ลบ
แก้ไข
ปรับยุทธศาสตร์ 5 ท่าเรือเซ็นเตอร์เชื่อมโยง 'เออีซี'

นายสุรพงษ์รงศิริกุล รองผู้อํานวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดเผยว่า จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีที่จะมีขึ้นในปลายปี 2558 การท่าเรือฯจึงได้ปรับยุทธศาสตร์ 5 ท่าเรือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการขนส่งสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง เพื่อเชื่อมไปยังประเทศต่างๆ ในละแวกใกล้เคียง ประกอบด้วย ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือเชียงของ ท่าเรือเชียงแสน 2 และท่าเรือระนอง โดยท่าเรือกรุงเทพจะพัฒนาโดยนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้แทนคนให้มากที่สุด เพื่อความรวดเร็วในการขนส่งสินค้าออกจากท่าโดยเฉพาะระบบตู้คอนเทนเนอร์แต่ปริมาณการส่งออกจะคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงให้สูงขึ้น จากปัจจุบัน คือ 1.34 ล้านทีอียู
ส่วนท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งถือเป็นท่าเรือขนาดใหญ่และมีปริมาณขนส่งสินค้าและนําเข้ามากที่สุดจากประเทศเพื่อนบ้าน มีปริมาณการส่งออกต่อปีอยู่ที่ 5.7 ล้านทีอียูจะผลักดันการใช้ท่าเรือแหลมฉบังในเฟสที่ 2 ให้เต็มพื้นที่ และขยายท่าเรือในเฟสที่ 3 ซึ่งสามารถรองรับอีกหลายเท่าตัว เพื่อรองรับการขยายตัวการขนส่งสินค้าในอีก 8-10 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้อีก 3 ท่าเรือที่กทท.มุ่งเน้นมากที่สุดคือ ท่าเรือเชียงของ ท่าเรือเชียงแสน และท่าเรือระนอง เนื่องจากปัจจุบันยังมีจุดอ่อนอยู่มากคือ ท่าเรือเชียงของ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ส่งผลให้การขนส่งสินค้าจะใช้ทางบกหรือสะพาน รวมทั้งคนด้วย ทําให้การใช้ท่าเรือลดลง อย่างไรก็ดีท่าเรือเชียงของ ได้พิจารณาเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง เดิมใช้เดินเรือข้ามฟากเพื่อขนคนและสินค้าไปยังฝั่งสปป.ลาว แต่เมื่อมีสะพาน จึงไม่จําเป็นต้องใช้ดังนั้น กทท.จึงร่วมกับสปป.ลาวเพื่อขนนักท่องเที่ยว และตู้สินค้าไปทางใต้ของสปป.ลาว คือหลวงพระบางแทน
ส่วนท่าเรือเชียงแสน 2 จะเปิดเส้นทางเดินเรือตู้สินค้าร่วมกับจีน ซึ่งอยู่ในขั้นกําลังเจรจาหารือกับประเทศจีน เพื่อร่วมกันขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้จีนอยู่ระหว่างก่อสร้างท่าเรือที่จะรองรับตู้สินค้า โดยเป้าหมายคือ กทท.ต้องการมีระบบเดินเรือตู้สินค้าที่เชียงแสนให้ได้จากเดิมจะดําเนินการในลักษณะการขนของและกองสินค้าแล้วใช้วิธีขนถ่ายลงเรือเท่านั้น
ส่วนท่าเรือเชียงแสน 2 จะเปิดเส้นทางเดินเรือตู้สินค้าร่วมกับจีน ซึ่งอยู่ในขั้นกําลังเจรจาหารือกับประเทศจีน เพื่อร่วมกันขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้จีนอยู่ระหว่างก่อสร้างท่าเรือที่จะรองรับตู้สินค้า โดยเป้าหมายคือ กทท.ต้องการมีระบบเดินเรือตู้สินค้าที่เชียงแสนให้ได้จากเดิมจะดําเนินการในลักษณะการขนของและกองสินค้าแล้วใช้วิธีขนถ่ายลงเรือเท่านั้น
ด้านท่าเรือระนอง ขณะนี้มุ่งเน้นเรือตู้สินค้า และจะเพิ่มความถี่ของการขนส่งทุกสัปดาห์ในช่วงเปิดเออีซีอย่าง ไรก็ดีก่อนหน้านี้ท่าเรือระนองจะเน้นการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ไปยังสถานขุดเจาะน้ํามันของปตท. เป็นหลัก แต่เมื่อเมียนมาร์เปิดประเทศและเออีซีจึงมีการปรับยุทธศาสตร์ให้ท่าเรือระนองเป็นประตูยุทธศาสตร์สู่อันดามัน เพื่อเชื่อมไปยังท่าเรือของเมียนมาร์ซึ่งจะช่วยร่นระยะการขนส่งสินค้าได้เร็วขึ้นเพียง 7 วัน และจะมีการปรับความเร็วของเรือให้เร็วขึ้นเหลือเพียง 3-5 วัน นอกจากนี้จะเชื่อมโยงการขนส่งตู้สินค้าผ่านเมียนมาร์ไปยังอินเดยี บังกลาเทศ และยุโรป ต่อไป
นายพิฑญาฬ์ เดชารัตน์ผู้จัดการท่าเรือระนอง การท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้เปิดเส้นทางเดินเรือระบบตู้สินค้าบริเวณท่าเรือระนอง หวังรับการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลในฝั่งทะเลอันดามันสู่ท่าเรือต่างๆ ในแต่ละประเทศฝั่งทะเลอันดามัน และเชื่อมกับการขนส่งจากฝั่งอ่าวไทย อีกทั้งรับการขนส่งสินค้าเส้นทางใหม่ ปีนัง-ระนอง-ย่างกุ้ง หลังบริษัท เอสเอเคไลน์ฯเข้ามาใช้เป็นท่าเรือในการขนส่งสินค้าจากปีนังมาเลเซีย ไปยังท่าเรือย่างกุ้งของเมียนมาร์
การท่าเรือฯ ได้เพิ่มศักยภาพท่า เรือระนอง ด้วยการร่วมกับสายการเดินเรือประเทศมาเลเซีย เปิดเส้นทางการเดินเรือจากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ขนส่งสินค้าเข้ามาพักยังท่าเรือระนอง ก่อนขนส่งต่อไปยังท่าเรือย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือใหม่ที่เชื่อมโยง 3 ประเทศ และยังสามารถพัฒนาเชื่อมต่อเส้นทางการเดินเรือในฝั่งทะเลอันดามันอีกหลายเส้นทาง ทั้งสู่อินเดีย บังกลาเทศหรือรองรับจากจีน ซึ่งการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลเส้นทางใหม่ ปีนัง-ระนอง-ย่างกุ้ง เกิดขึ้นหลังบริษัทเอสเอเคไลน์ฯเข้ามาใช้เป็นท่าเรือในการขนส่งสินค้าจากปีนังมาเลเซียไปยังท่าเรือย่างกุ้งของเมียนมาร์ซึ่งเริ่มเดินเรือเที่ยวแรกตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ท่าเรือระนองถือเป็นจุดใกล้ที่สุดในการขนส่งสินค้าจากภาคกลางไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมาลายูผ่านช่องแคบมะละกา ช่วยร่นระยะเวลาระยะทางในการเดินเรือสินค้าไปยังประเทศในแถบฝั่งอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดียลงประมาณ 3 เท่าตัว
ท่าเรือระนองตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดีสําหรับการเชื่อมโยงระบบการค้ากับประ เทศในเอเชียใต้ตะวันออกกลาง ยุโรป ปัจจุบันท่าเรือระนองสามารถรองรับเรือสินค้าขนาดไม่เกิน 12,000 เมตริกตัน มีเครื่องมือทุ่นแรงที่สําคัญ ที่ผ่านมา ท่าเรือระนองได้ปรับกลยุทธ์เพิ่มบทบาทกิจกรรมการให้บริการเรือ ซึ่งเป็นกิจกรรมการรับมอบ เก็บรักษา ส่งมอบ วัสดุอุปกรณ์สํารวจและขุดเจาะ ท่อก๊าซ น้ํามันดีเซล น้ําจืดปูนซีเมนต์ผง เวชภัณฑ์อาหาร ฯลฯ เนื่องจากรัฐบาลเมียนมาร์ได้ให้สัมปทานบริษัทข้ามชาติเข้าไปขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ
นางนฤมล ขรภูมิประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า ท่าเรือระนองกําลังจะมีบทบาทสําคัญในการเป็นท่าเรือที่เชื่อมโยงท่าเรือจากหลายท่าเรือสู่เส้นทางการเดินเรือในฝั่งทะเลอันดามัน ที่คาดว่าในอนาคตทะเลอันดามันจะคึกคักไปด้วยเรือขนส่งสินค้าจํานวนมากที่เข้ามาใช้บริการในการขน ส่งสินค้าสู่อินเดีย รวมทั้งประเทศในกลุ่ม BIMSTEC นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมเส้นทางการเดินเรือของจีนที่ใช้เมียนมาร์เป็นทางผ่านเข้า-ออกของสินค้าจีน
ขอบคุณที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ขอบคุณที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
นายเหวียน ตัด ถั่น เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีโดยเอกอัครราชทูตฯกล่าวแสดงความยินดีกับรองนายกรัฐมนตรีกับตำแหน่งใหม่ อ่านเพิ่มเติม AEC...by dogTech
-
ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอวิสัยทัศน์ของชุมชนแห่งการแบ่งปันและการดูแลสังคมอาเซียนให้เป็นจริง โดยวิสัยทัศน์นี้ถูกนำเสนอในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนในจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีการดำเนินการ 3...by dogTech
-
ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันเสนอมุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการที่จะเร่งยกร่างและกระบวนการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องในด้านกฎหมายระหว่างประเทศตามภาระผูกพันภายใต้พิมพ์เขียวสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2015...by dogTech
-
ความร่วมมือที่น่าสนใจยิ่งคือ กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดอบรมผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ระดับ 1 เพื่อพัฒนายกระดับแรงงานด้วยการทดสอบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน...by Editor
เรื่องมาใหม่
คำฮิต