ลบ แก้ไข

ความสำคัญของอาเซียน ต่อชาวอาทิตย์อุทัย


         
       ผลสำรวจของ Japanese-Affiliated Companies in Asia and Oceania for Fiscal Year 2013 ของ JETRO (Japan External Trade Organization) แสดงให้เห็นถึงความสนใจของบริษัทญี่ปุุนในธุรกิจการเงินประกัน สื่อสาร และซอฟต์แวร์เป็นพิเศษ     ซึ่งหากดูเฉพาะในกลุ่มอาเซียนจะพบว่าภาคธุรกิจญี่ปุุนสนใจที่จะ
ขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและก่อสร้างของพม่าและอุตสาหกรรมผลิตจักรยานยนต์ในกัมพูชา                     นอกจานี้ JETRO ยังวางแผนจะเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกที่ สปป.ลาว  ทำให้คาดได้ว่าญี่ปุุนน่าจะส่งเสริมการลงทุนใน สปป.ลาวมากขึ้น   

 

ทำไมญี่ปุุนถึงเห็นว่าประเทศในอาเซียนน่าลงทุนมากกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชีย

       คำตอบอยู่ที่ Growth
เพราะอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่ยังมีอายุเฉลี่ยของประชากรวัยหนุ่มสาวในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว   และเป็นตลาดเกิดใหม่ซึ่งมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก    เมื่อเป็นดังนี้คนในอาเซียนก็ย่อมต้องการบริโภคมาก ซึ่งจะช่วยทดแทนตลาดภายในประเทศญี่ปุุนที่ลดลงทั้งจากอำนาจซื้อและสัดส่วนประชากรวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นพลังในการบริโภคที่ลดลงภูมิภาคอาเซียนมีประชากร 617 ล้านคน หรือ 8.9% ของประชากรโลก และมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 รองจากจีนและอินเดีย ทั้งยังมีสัดส่วนชนชั้นกลางจ านวนมาก ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีกำลังซื้อสูงและมีศักยภาพในการเติบโต    จำนวนแรงงานที่มีพร้อมและค่าแรงที่ยังไม่สูงมากก็เป็นอีกหนึ่งแรงสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนให้เข้ามาในอาเซียน  นอกจากนี้ การเปิด AEC ในปี 2015 จะทำให้บริษัทในภูมิภาคสามารถขยายธุรกิจข้ามพรมแดนได้ง่ายขึ้น   และเป็นการส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ความสัมพันธ์ของญี่ปุุนกับจีนเริ่มเกิดปัญหาจากข้อบาดหมางของเกาะ Senkaku/Diaoyu ทำให้อาเซียนได้ประโยชน์ทางการค้าจากญี่ปุุนเพิ่มขึ้น

        ผลกระทบต่อประเทศไทยแม้ว่าไทยจะมีส่วนแบ่งในตลาด FDI ในอาเซียนมากที่สุด

        เพราะภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นจุด
ศูนย์กลางกระจายสินค้า และมีระบบ Supply Chain ด้านยานยนต์ที่ครบวงจร แต่ FDI จากญี่ปุุนที่เข้ามายังไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง โดยไปเน้นการลงทุนจากภาค Manufacturing ไปสู่ภาค Non-manufacturing มากขึ้น หนึ่งในการเจรจาทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือ Mitsubishi UFJ Financial Group ที่ได้เข้ามาซื้อหุ้นในสัดส่วน 72% ของ Bank of Ayudhya (BAY) ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย โดยมีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 536 พันล้านเยน หรือ 5.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ
 
      นอกจากนี้ ธุรกิจประกันก็มีบริษัทประกันที่ใหญ่อันดับ 5 ของญี่ปุุน คือ Meiji Yasuda เข้ามาซื้อหุ้นของ Thai Life Insurance ในสัดส่วน 15% มูลค่า 70 พันล้านเยน หรือ 700 ล้านเหรียญสหรัฐส่วนธุรกิจค้าปลีกก็มีบริษัท Saha Lawson ซึ่งเป็น Joint Venture ระหว่าง Saha Group ของไทย (ถือหุ้น 50%) และ Lawson Asia Pacific ของญี่ปุุน (ถือหุ้น 49%) ก็มีแผนขยายร้าน Lawson 108 ในประเทศไทยให้มีจ านวนถึง 1,000 ร้าน ภายใน 5 ปีข้างหน้านี้
 
      ดังนั้น แม้กระแส FDI ที่ไหลเข้ามาในไทยจะลดน้อยลงจากปัญหาทางการเมืองตั้งแต่เดือน พ.ย. 2013
แต่ไทยก็น่าจะฟื้นตัวจากปัญหาทางการเมืองที่คลี่คลายและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และน่าจะยังคงเป็น
จุดหมายหลักสำหรับการควบรวม (M&A) ของญี่ปุุนกับบริษัทในอาเซียนต่อไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการ เช่น ธุรกิจการเงินและประกันที่ญี่ปุุนให้ความสนใจมาก เพราะเชื่อว่าจะรองรับอำนาจซื้อของกลุ่มชนชั้นกลางที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วในประเทศไทย

ขอบคุณที่มา : 
dtn.go.th (พิชชาภา ศุภวัฒนกุล ทีมจัดการกองทุนบัวหลวง) (โพสต์ทูเดย์)

 
 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,789 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • ไปรษณีย์ไทย-กัมพูชาลงนาม MOU ในวันนี้ (7 มี.ค.) เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาด้านการบริการและการเงิน รับประชาคมอาเซียน โดยนางสาวอานุสรา จิตต์มิตรภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ H.E. Mr. Ork Bora,...
    by Editor Bow
  • มีหลายอาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมพิเศษและเพิ่มประสบการณ์การทำงาน โดยตลาดแรงงานเสรีอาเซียนจะทำให้แต่ละอาชีพมีความสำคัญมากขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากในประเทศฟิลิปปินส์ที่ปรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก...
    by dogTech
  • บริษัทกูเกิลเผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถสำรวจปราสาทนครวัด และปราสาทที่อยู่โดยรอบอีกนับร้อยหลังของกัมพูชา ในมุมมอง 360 องศา ผ่านบริการ สตรีทวิว บนแผนที่ของกูเกิลได้แล้วตั้งแต่วันนี้ คำแถลงของกูเกิลระบุว่า...
    by Editor Bow
  • อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันโดยเน้นการส่งเสริมความรู้...
    by Editor Bow

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean