ลบ
แก้ไข
ผลผลิตมันสําปะหลัง 10 ปีโดย นายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช ประธานคณะสํารวจภาวการณ์ผลิตและการค้ามันสําปะหลัง ฤดูการผลิต 2557/58 สรุปผลการสํารวจผลผลิตมันสําปะหลัง ในช่วง 10 ปีพบว่าในปี 2557/2558 ไทยมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 8.836 ล้านไร่ สูงสุดในรอบ 10 ปีที่เคยสํารวจปี2548/ 2549 ซึ่งมีพื้นที่ 6.693 ล้านไร่ แต่ในด้านผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ปริมาณ 3.536 ตันต่อไร่ ยังคงใกล้เคียงกับเมื่อ 10 ปีก่อน ที่ผลิต ได้ 3.375 ตันต่อไร่ส่วนภาพรวมผลผลิตในปี 2557/2558 ทําได้เพียง31.240 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% จากปีการผลิต 2556/ 2557 มีปริมาณ 30.228 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีก่อน ที่ไทยผลิตได้ 22.584 ล้านตัน
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าไทยมุ่งเพิ่ม "พื้นที่ปลูก" มากกว่าจะแก้ปัญหาการเพิ่ม "ประสิทธิภาพในการผลิต" ขณะที่ตัวเลขปริมาณความต้องการใช้มันสําปะหลัง ในช่วง 10 ปีเพิ่มสูงขึ้น
โดยในปี 2557/2558 ปริมาณความต้องการใช้เพิ่มเป็น 40.05 ล้านตัน จาก ปี 2556/2557 ที่มีปริมาณความต้องการ ใช้ 39.18 ล้านตัน สาเหตุที่ความต้องการมันสําปะหลังเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มสัดส่วนการใช้มันสําปะหลังในการผลิตเอทานอล ซึ่งเพิ่มจาก 1.8 ล้านตัน ในปีก่อน เป็น 2 ล้านตัน หรือเพิ่มสัดส่วนจาก 4% เป็น 5% และการใช้ในอุตสาหกรรมมันเส้น/ มันอัดเม็ด คิดเป็นปริมาณเพิ่มขึ้นจาก16.88 ล้านตัน เป็น 17.55 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนจาก 43% เป็น 44% ของปริมาณการใช้ทั้งหมดขณะที่สัดส่วนการใช้มันสําปะหลัง เพื่อนําไปผลิตแป้งมันสําปะหลัง ยังมีปริมาณเท่าเดิม 20.50 ล้าน ตันคิดเป็นสัดส่วนลดลงจาก 53% เหลือ 51% ของปริมาณการใช้มันสําปะหลัง
นางสาวปานจิตต์พิศวง รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้ข้อมูลว่า ช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2558 ไทยนําเข้ามันสําปะหลังเส้นจากชายแดน 1,911,200 ตัน เพิ่มขึ้น 17.14% จากช่วงปีก่อนที่นําเข้า 1,016,926 ตัน โดยเป็นการนําเข้าจากชายแดนกัมพูชา ปริมาณ 1,063,377 ตัน เพิ่มขึ้น11.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนที่จะเข้าสู่ AEC ปริมาณผลผลิตมันสําปะหลังรวมของอาเซียนอยู่ที่74.81 ล้านตัน ไทยเป็นอันดับ 1 สามารถผลิตหัวมันสดได้ประมาณปีละ 30 ล้านตัน หรือสัดส่วน 38%ของอาเซียน แต่ปริมาณการผลิตของไทยในปี 2557 ลดลง 0.69% จากปี 2556 ขณะที่ผู้ผลิตอื่นๆ ในอาเซียนสามารถเพิ่มผลผลิตได้ทุกๆ ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย 24.60 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.84% เวียดนาม9.80 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.62% กัมพูชา 8.70 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15.38% ฟิลิปปินส์ 2.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้น7.42% และ สปป.ลาว 8.7 แสนตัน เพิ่มขึ้น 7.41% จากปีก่อน
หากเทียบบนเวทีโลก ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับ 2 ได้ 30 ล้านตัน รองจากไนจีเรีย ซึ่ง เป็นอันดับ 1ของโลก ผลิตได้ 55 ล้านตัน แต่ไทยยังน่าห่วงเพราะพึ่งพาการส่งออกไปตลาดจีน 99%
นายเสรีเด่นวรลักษณ์นายกกิตติมศักดิ์สมาคมการค้ามันสําปะหลังไทย กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวทําให้ยืนยันว่า ราคามันสําปะหลังในช่วงนี้ยังไม่มีปัญหา ในช่วง 1-2 เดือนนี้แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือในทุกๆ ปีช่วงเดือนก.พ.-มี.ค.จะเป็นช่วงที่เกษตรกรเร่งขุดหัวมันสําปะหลังพร้อมกัน เพื่อนําเงินไปใช้หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อาจทําให้ราคาหัวมันในช่วงดังกล่าวต่ําลง แต่คงไม่ถึงกับขาดทุน เพราะคาดว่าราคาในปีนี้เฉลี่ยไม่ต่ํากว่า กก.ละ 2.20-2.50 บาทสูงกว่า ต้นทุนของเกษตรกรที่ผลิตได้ 1.50 บาท
นายสุชาติสินรัตน์รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ตั้งข้อสังเกตว่า ในปีก่อนหน้านี้รัฐบาลไม่ได้จัดทํานโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังก็สามารถอยู่ได้ในปีนี้รัฐบาลยังไม่ใช้นโยบายจํานําเด็ดขาด จะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการค้าเสรีแต่ทางกรมได้เตรียมมาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการอยู่แล้ว โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% หากราคามันสําปะหลังมีปัญหา
พร้อมกันนี้รัฐบาลเตรียมให้มีการปฏิรูปด้านการเกษตร โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กําหนดมาตรการเร่งด่วนจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการ มันสําปะหลัง จัดทํายุทธศาสตร์ระยะสั้น-กลาง-ยาว จัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทํายุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มันสําปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ํามัน) โดยวางแนวทางแก้ปัญหา "ต้นทาง" ต้นทุนการผลิตสูงแข่งขันไม่ได้ "กลางทาง" คือ ผู้ประกอบการจีนเข้ามาลงทุน แปรรูป และส่งออกเอง เป็นโซ่อุปสงค์หรือโซ่แห่งความต้องการของลูกค้า (Demand Chain) เต็มรูปแบบ "ปลายทาง" ลดการพึ่งพิงตลาดจีน โดยขยายการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่ร่วมจัดทําความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค (RCEP) หรืออาเซียน+6 เพื่อเปิดตลาดใหม่ๆ
นอกจากนี้รัฐต้องการผลักดันให้มีการใช้สิทธิประโยชน์จากพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดได้แก่ จ.ตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร และสงขลา ซึ่งจะได้สิทธิพิเศษทั้งด้านภาษี การบริการแบบเบ็ดเสร็จ การสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว และการเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาค
ขอบคุณที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
'มันสําปะหลัง อาเซียน' จ่อแซงไทย จุดอ่อน 10 ปีผลผลิตนิ่งแถมพึ่งพาตลาดจีน
ผลผลิตมันสําปะหลัง 10 ปีโดย นายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช ประธานคณะสํารวจภาวการณ์ผลิตและการค้ามันสําปะหลัง ฤดูการผลิต 2557/58 สรุปผลการสํารวจผลผลิตมันสําปะหลัง ในช่วง 10 ปีพบว่าในปี 2557/2558 ไทยมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 8.836 ล้านไร่ สูงสุดในรอบ 10 ปีที่เคยสํารวจปี2548/ 2549 ซึ่งมีพื้นที่ 6.693 ล้านไร่ แต่ในด้านผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ปริมาณ 3.536 ตันต่อไร่ ยังคงใกล้เคียงกับเมื่อ 10 ปีก่อน ที่ผลิต ได้ 3.375 ตันต่อไร่ส่วนภาพรวมผลผลิตในปี 2557/2558 ทําได้เพียง31.240 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% จากปีการผลิต 2556/ 2557 มีปริมาณ 30.228 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีก่อน ที่ไทยผลิตได้ 22.584 ล้านตัน
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าไทยมุ่งเพิ่ม "พื้นที่ปลูก" มากกว่าจะแก้ปัญหาการเพิ่ม "ประสิทธิภาพในการผลิต" ขณะที่ตัวเลขปริมาณความต้องการใช้มันสําปะหลัง ในช่วง 10 ปีเพิ่มสูงขึ้น
โดยในปี 2557/2558 ปริมาณความต้องการใช้เพิ่มเป็น 40.05 ล้านตัน จาก ปี 2556/2557 ที่มีปริมาณความต้องการ ใช้ 39.18 ล้านตัน สาเหตุที่ความต้องการมันสําปะหลังเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มสัดส่วนการใช้มันสําปะหลังในการผลิตเอทานอล ซึ่งเพิ่มจาก 1.8 ล้านตัน ในปีก่อน เป็น 2 ล้านตัน หรือเพิ่มสัดส่วนจาก 4% เป็น 5% และการใช้ในอุตสาหกรรมมันเส้น/ มันอัดเม็ด คิดเป็นปริมาณเพิ่มขึ้นจาก16.88 ล้านตัน เป็น 17.55 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนจาก 43% เป็น 44% ของปริมาณการใช้ทั้งหมดขณะที่สัดส่วนการใช้มันสําปะหลัง เพื่อนําไปผลิตแป้งมันสําปะหลัง ยังมีปริมาณเท่าเดิม 20.50 ล้าน ตันคิดเป็นสัดส่วนลดลงจาก 53% เหลือ 51% ของปริมาณการใช้มันสําปะหลัง
นางสาวปานจิตต์พิศวง รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ให้ข้อมูลว่า ช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2558 ไทยนําเข้ามันสําปะหลังเส้นจากชายแดน 1,911,200 ตัน เพิ่มขึ้น 17.14% จากช่วงปีก่อนที่นําเข้า 1,016,926 ตัน โดยเป็นการนําเข้าจากชายแดนกัมพูชา ปริมาณ 1,063,377 ตัน เพิ่มขึ้น11.77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนที่จะเข้าสู่ AEC ปริมาณผลผลิตมันสําปะหลังรวมของอาเซียนอยู่ที่74.81 ล้านตัน ไทยเป็นอันดับ 1 สามารถผลิตหัวมันสดได้ประมาณปีละ 30 ล้านตัน หรือสัดส่วน 38%ของอาเซียน แต่ปริมาณการผลิตของไทยในปี 2557 ลดลง 0.69% จากปี 2556 ขณะที่ผู้ผลิตอื่นๆ ในอาเซียนสามารถเพิ่มผลผลิตได้ทุกๆ ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย 24.60 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.84% เวียดนาม9.80 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.62% กัมพูชา 8.70 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15.38% ฟิลิปปินส์ 2.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้น7.42% และ สปป.ลาว 8.7 แสนตัน เพิ่มขึ้น 7.41% จากปีก่อน
หากเทียบบนเวทีโลก ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับ 2 ได้ 30 ล้านตัน รองจากไนจีเรีย ซึ่ง เป็นอันดับ 1ของโลก ผลิตได้ 55 ล้านตัน แต่ไทยยังน่าห่วงเพราะพึ่งพาการส่งออกไปตลาดจีน 99%
นายเสรีเด่นวรลักษณ์นายกกิตติมศักดิ์สมาคมการค้ามันสําปะหลังไทย กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวทําให้ยืนยันว่า ราคามันสําปะหลังในช่วงนี้ยังไม่มีปัญหา ในช่วง 1-2 เดือนนี้แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือในทุกๆ ปีช่วงเดือนก.พ.-มี.ค.จะเป็นช่วงที่เกษตรกรเร่งขุดหัวมันสําปะหลังพร้อมกัน เพื่อนําเงินไปใช้หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อาจทําให้ราคาหัวมันในช่วงดังกล่าวต่ําลง แต่คงไม่ถึงกับขาดทุน เพราะคาดว่าราคาในปีนี้เฉลี่ยไม่ต่ํากว่า กก.ละ 2.20-2.50 บาทสูงกว่า ต้นทุนของเกษตรกรที่ผลิตได้ 1.50 บาท
นายสุชาติสินรัตน์รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ตั้งข้อสังเกตว่า ในปีก่อนหน้านี้รัฐบาลไม่ได้จัดทํานโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังก็สามารถอยู่ได้ในปีนี้รัฐบาลยังไม่ใช้นโยบายจํานําเด็ดขาด จะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการค้าเสรีแต่ทางกรมได้เตรียมมาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการอยู่แล้ว โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% หากราคามันสําปะหลังมีปัญหา
พร้อมกันนี้รัฐบาลเตรียมให้มีการปฏิรูปด้านการเกษตร โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กําหนดมาตรการเร่งด่วนจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการ มันสําปะหลัง จัดทํายุทธศาสตร์ระยะสั้น-กลาง-ยาว จัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทํายุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มันสําปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ํามัน) โดยวางแนวทางแก้ปัญหา "ต้นทาง" ต้นทุนการผลิตสูงแข่งขันไม่ได้ "กลางทาง" คือ ผู้ประกอบการจีนเข้ามาลงทุน แปรรูป และส่งออกเอง เป็นโซ่อุปสงค์หรือโซ่แห่งความต้องการของลูกค้า (Demand Chain) เต็มรูปแบบ "ปลายทาง" ลดการพึ่งพิงตลาดจีน โดยขยายการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่ร่วมจัดทําความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค (RCEP) หรืออาเซียน+6 เพื่อเปิดตลาดใหม่ๆ
นอกจากนี้รัฐต้องการผลักดันให้มีการใช้สิทธิประโยชน์จากพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดได้แก่ จ.ตาก สระแก้ว ตราด มุกดาหาร และสงขลา ซึ่งจะได้สิทธิพิเศษทั้งด้านภาษี การบริการแบบเบ็ดเสร็จ การสนับสนุนการใช้แรงงานต่างด้าว และการเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาค
ขอบคุณที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
สำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนก.ค.ของสิงคโปร์ ปรับตัวขึ้น 5.5% เมื่อเทียบรายปี เนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่ง มูลค่ายอดค้าปลีกทั้งหมดในเดือนก.ค. คาดว่าจะแตะที่ 3.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์...by Editor
-
ปี2020 สิงคโปร์ขึ้นแท่นศูนย์กลางเครือข่ายการค้าเสรีของโลก เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจาก krobkruakao.com...by Editor Bow
-
เวียดนามกับไทยไม่ได้เป็นเพียง 2 ประเทศที่เข้าร่วมการประมูลขายข้าวระบบจีทูจี หรือรัฐบาลให้แก่รัฐบาลกับฟิลิปปินส์ แต่ปีนี้กัมพูชาได้เข้าเป็นฝ่ายที่ 3 อย่างเต็มตัวซึ่งจะทำให้ 2...by dogTech
-
เว็บไซต์เวียดนามดอทเน็ต สื่อของทางเวียดนาม รายงานว่า 14 บริษัท ซึ่งหมายรวมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) จาก 8 ประเทศในภูมิภาคยุโรปได้เดินทางมายังประเทศเวียดนามเพื่อวางรากฐาน และแสวงหาโอกาสการลงทุน...by Editor
เรื่องมาใหม่
คำฮิต