ลบ
แก้ไข

นายสัมรังสี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา ได้โพสต์ภาพถ่ายคู่กับหลักเขตแดนหลักหนึ่ง ที่เจ้าตัวกล่าวอ้างว่าเป็นหลักปักปันเขตแดน ตั้งแต่สมัยฝรั่งเศส ที่ฝ่ายไทยย้ายเข้าไปปักในดินแดนกัมพูชา ลึกเข้าไปถึง 6 กิโลเมตรที่บริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทางฝั่งตรงข้ามดินแดนไทยตอนใต้ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ในปัจจุบัน ซึ่งเจ้าตัวกล่าวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามระหว่างชาวเขมรด้วยกันเอง ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990
ผู้นำพรรคกู้ชาติกัมพูชากล่าวว่า ได้ทราบเรื่องนี้จากราษฎรหมู่บ้านบึงตะกวน (Boeung Trokuon) คอมมูนกกระเมียต (Kok Romeat) อ.ทะมอพุก (Thmor Pouk) จ.บ้านใต้มีชัย (Banteay Meanchey) และ ได้เดินทางไปพิสูจน์ พบหลักปักปันเขตแดนดังกล่าว ซึ่งคนในพื้นที่กล่าวว่า ทางการไทยได้โยกย้ายเข้าไปปักไว้ที่นั่น
"เมื่อผมเดินทางไปที่นั่นวันที่ 5 ตุลาคม 2557 ผมได้ตรวจหลักปักปันเขตแดนขะแมร์-สยาม ตั้งแต่สมัยอาณานิคมศตวรรษที่ 20 (ราวปี ค.ศ.1907) ที่ปักอยู่ในบึง ในคอมมูนกกระเมียต ชาวบ้านบอกว่า ทางการไทยย้ายหลักเขตแดนหลักนี้ เข้าไปในดินแดนกัมพูชาล7ก 6 กม. ครั้งที่ชาวขะแมร์รบกับชาวขะแมร์ ไม่นานมานี้" นายรังสีเขียนลงในเฟซบุ๊กในวันอาทิตย์ 12 ต.ค. ซึ่งหมายถึงช่วงสงครามกลางเมือง (2522-2532) ระหว่างรัฐบาลกัมพูชากลุ่มเฮงสัมริน-เจียซิมกับฮุนเซน ที่กองทัพเวียดนามจัดตั้งขึ้นในกรุงพนมเปญ กับรัฐบาลผสมสามฝ่ายนำโดยสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ที่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ
บริเวณดังกล่าวอยู่ฝั่งตรงข้ามพื้นที่ทางฝั่งไทย ทางตอนใต้ อ.ตาพระยา กับตอนเหนือ อ.อรัญประเทศ ซึ่งเป็นเขต จ.บ้านใต้มีชัย (บันเตียเมียนเจย) ของกัมพูชา ด้านหนึงของหลักปักปันเขตแดนมีข้อความสลักลงในเนื้อหิน ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาเขมร บ่งบอกว่าเป็นฝั่ง "กรุงสยาม" และ อีกด้านหนึ่งระบุให้ทราบว่าเป็นฝั่งกัมพูชา เช่นเดียวกันกับหลักเขตแดนทั่วไปที่พบตามแนวชายแดนสองประเทศในที่อื่นๆ แต่นายรังสีไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ อีก
ในคลิปชิ้นหนึ่งที่วิทยุเอเชียเสรี ภาคภาษาเขมรนำออกเผยแพร่ในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาหลักหนึ่ง เป็นหลักที่ 64 แต่ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า เป็นหลักที่นายรังสีกล่าวอ้างถึงหรือไม่ สถานีวิทยุที่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐ และออกอากาศเป็นหลายภาษาทั่วโลกแห่งนี้ ยังรายงานเกี่ยวกับปัญหาชายแดนกัมพูชา-ไทย ที่มีตั้งแต่ จ.พระวิหาร อุดรมีชัย พระตะบอง บ้านใต้มีชัย ลงไปจนถึง จ.ไพลิน
เมื่อหลายปีก่อนนายรังสีได้นำราษฎร ลุกขึ้นทวงถามรัฐบาลฮุนเซน เกี่ยวกับฝ่ายเวียดนามปักหลักหมายเขตแดน ลึกเข้าไปในดินแดนกัมพูชาตั้งแต่ 0.5 จนถึง 2 กม. ในขณะที่ทั้งสองฝ่าย กำลังสำรวจเพื่อปักปปันเขตแดนระหสว่างสองประเทศ ทางตะวันออกของกัมพูชา นั่นคือช่วงปีที่กำลังมีความตึงเครียดตามแนวชายแดนกับไทย ด้านปราสาทพระวิหาร
ครั้งนั้นนายรังสีถูกรัฐบาลฮุนเซนดำเนินคดี และศาลได้พิพากษาจำคุกผู้นำฝ่ายค้านเป็นเวลา 2 ปี ในความผิด "ปลอมแปลงเอกสาร" และ "ปลุกปั่นยุยง" ขณะที่เจ้าตัวอยู่ในต่างแดน และ ไม่ได้เดินทางกลับประเทศอีก จนกระทั่งได้รับอภัยโทษเมือปีที่แล้ว หลังการเลือกตั้งทั่วไป ที่ผู้สมัครของพรรคกู้ชาติกัมพูชา (National Rescue Party) ของเขาได้รับเลือกเข้าสู่รัฐสภาอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ ทั้งยังกล่าวหาฝ่ายรัฐบาลชนะโดยได้เสียงข้างมากที่ไม่เด็ดขาด จากการโกงเลือกตั้ง
ปัจจุบันพรรค NRP ได้เข้าร่วมกับรัฐบาลฮุนเซน หลังจากสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงทางการเมืองกันเมื่อเร็วๆ นี้ และ ตกลงกันจะแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งให้มีความโปร่งใส สำหรับการเลือกตั้งสมัยต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้า.
"สัมรังสี" ถ่ายรูปหรา หาไทยลักไก่ย้ายหลักเขตแดนลึก 6 กม.เข้าไปในเขมร
นายสัมรังสี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา ได้โพสต์ภาพถ่ายคู่กับหลักเขตแดนหลักหนึ่ง ที่เจ้าตัวกล่าวอ้างว่าเป็นหลักปักปันเขตแดน ตั้งแต่สมัยฝรั่งเศส ที่ฝ่ายไทยย้ายเข้าไปปักในดินแดนกัมพูชา ลึกเข้าไปถึง 6 กิโลเมตรที่บริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทางฝั่งตรงข้ามดินแดนไทยตอนใต้ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ในปัจจุบัน ซึ่งเจ้าตัวกล่าวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามระหว่างชาวเขมรด้วยกันเอง ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990
ผู้นำพรรคกู้ชาติกัมพูชากล่าวว่า ได้ทราบเรื่องนี้จากราษฎรหมู่บ้านบึงตะกวน (Boeung Trokuon) คอมมูนกกระเมียต (Kok Romeat) อ.ทะมอพุก (Thmor Pouk) จ.บ้านใต้มีชัย (Banteay Meanchey) และ ได้เดินทางไปพิสูจน์ พบหลักปักปันเขตแดนดังกล่าว ซึ่งคนในพื้นที่กล่าวว่า ทางการไทยได้โยกย้ายเข้าไปปักไว้ที่นั่น
"เมื่อผมเดินทางไปที่นั่นวันที่ 5 ตุลาคม 2557 ผมได้ตรวจหลักปักปันเขตแดนขะแมร์-สยาม ตั้งแต่สมัยอาณานิคมศตวรรษที่ 20 (ราวปี ค.ศ.1907) ที่ปักอยู่ในบึง ในคอมมูนกกระเมียต ชาวบ้านบอกว่า ทางการไทยย้ายหลักเขตแดนหลักนี้ เข้าไปในดินแดนกัมพูชาล7ก 6 กม. ครั้งที่ชาวขะแมร์รบกับชาวขะแมร์ ไม่นานมานี้" นายรังสีเขียนลงในเฟซบุ๊กในวันอาทิตย์ 12 ต.ค. ซึ่งหมายถึงช่วงสงครามกลางเมือง (2522-2532) ระหว่างรัฐบาลกัมพูชากลุ่มเฮงสัมริน-เจียซิมกับฮุนเซน ที่กองทัพเวียดนามจัดตั้งขึ้นในกรุงพนมเปญ กับรัฐบาลผสมสามฝ่ายนำโดยสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ที่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ
บริเวณดังกล่าวอยู่ฝั่งตรงข้ามพื้นที่ทางฝั่งไทย ทางตอนใต้ อ.ตาพระยา กับตอนเหนือ อ.อรัญประเทศ ซึ่งเป็นเขต จ.บ้านใต้มีชัย (บันเตียเมียนเจย) ของกัมพูชา ด้านหนึงของหลักปักปันเขตแดนมีข้อความสลักลงในเนื้อหิน ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาเขมร บ่งบอกว่าเป็นฝั่ง "กรุงสยาม" และ อีกด้านหนึ่งระบุให้ทราบว่าเป็นฝั่งกัมพูชา เช่นเดียวกันกับหลักเขตแดนทั่วไปที่พบตามแนวชายแดนสองประเทศในที่อื่นๆ แต่นายรังสีไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ อีก
ในคลิปชิ้นหนึ่งที่วิทยุเอเชียเสรี ภาคภาษาเขมรนำออกเผยแพร่ในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นหลักเขตแดนไทย-กัมพูชาหลักหนึ่ง เป็นหลักที่ 64 แต่ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า เป็นหลักที่นายรังสีกล่าวอ้างถึงหรือไม่ สถานีวิทยุที่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐ และออกอากาศเป็นหลายภาษาทั่วโลกแห่งนี้ ยังรายงานเกี่ยวกับปัญหาชายแดนกัมพูชา-ไทย ที่มีตั้งแต่ จ.พระวิหาร อุดรมีชัย พระตะบอง บ้านใต้มีชัย ลงไปจนถึง จ.ไพลิน
เมื่อหลายปีก่อนนายรังสีได้นำราษฎร ลุกขึ้นทวงถามรัฐบาลฮุนเซน เกี่ยวกับฝ่ายเวียดนามปักหลักหมายเขตแดน ลึกเข้าไปในดินแดนกัมพูชาตั้งแต่ 0.5 จนถึง 2 กม. ในขณะที่ทั้งสองฝ่าย กำลังสำรวจเพื่อปักปปันเขตแดนระหสว่างสองประเทศ ทางตะวันออกของกัมพูชา นั่นคือช่วงปีที่กำลังมีความตึงเครียดตามแนวชายแดนกับไทย ด้านปราสาทพระวิหาร
ครั้งนั้นนายรังสีถูกรัฐบาลฮุนเซนดำเนินคดี และศาลได้พิพากษาจำคุกผู้นำฝ่ายค้านเป็นเวลา 2 ปี ในความผิด "ปลอมแปลงเอกสาร" และ "ปลุกปั่นยุยง" ขณะที่เจ้าตัวอยู่ในต่างแดน และ ไม่ได้เดินทางกลับประเทศอีก จนกระทั่งได้รับอภัยโทษเมือปีที่แล้ว หลังการเลือกตั้งทั่วไป ที่ผู้สมัครของพรรคกู้ชาติกัมพูชา (National Rescue Party) ของเขาได้รับเลือกเข้าสู่รัฐสภาอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ ทั้งยังกล่าวหาฝ่ายรัฐบาลชนะโดยได้เสียงข้างมากที่ไม่เด็ดขาด จากการโกงเลือกตั้ง
ปัจจุบันพรรค NRP ได้เข้าร่วมกับรัฐบาลฮุนเซน หลังจากสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงทางการเมืองกันเมื่อเร็วๆ นี้ และ ตกลงกันจะแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งให้มีความโปร่งใส สำหรับการเลือกตั้งสมัยต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้า.
|
|
![]() |
ขอบคุณที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
กระทรวงข่าวสารกัมพูชา ได้เรียกร้องมาตรการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนวิทยุ และโทรทัศน์ตั้งแต่เดือน ต.ค. นี้ ข้อเสนอแนะดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมการควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนสถานีโทรทัศน์...by Editor
-
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้มแข็งสมรรถนะด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนถูกจัดขึ้นในกรุงมะนิลา...by dogTech
-
เนื่องด้วยในปี 2015 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) จะกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากขึ้นทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาคธุรกิจ...by dogTech
-
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ประกาศวันนี้ (1) ว่า ธนาคารจะจัดสรรทุนแบบมีเงื่อนไขให้แก่กัมพูชามากกว่า 800 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และลดปัญหาความยากจนในประเทศ...by Editor
เรื่องมาใหม่
คำฮิต