ลบ แก้ไข

การแข่งขันเพื่อเป็นสำนักงานภูมิภาคแห่งเออีซี

    การแข่งขันเพื่อเป็นสำนั

         พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 กำหนดนโยบายเศรษฐกิจส าคัญประการหนึ่ง คือ ปรับปรุงภาษีและการอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อชักจูงให้
จัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ 
การค้า และการลงทุนของภูมิภาคได้ในที่สุด สำหรับการเป็นศูนย์กลางส านักงานภูมิภาคของบรรษัทข้ามชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลายาวนานนับสิบปีกว่าจะประสบผลสำเร็จ เพราะไม่เพียงแค่ดำเนินการ สร้างภาพเท่านั้น แต่ต้องปรับปรุงแก้ไขมากมาย  ทั้งปรับปรุงภาษีอากร แก้ไขกฎหมายกฎระเบียบจ านวนมากที่ไม่ เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ ยกระดับคุณภาพบริการของหน่วยราชการให้ทำงานอย่างรวดเร็วทันใจเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างไหลลื่น

       ปัจจุบันสิงคโปร์นับเป็นศูนย์กลางที่ตั้งสำนักงานภูมิภาคในทวีปเอเชีย คู่แข่งส าคัญ มีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ ฮ่องกง เนื่องจากมีจุดแข็งสำคัญ คือ เป็นประเทศที่ง่าย ได้ต่อการดำเนินธุรกิจจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 17% ยิ่งไปกว่านั้น มีมาตรการส่งเสริม REGIONAL HEADQUARTERS เป็นกรณีพิเศษ โดยลด ภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 15% เป็นเวลา 3 ปี และขยายได้อีก 2 ปี รวมเป็น 5 ปี  และในกิจการ  -INTERNATIONAL HEADQUARTERS ซึ่งมีเงื่อนไขมากกว่า จะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ เพียงแค่ 5% หรือ 10% เป็นเวลา 5 - 20 ปี
 
      สำหรับประเทศในเออีซีที่ ประสบผลสำเร็จรองลงมา คือ มาเลเซีย โดยในปี 2556 ที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จสามารถชักจูงบรรษัทข้ามชาติ 10 บริษัท ให้มาตั้งส านักงานภูมิภาค เป็นต้นว่า BECHTEL, EPSON TOYOCOM, HITACHI SYSTEMS, LINDE, CLARIANT ฯลฯ ทั้งนี้ แม้มีจุดด้อย คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล 25% สูงกว่าสิงคโปร์และไทย แต่มีมาตรการส่งเสริมOPERATIONAL HEADQUARTERS (OHQ) ซึ่งให้สิทธิและประโยชน์มากกว่าสิงคโปร์และไทยด้วยซ้ า กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลส าหรับรายได้จาก ต่างประเทศ 10 ปี โดยครอบคลุมถึงยกเว้นภาษีรายได้จากการให้บริการภายในประเทศด้วย หากรายได้นั้นมีสัดส่วนไม่เกิน 20% ของรายได้ทั้งหมด  ขณะที่ไทยมีภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% อยู่กึ่งกลางระหว่างสิงคโปร์และมาเลเซีย และให้ส่งเสริมตามมาตรการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) ของกรมสรรพากร ตามประกาศ พรฎ. 405/2545 โดยเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 10%จากบริการแก่บริษัทในเครือทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยไม่กำหนดเวลา ขณะที่ พรฎ.508/2553 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากในต่างประเทศ ขณะที่รายได้จากในประเทศจัดเก็บเพียง 10% แต่กำหนดเวลา 10 ปี สามารถขยายเวลาได้อีก 5 ปี รวมเป็น 15 ปี ประเด็นสำคัญที่เป็นจุดอ่อนของไทยจะเกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ที่ยุ่งยาก เช่น การก าหนดคำนิยามของวิสาหกิจในเครือค่อนข้างแคบ ขณะที่รายได้ที่อยู่ในข่าย ได้รับสิทธิและประโยชน์ก็แคบกว่าของสิงคโปร์ โดยสิงคโปร์ครอบคลุมถึงรายได้ จากค้าด้วย นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบอีกมากมายซึ่งยุ่งยากต่อ  การดำเนินธุรกิจ ทำให้บรรษัทข้ามชาติไม่นิยมที่จะมาจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคในไทย อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าระบบภาษีอากรของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป กรณีของมาเลเซียได้ กำหนดให้เสียภาษีในระบบ TERRITORIAL SYSTEM อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งหมายความว่ารายได้จากการ ดำเนินธุรกิจในต่างประเทศทั้งหมดไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด ยกเว้นธุรกิจเพียงไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากต่างประเทศด้วย เช่น ธนาคาร 
ประกันภัย เดินเรือ และการขนส่งทางอากาศขณะที่ระบบภาษีของสิงคโปร์และไทยมีลักษณะกึ่ง TERRITORIAL SYSTEM กล่าวคือ กำไรจากต่างประเทศหากน ากลับเข้าประเทศจะอยู่ในข่ายเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่มีกฎระเบียบยกเว้นภาษีให้

            หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยกรณีของไทยจะมี พรฎ.442/2548 กำหนดยกเว้นเฉพาะเงินปันผลที่นำเข้า จากต่างประเทศเท่านั้น มีเงื่อนไขต้องถือหุ้นในกิจการต่างประเทศเป็นสัดส่วนไม่ต่่ำกว่า 25% เป็นกิจการจัดตั้งในประเทศที่มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต่ ากว่า 15% และต้องถือหุ้นเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงานของไทย กำลังประชุมหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเหล่านี้เพื่อให้ยืดหยุ่น และเอื้ออำนวยต่อการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคมากขึ้น  ขณะที่สิงคโปร์มีหลักเกณฑ์ผ่อนปรนกว่าของไทยอย่างมาก มีเงื่อนไขเพียงว่าจะต้องเป็นกำไรมาจากประเทศที่มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต่ำกว่า 15% เท่านั้น และยกเว้นภาษีครอบคลุมถึงรายได้ประเภทอื่นๆ กว้างขวางกว่าไทย โดยนอกเหนือเงินปันผลแล้ว ยังครอบคลุมถึงรายได้อื่นๆ เช่น  กำไรจากกิจการสาขา กำไรจากการให้บริการในต่างประเทศ ฯลฯ

ขอบคุณที่มา : 
ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) (กรุงเทพธุรกิจ)
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,622 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ