ลบ แก้ไข

อุตฯท่องเที่ยวไทยรับมือ 'เออีซี' เร่งสร้างมูลค่าเพิ่มการทางธุรกิจ

   

      สำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) อย่างเป็นทางการ ปี 2558 เชื่อว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติในกลุ่มอาเซียนและทั่วโลกสนใจเข้ามาลงทุนเพราะประเทศไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐานสถานที่ตั้งด้านภูมิประเทศ ระบบการขนส่งแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายพร้อมที่สุด เมื่อเทียบกับสมาชิกอาเซียนประเทศอื่น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุผลส าคัญที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งสร้างมูลค่าเพิ่มในการทำธุรกิจ พร้อมร่วมมือกันระหว่างบริษัทในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มากกว่าการใช้กลยุทธ์แข่งขันอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง
 
      การท่องเที่ยวโดยรวมในระยะยาว ในเรื่องนี้ นางสมฤดี ชาญชัย ผู้อ านวยการภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวว่า ในพื้นที่ที่รับผิดชอบจะมีพื้นที่เชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ตั้งแต่ด่านใหญ่ๆ ในอ าเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ที่เชื่อมโยงไปแขวงไซยะบุรี และแขวงหลวงพระบาง ซึ่งเวลานี้มีรถโดยสารให้บริการวันละหนึ่งเที่ยว ทั้งไปและกลับ ส่วนด่านอื่นๆ ที่จังหวัดมุกดาหาร นครพนม หนองคายช่องเม็ก อ าเภอสิรินธร หรือเดิมคือ อำเภพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และอีก 2 ด่าน คือ ช่องสะง า อ าเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสามารถเดินทางข้ามไปยังเมืองเสียมเรียบประเทศกัมพูชาในเวลานี้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
 

      สำหรับด่านใหญ่ๆ ที่เชื่อมโยงกับชายแดนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ถือเป็นโอกาสที่ดีของการท่องเที่ยวไทยในแถบภาคอีสานที่จะน ามาใช้เป็นไฮไลต์ของเส้นทางท่องเที่ยว ดึงความสนใจจากนักท่องเที่ยวจากภาคอื่นๆหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาแถบภาคอีสานมากขึ้น โดยจังหวัดที่มีชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศในกลุ่มเออีซี จะมีคณะท างานด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ถือเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งการค้า วัฒนธรรม และหนึ่งในนั้น คือ เรื่องของการท่องเที่ยว โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนส่งเสริมการขายการท่องเที่ยว ซึ่งได้บรรจุไว้ในแผนการดำเนินงานทางด้านการตลาด ในปี 2558 ด้วย

 
     ทั้งนี้ ถ้ามีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 น่าจะส่งผลให้รายได้ทางการตลาดด้านท่องเที่ยวในแถบจังหวัดภาคอีสานโตขึ้นประมาณ 20% เนื่องจากเวลานี้บางจังหวัดในพื้นที่เชื่อมโยงมีห้างสรรพสินค้ารองรับเกือบทุกเมืองโรงแรมมีจ านวนห้องพักเพิ่มขึ้น และที่ส าคัญมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก โดยเฉพาะมีบริการรถโดยสารจาก บริษัทขนส่ง จ ากัด หรือรถ บขส. วิ่งเชื่อมโยงระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศเออีซี  ซึ่งปัจจัยที่มากระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในแถบภาคอีสาน และพื้นที่เชื่อมโยงเพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มเที่ยวบินของสายการบินโลว์คอสต์ โดยเวลานี้ทาง ททท.ได้ท ากิจกรรมร่วมกันตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดการเดินทางหมุนเวียน ทั้งเข้าและออก และน่าจะส่งผลท าให้บริษัททัวร์ปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางด้านการตลาดด้วยการหันมารับฟังความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนในอนาคตด้วยอย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ทางการตลาดใหม่ ภายหลังจากการท่องเที่ยวแถบภาคอีสานมีอัตราการเติบโตลดลงด้วยการหันมาท าตลาดดึงนักท่องเที่ยวทางภาคอีสานเที่ยวกันเองภายใน 20 จังหวัดมีทั้งอีสานเหนือ อีสานกลาง อีสานใต้ แต่ละโซนก็จะมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และธรรมชาติแตกต่างกันไป สร้างให้เกิดการเดินทางหมุนเวียนในภาคอีสาน
 
 


 
     โดยพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวแถบจังหวัดภาคอีสานจะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 2 คืน3 วัน ประมาณ 90% เป็นการเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองและที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักอีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มประชุมสัมมนา ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี นายศุภฤกษ์ ศูรางกูร นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ ทีทีเอเอ กล่าวว่า ทางผู้ประกอบการท่องเที่ยวของไทยจะต้องเร่งปรับตัวทางธุรกิจก่อนที่จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะต้องมีแนวทางที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถท าได้ทันที อาทิ การเพิ่มมูลค่าการจ าหน่ายทัวร์ การเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางด้วยตัวเอง หรือเอฟไอที โดยบางส่วนต้องพึ่งการจองผ่านบริษัททัวร์ เป็นต้นสำหรับสถานการณ์ของบริษัททัวร์ในปี 2558 นั้น ด้วยพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป จึงทำให้บริษัททัวร์ต้องเร่งปรับตัว หากไม่เตรียมความพร้อมจะท าให้อยู่ในธุรกิจนี้ ก็จะสู้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเส้นทาง รู้ถึงความต้องการนักท่องเที่ยว ข้อมูลต่างๆ สามารถต่อยอดทางธุรกิจได้อีกทั้งการยกระดับการท าธุรกิจทัวร์ขึ้นสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวมีความเป็นไปได้ยากในช่วง 2-3 ปีนี้ เพราะธุรกิจที่ปรึกษาด้านข้อมูลเรื่องการลงทุน มีผู้ดำเนินการที่เชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มดังนั้นในเบื้องต้นการน าข้อมูลด้านการท่องเที่ยวไทย ที่เข้าถึงและเข้าใจระบบโครงสร้างของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย จึงเป็นเพียงการปรับตัวรับกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่นิยมวางแผนเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองมากกว่าการซื้อแพ็กเกจทัวร์ส าเร็จรูปนายเจริญ วังอนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่าในปี 2558   ทางรัฐบาลจะต้องเป็นศูนย์กลางของการวางจุดยืนและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทยใหม่ทั้งหมด เพื่อให้มีความชัดเจนว่าจะอยู่ตรงจุดไหน และต้องวางแผนว่าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของ เรื่องใดได้บ้าง เพื่อให้ทันกับการแข่งขันในเวทีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 
 


     ขณะเดียวกัน ต้องเสริมจุดแข็งที่ประเทศไทยมีอยู่ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความหลากหลายการเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่มาจากหลายภูมิภาค ความโดดเด่นในการให้บริการของคนไทย พร้อมๆ กับการแก้ไขจุดอ่อน เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศของมัคคุเทศก์ การจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ด้านท่องเที่ยว ไปลงทุนในประเทศอาเซียน และให้ทุนนักเรียนและนักศึกษาไทยไปเรียนในประเทศอาเซียน เพื่อให้รู้จักภาษา วัฒนธรรม และมีเพื่อนฝูงในกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งประเด็นส าคัญในด้านของการลงทุนของธุรกิจท่องเที่ยวไทยในอาเซียน ถือเป็นสิ่งสำคัญและวางรากฐานท่องเที่ยวไทยเข้าสู่ประเทศอื่นๆ ได้อย่างยั่งยืนเพราะคนไทยเก่งในเรื่องของบริษัททัวร์ เก่งในเรื่องของโรงแรม โดยเฉพาะบูติก โฮเต็ล เพียงแต่ว่าแต่ละรายเป็นธุรกิจขนาดเล็กการออกไปลงทุนต่างประเทศอาจจะยากจึงอยากให้รัฐบาลตั้งกองทุนสนับสนุนเอสเอ็มอีเหล่านี้ได้ไปลงทุนในประเทศอาเซียนจากที่ในปัจจุบันมีเฉพาะธุรกิจรายใหญ่เท่านั้นที่ไปลงทุนได้


ขอบคุณที่มา : 
สยามรัฐ
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 6,886 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ