้ของเวียดนาม จังหวัดไฮฟง (HAI PHONG) และจังหวัดดงใน (DONG NAI) ตามลําดับ และในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยได้เริ่ม ทยอยเข้าไปลงทุนในตลาดเวียดนามบ้างแล้ว โดยส่วนมากเป็นการร่วมลงทุน กับคู่ค้าในประเทศเวียดนามหรือการเข้าซื้อกิจการจาก
ผู้ประกอบการเดิม และเป็นการลงทุนที่ตั้งภายในเขตส่งเสริมการลงทุนหลัก เช่น ฮานอยและโฮจิมินห์
ผู้ประกอบการเดิม และเป็นการลงทุนที่ตั้งภายในเขตส่งเสริมการลงทุนหลัก เช่น ฮานอยและโฮจิมินห์
อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป เป็นอุตสาหกรรมที่นักลงทุนไทย ต้องไม่มองข้ามเนื่องจากพื้นฐานด้านผลผลิตทางการเกษตรของเวียดนามส่วนใหญ่ คล้ายคลึงกับไทย ทําให้ทั้งสองประเทศมีการขยายความร่วมมือและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจัยเกื้อหนุนสําคัญ เช่น อัตราค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ํา และได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GENERALIZED SYSTEM OF PREFERENCES: GSP)
จากประเทศคู่ค้าสําคัญ เช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมถึงผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมีความสามารถในด้าน การใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง และการจัดการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีปัจจัย สนับสนุนต่าง ๆ อีกหลายประการ เช่น การสนับสนุนของรัฐบาลในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ ทําให้คุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจนทัดเทียมกับนานาประเทศ ส่งผลให้ประเทศก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายสําคัญของโลก
จากประเทศคู่ค้าสําคัญ เช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมถึงผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมีความสามารถในด้าน การใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง และการจัดการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีปัจจัย สนับสนุนต่าง ๆ อีกหลายประการ เช่น การสนับสนุนของรัฐบาลในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ ทําให้คุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจนทัดเทียมกับนานาประเทศ ส่งผลให้ประเทศก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายสําคัญของโลก
ขณะที่ความต้องการสินค้าอาหารแปรรูปในเวียดนามเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประชากรมีจํานวนมากถึงราว 90 ล้านคน และให้ความสําคัญกับความปลอดภัยของอาหาร (FOOD SAFETY) เป็นสําคัญประกอบกับการที่เวียดนามมีแนวโน้มพัฒนาเป็นศูนย์กลางการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในอนาคต หลังจาก มีบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่มเข้ามาลงทุนในเวียดนามมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทผลิตอาหารแปรรูปจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ซึ่งเข้ามาลงทุนในอุอุตสาหกรรม ดังกล่าว และส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในเมืองฮานอย นครโฮจิมินห์และจังหวัดดานัง
สินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปที่น่าจะมีโอกาสลงทุนมากที่สุดของไทย คือ อุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป เนื่องจากจํานวนโรงงานแปรรูปผลไม้ในเวียดนาม ยังมีไม่มาก และโรงงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่างพัฒนากระบวนการผลิต รวมถึงยังขาดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์โดยส่วนมากยังเป็นผลไม้กระป๋องและผลไม้อบแห้ง ขณะเดียวกัน โรงงานแปรรูปผลไม้ยังขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ นักลงทุนจึงสามารถนําเข้าผลไม้สดคุณภาพดีจากไทย อาทิทุเรียน มังคุด มะม่วง และลําไย มาแปรรูปในเวียดนามได้ซึ่งนักลงทุนไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงเสรีการค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เคลื่อนย้ายวัตถุดิบเข้ามาโดยปราศจากภาษีศุลกากร การขนส่งผลไม้สดจากไทยไปเวียดนามก็มีความสะดวกมากขึ้นโดยสามารถใช้เส้นทาง R12 ระยะทาง 1,383 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่สั้นกว่าและมีต้นทุนค่าขนส่งที่ถูกกว่าเส้นทางขนส่งทางบกอื่นๆ


รวมทั้งล่าสุด กลุ่มนักลงทุนจากภาคตะวันออกของไทยได้วางแผนที่จะเข้าไปร่วมทุนกับพันธมิตรในเวียดนามในโครงการก่อสร้างห้องแช่เย็นเยือกแข็งผลไม้ในนครโฮจิมินห์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมผลไม้สดทั้งจากไทย กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนนําไปแปรรูปเป็นผลไม้แช่แข็งส่งออกไปจําหน่ายในตลาดโลก ดังนั้น โอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูปในเวียดนามยังเปิดกว้าง อย่างมากการแปรรูปผลไม้สามารถเข้าไปลงทุนในเวียดนามได้ทั้งรูปแบบเป็นเจ้าของกิจการทั้งหมดและกิจการร่วมทุนโดยสามารถลงทุนได้แบบครบวงจรทั้งห่วงโซ่การผลิต และยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ด้าน GSP จากสหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียได้อันจะเป็นแต้มต่อสําคัญที่นักลงทุนไทยได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน เพราะบริเวณแถบสามเหลี่ยมปากแม่
น้ําโขง เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ํา ซึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบในการดําเนินกิจการของอุตสาหกรรมได้เป็อย่างดีหากสามารถจัดตั้ง โรงงานแปรรูปบริเวณใกล้เคียง ก็จะส่งผลดีต่อการลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ และการดําเนินธุรกิจโดยรวม อันจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยได้
น้ําโขง เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ํา ซึ่งสามารถเป็นวัตถุดิบในการดําเนินกิจการของอุตสาหกรรมได้เป็อย่างดีหากสามารถจัดตั้ง โรงงานแปรรูปบริเวณใกล้เคียง ก็จะส่งผลดีต่อการลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ และการดําเนินธุรกิจโดยรวม อันจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยได้

ขอบคุณที่มา : (สดุดีวงศ์เกียรติขจร นักวิจัยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา) (กรุงเทพธุรกิจ)
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ตั้งแต่พม่าเปิดประเทศและอานิสงส์ของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจพม่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่ามากขึ้น ในบรรดาธุรกิจที่มีศักยภาพการลงทุนในพม่า...by Editor Bow
-
ผู้เชี่ยวชาญของอินโดนีเซียชี้ ภาคธุรกิจการเกษตรของประเทศมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นในปีหน้า เนื่องจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งขึ้นของตลาดในประเทศ นายบังการัน ซารากีห์ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรกรรมโบกอร์ กล่าวว่า...by Editor Bow
-
เวียดนามผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งโลก กำลังเผชิญปัญหาหนัก ในการส่งออกข้าวที่กำลังตกต่ำในขณะนี้ ที่มาhttp://vietnamnews.vn/...by dogTech
-
ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มบริษัทอาลีบาบา พร้อมที่จะช่วยฝึกอบรมให้กับผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้กับไทย พร้อมแนะนำไทยต้องสนับสนุนประกอบการรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น อ่านต่อ AEC Connectivity...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต