ลบ แก้ไข

ไทยเข้าสู่ 'วิกฤติแรงงาน' เอกชนเร่งรัฐแก้ปัญหา

  

     ธนาคารไทยพาณิชย์จัดงาน EIC Conference : Thailand in Transformation มีการเสวนาฃ "ปรับมุมมอง ส่องกลยุทธ์ธุรกิจยุคปฏิรูป" โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นายวิชิต สุรพงษ์ชัย นายอิสระว่องกุศลกิจ นายบุญชัย โชควัฒนา และนางสาวศุภลักษณ์อัมพุช โดยมีรายละเอียดดังนี้


       นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า
ภาคเอกชนไทยต้องมีการปรับตัว และต้องศึกษาตลาดคู่แข่ง และดูจุดแข็งจุดอ่อนกิจการตัวเองขณะเดียวกัน
สิ่งที่ไทยต้องเร่งดําเนินการ คือการยกระดับด้านผลิตภาพการผลิตให้มากขึ้นฃ "การปฏิรูปแรงงานเป็นสิ่งสําคัญมาก เพราะแรงงานไทยขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้การใช้แรงงานของไทย มากกว่ามาเลเซีย 1 เท่าตัวแต่
ส่วนในภาคการเกษตรยิ่งน่าห่วง ไทยมากกว่ามาเลเซีย 6 เท่ารายได้ต่อหัวต่ํากว่ามาเลเซียมาก เพราะไทยไม่ได้เพิ่มผลิตภาพการผลิต ที่ผ่านมาเอกชนเคยตัวจากการนําแรงงานต่างชาติเข้ามา แต่ถ้าแรงงานเพื่อนบ้านกลับไปจริงๆ อาจเกิดปัญหาขึ้นได้" 
: ไทยยกระดับการผลิตได้ที่ผ่านมาหลายบริษัท หันมาใช้เครื่องจักรกล มากขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีส่วนการย้ายฐานการผลิตต้องพิจารณาให้ดีเพราะยังมีหลายปัจจัย ที่อาจเกิดปัญหาในอนาคต อย่างต้นทุนค่าไฟฟ้า จะสูงกว่าไทยหรือไม่ต้นทุนขนส่งเป็นอย่างไร
 

      นอกจากนี้เอกชนไทย ต้องทําการศึกษาประเทศเพื่อนบ้านที่เติบโตได้ดีจีดีพีเติบโต 5-7% 
โดยเฉพาะประเทศพม่า มีการนําเข้าสินค้า 6 แสนล้านบาท ปัจจุบันไทยส่งสินค้าไปยังประเทศพม่าแสนล้านบาท จึงยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ส่วนประเทศลาว เราส่งสินค้าไปขายคิดเป็น 80 %ของสินค้านําเข้าทั้งหมดของประเทศลาว โอกาสเติบโตจํากัด ซึ่งสิ่งที่เราต้องเรียนรู้คือกฎเกณฑ์ในแต่ละประเทศเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขัน

 
    : ไทยหลุดแชมป์ส่งออกข้าว นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จํากัด (มหาชน) มองเห็นสอดคล้องทางเดียวกันว่า ประเทศไทยยังขาดการพัฒนาด้านประสิทธิภาพการผลิตอย่างมาก ประเทศไทยเคยส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก แต่ผลิตภาพต่ําสุดในภูมิภาค และอาจจะต่ําที่สุดในโลก แพ้พม่า ลาว และกัมพูชา เหตุเพราะไทยใช้ต้นทุนเยอะ ระบบชลประทานไม่ดีเมืองไทยอุดมสมบูรณ์คนไทยจะติดสบายต้องรอให้เกิดปัญหาก่อน อนาคตการแข่งขันกับต่างประเทศจะลําบากขึ้นเรื่อยๆ

การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หลายบริษัทไม่มีการเตรียมตัว เพราะเรามีความสุขกับการค้าขายใน
ประเทศ และขาดการพัฒนาด้านการวิจัย แม้ที่ผ่านมาจะมีหน่วยงานอย่าง สวทช. แต่งานวิจัยที่ออกมาไม่
ตรงตามความต้องการของภาคเอกชน ซึ่งเขาควรเชิญเอกชนเข้ามาช่วยปรึกษาหารือว่า ต้องการงานวิจัย
ด้านไหน เอกชนมีส่วนร่วมน้อยมาก

 
     : หนุนตั้งบอร์ดยุทธศาสตร์ รวมไปถึงการศึกษาเป็นอีกปัญหาที่ใหญ่มาก ประเทศไทยเน้นใบปริญญามากเกินไป ทําให้เกิดปัญหาขาดคนที่ทํางานด้านเครื่องจักรได้ดังนั้นจึงทําให้หลายบริษัทเร่งแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยทําการเปิดสถาบันการศึกษาขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งพัฒนาระบบ
การศึกษาอาชีวะ เพื่อผลิตแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกัน ธุรกิจเอสเอ็มอีก็จะประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน ถ้าไม่มีการเพิ่มบุคลากรที่มี  การศึกษา ตรงกับความตองการของเอสเอ็มอี
ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหา โดยให้บริษัทเอสเอ็มอีจะต้องเร่งส่ง
พนักงานเข้าไปศึกษา กับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการสอนแรงงาน ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ ก็ต้องช่วยส่งเสริมและพัฒนาบริษัทเอสเอ็มอีด้วย สิ่งสําคัญที่สุด คือ ประเทศไทยควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อกําหนดทิศทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการช่วยกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ นําผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาระดมความเห็นปราศจากนักการเมือง เพื่อให้มีความชัดเจน ของก้าวที่ประไทยจะพัฒนาต่อไป
 
       : ชี้ไทยเข้าสู่วิกฤติแรงงาน ขณะที่ นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ย้ําว่า ขณะนี้ประเทศไทย ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานขั้นรุนแรง โดยเฉพาะแรงงานคุณภาพที่เป็นที่ต้องการของนักลงทุนต่างชาติทําให้เงินลงทุนโดยตรงที่เคยเข้ามาประเทศไทยคิดเป็น 39% ของภูมิภาค ในขณะนี้ได้ลดลง
เหลือ 20% ทําให้เงินลงทุนที่เคยไหลเข้าลดลง กระทบต่อการส่งผ่านเทคโนโลยีจากต่างชาติ ส่วนการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย ยังมีไม่มากนัก จึงน่ากังวลว่า ความสามารถในการแข่งขันที่ไทยเคยมีจะลดลง เห็นได้จาก ดัชนีชี้วัดความสามารถแข่งขันของไทยปรับ ลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ระบบการศึกษาผลิตแรงงาน เข้าสู่ระบบไม่เพียงพอ โดยเฉพาะแรงงานที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กว่า 25% ของนักศึกษาที่จบมาไม่ได้ทําสิ่งที่เรียน เพิ่มขึ้นจากในอดีตที่มีเพียง 10% 

 
 
     : หวั่นไทยหลุดความมั่งคั่ง ส่วนความมั่งคั่งของประเทศไทยใน ระยะยาว จะต้องขึ้นกับความสามารถแข่งขันเทียบประเทศอื่น ดังนั้นหากไทยยังไม่ให้ความสนใจกับความสามารถแข่งขันใน ระยะยาว อาจจะไม่สามารถรักษาความั่งยืนของมั่งคั่งได้
 
 
        "หากแรงงานพม่ากลับไป ไทยจะไม่ใช่แค่ขาดแรงงาน แต่เราหาแรงงานอายุน้อยไม่ได้เพราะ เราเข้าสู่สังคมเกษียณ การขาดแรงงานซีเรียสมาก ระยะสั้นเราไปได้เราไม่เห็นว่าวิกฤตินี้กําลังก่อตัว พายุกําลังมา นักศึกษาจบมาไม่ได้ตรงกับที่ต้องการ งานวิจัยที่ทํามาก็เก็บ เข้าตู้เราอยากได้เอฟดีไอ แต่อย่าหวังว่า เอฟดีไอจะเข้ามาเรื่อยๆ เราต้องสร้างแบรนด์สร้างความสามารถของตัวเองเราต้องคิดว่า จากนี้ไป 5 ปีเราจะเก่งเรื่องใด การท่องเที่ยวหรือการเกษตร" 
 
         :  รัฐต้องยกระดับวิจัย-พัฒนา ส่วนนางสาวศุภลักษณ์อัมพุช รองประธานกรรมการ บริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป จํากัด มองว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปีหน้านั้น จะมีผลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ แม้ประเทศไทยได้เปรียบมากที่สุด เนื่องจากมีฐานการผลิตใหญ่ และฐานส่งออกแข็งแกร่ง ซึ่งได้เปรียบได้เปรียบทั้ง
วัฒนธรรมและการบริการที่ดีเยี่ยมแต่เราติดปัญหาการเมืองที่สร้างขึ้นมาฉุดรั้งตัวเอง ทําให้ประเทศไทยไม่ได้เปรียบอีกต่อไป แม้ปัจจุบันจะสงบลงไปแล้วแต่ก็ยังมีคําถามว่าจะรักษาความสงบเช่นนี้ได้อีกนานแค่ไหน ความขัดแย้งในประเทศ เป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย อย่างธุรกิจห้างสรรพสินค้า แม้จะลงทุนสูงเท่าไหร่ก็ตาม หรือสร้างห้างสรรพสินค้าที่สวยหรูขนาดไหน แต่แบรนด์สินค้าระดับไฮเอนด์ไม่ค่อยสนใจและมีมุมมองที่ไม่ดีเพราะไทยไม่เคยยกระดับประเทศ" 

         ดังนั้นทุกคนที่มีส่วนร่วมในสังคม จึงต้องช่วยกันคิดว่า ไทยจะแข่งขันกับ เพื่อนบ้านอย่างไร ในอนาคตประเทศไทยต้องสร้างความสามารถของแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจต้องย้ายฐานแรงงานไปยังประเทศอื่น อีกทั้งต้องการพัฒนาแบรนด์สินค้าให้มีมูลค่าสูงขึ้น โดยต้องพัฒนานวัตกรรมโดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่มีการเติบโตเร็ว ต้องยกระดับการวิจัยและพัฒนา ซึ่งรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยในส่วนนี้

ขอบคุณที่มา : http://www.dtn.go.th/
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,214 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ