ลบ แก้ไข

ไทยยังเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในอาเซียนแต่ต้องเร่งปรับตัวก่อนถูกอินโดนีเซียช่วงชิง



        จากกระแสข่าวว่าบริษัทญี่ปุ่นหลายรายเริ่มวางกลยุทธ์ทางธุรกิจในอินโดนีเซียและภูมิภาคอินโดจีนภายใต้แนวคิด   "Thailand Plus One หรือ Thailand +1"   ที่กําหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงโครงข่ายทางธุรกิจ การผลิต และการทําตลาดภายในภูมิภาค แต่ขณะเดียวกันก็
มีการกระจายการลงทุนออกไปยังประเทศอื่นๆ  ในภูมิภาคควบคู่ไปด้วย ทําให้เกิดคําถามว่า แนวคิดนี้เป็นการลดความอย่างไรก็ตาม ถ้ามองเชิงข้อเท็จจริง ไทยเริ่มมีข้อจํากัดบางประการทั้งอัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อันเป็นอุปสรรคในการขยายธุรกิจ  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่ประเทศไทย
กําลังเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว ทําให้ข้อได้เปรียบด้านแรงงานที่เคยมีจํานวนมากและราคาถูกทยอยหมดไป ขณะที่ไทยจําเป็นต้องอาศัยเงินลงทุนจากต่างประเทศ  โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีเสี่ยงของการลงทุนในไทยหรือไม่ และประเทศไทยเริ่มหมดบทบาทในการดึงดูดเงินลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศแล้วจริงหรือ กลยุทธ์ Thailand Plus One  ซึ่งก็คือแนวคิดที่มุ่งมองหาลู่ทางในการขยายฐานการผลิตที่ นอกเหนือจากที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เพื่อกระจายภาคส่วนในการทํางาน  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง (Labor-intensive industries) ไปยังประเทศใกล้เคียงในภูมิภาคอาเซียน ปัญหาเชิงโครงสร้างและจําเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยี
จึงเป็นประเด็นที่นักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่นนํามาพิจารณาในการขยายฐานการผลิตด้วย
 
          ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียกําลังมาแรงจากการที่มีสัดส่วนคนในวัยทํางานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการสํารวจโดยสถานทูตอินโดนีเซีย ณ นครโอซากา พบว่าประชากรกว่า 50 ล้านคน จาก 240 ล้านคน มีกําลังซื้อรถยนต์และก็เป็นการแก้ปัญหาที่นักลงทุนญี่ปุ่นประสบในไทยด้วยซึ่งถ้ามองในแง่บวก ก็คือ ไทยยังมีจุดเด่นหลายประการที่บริษัทญี่ปุ่นจํานวนมากได้เลือกไทยให้เป็นฐานการผลิตหรือเป็น "ฮับ" ของการลงทุนที่แข็งแกร่งของญี่ปุ่นต่อไปในการขยาย ไปสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ทําให้ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในหลายอุตสาหกรรม อาทิยานยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มากกว่า 1 คัน ซึ่งนอกจากจะเป็นปัจจัยช่วยส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอินโดนีเซียแล้ว ยังจะเป็นผลดีต่อการริเริ่มนวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอีกด้วยรูปธรรมที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ การที่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นหลายรายสนใจเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียกันมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์



          เนื่องจากอินโดนีเซียมีการเพิ่มขึ้นของจํานวนชนชั้นกลางที่มีกําลังซื้อสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ผู้บริโภคอินโดนีเซียเริ่มเปลี่ยนจากการใช้รถจักรยานยนต์มาใช้รถยนต์มากขึ้น ขณะที่มีบริษัทญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์จํานวนมากแม้อินโดนีเซียได้ตั้งเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ในภูมิภาคแทนไทยอย่างเร็วที่สุดภายในปีนี้โดยละเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสินค้านําเข้าในกลุ่มวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางสําหรับการผลิตเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการนําเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศ และลดภาษีรายได้เป็นพิเศษให้แก่นักลงทุนที่ผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจากแรงขับเคลื่อนของชนชั้นกลางที่ขยายตัว ทําให้ผู้ประกอบการญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียเป็นจํานวนมาก อย่างไรก็ตามการ
จะไปถึงขั้นเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกยานยนต์แทนไทยนั้นคงต้องใช้เวลา เนื่องจากอินโดนีเซียยังไม่พร้อม
ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่จะมารองรับและขาดแรงงานที่มีทักษะสูง อีกทั้งลักษณะรถยนต์ที่คนอินโดนีเซียนิยมคือ รถประเภทอเนกประสงค์ (MPVs) และรถอเนกประสงค์แบบสปอร์ต (SUV) จึงเป็นตลาดที่แตกต่างจากไทยที่เป็นฐานการผลิตรถกระบะและรถยนต์อีโคคาร์จึงน่าจะเป็นโอกาสของไทยในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
เพื่อรองรับความต้องการยานยนต์จากอินโดนีเซียในลักษณะเกื้อหนุนกันมากกว่าที่จะเป็นการแข่งขันกันโดยตรง

 
       
        ปัจจุบันสิ่งที่เหมือนกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยและอินโดนีเซีย  คือ การรับจ้างผลิต และ
ได้รับเทคโนโลยีเฉพาะขั้นการผลิต  ยังไม่ถึงขั้นการออกแบบ ดังนั้นข้อได้เปรียบเรื่องขนาดตลาดและแรงงานจะเป็นอาวุธสําคัญที่จะทําให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของอินโดนีเซียก้าวกระโดดได้ในทํานองเดียวกับเส้นทางทาง -อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้วิวัฒนาการมาจนมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ และมีแรงงานที่ได้รับการพัฒนาทักษะมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันที่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยคงชะล่าใจไม่ได้การปรับตัวไปสู่ขั้นสูงกว่าของห่วงโซ่การผลิต และการเข้าสู่เทคโนโลยียานยนต์ใหม่ๆ ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง เป็นเรื่องที่ไทยต้องเตรียมตัวให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์ประหยัดพลังงานระยะที่ 2 หรืออีโคคาร์เฟส 2 ที่ไทยจะได้รับประโยชน์ "สร้างเงิน-สร้างงาน" โดยตรงจากการที่มีผู้ประกอบการหลายรายเข้ามาลงทุนทั้งค่ายรถเก่าและใหม่จากแรงจูงใจ  ทางภาษีที่ลดลงมากกว่าเฟสแรก ขณะที่ผู้บริโภคก็จะได้ซื้อรถยนต์ในราคาที่ถูกลง ขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยก็มีโอกาสส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไปอินโดนีเซียได้มากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอินโดนีเซีย  หรืออาจจะขยายฐานการผลิตโดยการตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในอินโดนีเซีย ก็จะยิ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับสินค้าไทยมากขึ้นจึงเห็นว่าไทยยังเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในอาเซียน เพียงแต่ต้องเร่งปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพทั้งแรงงานและเครื่องจักรเพื่อรองรับการผลิตยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสูงและหนีคู่แข่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น

ขอบคุณที่มา : 
โพสต์ทูเดย์


 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 7,857 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ