ลบ
แก้ไข

ราษฎรซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเดิม (Khmer Daeum) หลายกลุ่ม ได้ผนึกกำลังกับ องค์การอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม รวมทั้งองค์การพิทัพษ์สัตว์ป่าหลายหน่วย รณรงค์ต่อต้านโครงการเขื่อนชัยอาเรง (Chhay Areng) ขนาด 108 เมกะวัตต์ มาเป็นเวลา 5 ปี จนถึงบัดนี้ก็ยังสับสนกันอยู่ว่า นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้ระงับเขื่อนในเขตป่าสงวนพนมกระวัญแห่งนี้จริงหรือไม่.
จนบัดนี้ก็ยังไม่มีฝ่ายใดแน่ใจถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า โครงการเขื่อนมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ ใน จ.เกาะกง โดยกลุ่มซิโนไฮโดร (Sinohydro Corp) จากจีนได้หยุดลงแล้วจริงหรือไม่ หลังจากคาราคาซังมาเป็นเวลา 5 ปี และถูกต่อต้านอย่างหนักจากราษฎรในพื้นที่ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ "ขแมร์เดิม" (Khmer Daeum) หลายกลุ่ม ที่กล่าวว่าเขื่อนกำลังจะทำลายแหล่งทำกิน และวิถีชีวิตของพวกเขา ขณะที่องค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมต่างๆ กล่าวว่า เขื่อนจะทำให้น้ำท่วมเขตป่าสงวนสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่อยู่ของฝูงช้างป่า สัตว์ป่าหายากอีกหลายชนิด รวมทั้ง จระเข้พันธุ์สยามที่ใกล้สูญพันธ์
ในช่วงปี 2551-2552 รัฐบาลกัมพูชาออกใบอนุญาตให้นักลงทุนจากจีน สำรวจโครงการเขื่อนหลายแห่งในอาณาบริเวณเดียวกัน และก่อนหน้านี้ได้อนุมัติการก่อสร้าง เขื่อนกั้นลำน้ำอาไต (Stung Atay) กับอีก 2 แห่ง โดยนักลงทุนจากจีนเช่นกัน แต่โครงการสตึงอาแรง (Stung Areng) ซึ่งบริษัทจีนสำรวจแล้วเสร็จมาตั้งแต่ปลายปีปี 2552 ยังคงคั่งค้างอยู่ และ ได้เปลี่ยนมือไปสู่นักลงอีกกลุ่มหนึ่งเมื่อต้นปีนี้
กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติไม่ค่อยแน่ใจนัก หลังมีข่าวออกมาจากนายสัมรังสี หัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุดในประเทศ ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรต้นเดือน ต.ค.นี้ และ ข้ามสัปดาห์ต่อมา กลุ่มอนุรักษ์ฯ หลายกลุ่ม ได้ออกแสดงความยินดีปรีดา โดยถือเป็นชัยชนะของกระบวนการต่อสู้พิทักษ์ปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่า แต่หลายฝ่ายยังข้่องใจ เนื่องจากสิ่งที่นายรังสีให้สัมภาษณ์ขัดต่อคำแถลงของหน่วยงานอื่นๆ ที่ระบุว่าโครงการชัยอาแรง (Chhay Areng) ยังเดินหน้าต่อไป เพื่อก่อสร้างให้แล้วเสร็จในปี 2563 ตามแผนการลงทุนใหม่
นายรังสีให้สัมภาษณ์หลังการประชุมรัฐสภาเมื่อต้นเดือนว่า ตนได้รับการยืนยันอย่างมั่นเหมาะจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซนว่า ยังไม่ได้มีการตัดสินใจในเรื่องนี้ ซึ่งแต่เดิมเขื่อนขนาด 108 เมกะวัตต์แห่งนี้จะต้องแล้วเสร็จเริ่มปั่นไฟในปี 2558 แต่คงจะไม่เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลของตนบริหารประเทศ และปล่อยให้คนรุ่นหลังพิจารณากันต่อไป
ตามข้อมูลของกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า เขื่อนชัยอาเรงจะทำให้เกิดพื้นที่น้ำท่วมราว 4,013 ตารางกิโลเมตร ในเขตป่าสงวนพนมกระวัญ หรือ ""คาร์ดามอม" ซึ่งเป็นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ที่อาศัยทำกินในหุบเขาแห่งนั้นมานานนับชั่วอายุคน และ ยังเป็นที่อาศัยสุดท้ายของสัวต์ป่าราว 31 ชนิด รวมทั้งช้างป่าโขลงใหญ่ กับจระเข้พันธุ์สยาม (Siamese Crocodile) ซึ่งเป็นจระเข้าน้ำจืดที่ใกล้สูญพันู์เต็มทีอีกด้วย
ธรรมชาติสวยงาม "ฮุนเซน" ยกเลิกเขื่อนจีน 108 MW ในเกาะกง แต่ข่าวยังสับสน
ราษฎรซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเดิม (Khmer Daeum) หลายกลุ่ม ได้ผนึกกำลังกับ องค์การอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม รวมทั้งองค์การพิทัพษ์สัตว์ป่าหลายหน่วย รณรงค์ต่อต้านโครงการเขื่อนชัยอาเรง (Chhay Areng) ขนาด 108 เมกะวัตต์ มาเป็นเวลา 5 ปี จนถึงบัดนี้ก็ยังสับสนกันอยู่ว่า นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้ระงับเขื่อนในเขตป่าสงวนพนมกระวัญแห่งนี้จริงหรือไม่.
จนบัดนี้ก็ยังไม่มีฝ่ายใดแน่ใจถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า โครงการเขื่อนมูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ ใน จ.เกาะกง โดยกลุ่มซิโนไฮโดร (Sinohydro Corp) จากจีนได้หยุดลงแล้วจริงหรือไม่ หลังจากคาราคาซังมาเป็นเวลา 5 ปี และถูกต่อต้านอย่างหนักจากราษฎรในพื้นที่ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ "ขแมร์เดิม" (Khmer Daeum) หลายกลุ่ม ที่กล่าวว่าเขื่อนกำลังจะทำลายแหล่งทำกิน และวิถีชีวิตของพวกเขา ขณะที่องค์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมต่างๆ กล่าวว่า เขื่อนจะทำให้น้ำท่วมเขตป่าสงวนสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่อยู่ของฝูงช้างป่า สัตว์ป่าหายากอีกหลายชนิด รวมทั้ง จระเข้พันธุ์สยามที่ใกล้สูญพันธ์
ในช่วงปี 2551-2552 รัฐบาลกัมพูชาออกใบอนุญาตให้นักลงทุนจากจีน สำรวจโครงการเขื่อนหลายแห่งในอาณาบริเวณเดียวกัน และก่อนหน้านี้ได้อนุมัติการก่อสร้าง เขื่อนกั้นลำน้ำอาไต (Stung Atay) กับอีก 2 แห่ง โดยนักลงทุนจากจีนเช่นกัน แต่โครงการสตึงอาแรง (Stung Areng) ซึ่งบริษัทจีนสำรวจแล้วเสร็จมาตั้งแต่ปลายปีปี 2552 ยังคงคั่งค้างอยู่ และ ได้เปลี่ยนมือไปสู่นักลงอีกกลุ่มหนึ่งเมื่อต้นปีนี้
กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติไม่ค่อยแน่ใจนัก หลังมีข่าวออกมาจากนายสัมรังสี หัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุดในประเทศ ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรต้นเดือน ต.ค.นี้ และ ข้ามสัปดาห์ต่อมา กลุ่มอนุรักษ์ฯ หลายกลุ่ม ได้ออกแสดงความยินดีปรีดา โดยถือเป็นชัยชนะของกระบวนการต่อสู้พิทักษ์ปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่า แต่หลายฝ่ายยังข้่องใจ เนื่องจากสิ่งที่นายรังสีให้สัมภาษณ์ขัดต่อคำแถลงของหน่วยงานอื่นๆ ที่ระบุว่าโครงการชัยอาแรง (Chhay Areng) ยังเดินหน้าต่อไป เพื่อก่อสร้างให้แล้วเสร็จในปี 2563 ตามแผนการลงทุนใหม่
นายรังสีให้สัมภาษณ์หลังการประชุมรัฐสภาเมื่อต้นเดือนว่า ตนได้รับการยืนยันอย่างมั่นเหมาะจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซนว่า ยังไม่ได้มีการตัดสินใจในเรื่องนี้ ซึ่งแต่เดิมเขื่อนขนาด 108 เมกะวัตต์แห่งนี้จะต้องแล้วเสร็จเริ่มปั่นไฟในปี 2558 แต่คงจะไม่เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลของตนบริหารประเทศ และปล่อยให้คนรุ่นหลังพิจารณากันต่อไป
ตามข้อมูลของกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า เขื่อนชัยอาเรงจะทำให้เกิดพื้นที่น้ำท่วมราว 4,013 ตารางกิโลเมตร ในเขตป่าสงวนพนมกระวัญ หรือ ""คาร์ดามอม" ซึ่งเป็นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ที่อาศัยทำกินในหุบเขาแห่งนั้นมานานนับชั่วอายุคน และ ยังเป็นที่อาศัยสุดท้ายของสัวต์ป่าราว 31 ชนิด รวมทั้งช้างป่าโขลงใหญ่ กับจระเข้พันธุ์สยาม (Siamese Crocodile) ซึ่งเป็นจระเข้าน้ำจืดที่ใกล้สูญพันู์เต็มทีอีกด้วย
ขอบคุณที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ที่ย่านการค้าถนนคนเดินสถานีรถไฟตรัง นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน สงกรานต์เฮฮา เมษาอาเซียน 58 โดยมี นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ พาณิชย์จังหวัดตรัง กล่าวรายงาน ตลาดถนนคนเดิน...by Editor
-
ช่วงนี้ เป็นช่วงเวลาของการท่องเที่ยวถนนสายดอกไม้ โดยมีอุโมงค์ชมพูพันทิพย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นตัวชูโรง แต่คุณรู้ไหมว่า ใจกลางกรุงเทพฯ ก็มีดอกไม้ชนิดนี้ให้คุณได้เชยชมเช่นกัน...by Editor
-
ทริปแอดไวเซอร์ เผย 8 หาดของไทยติดอันดับชายหาดยอดนิยมในเอเชีย อิงจากความเห็นของนักเดินทางนับล้านบนทริปแอดไวเซอร์ นางสาวบาร์บาร่า เมสซิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด ทริปแอดไวเซอร์ กล่าวว่า ชายหาดของไทยจำนวน 8...by Editor Bow
-
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ปีนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติจากองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานวันท่องเที่ยวโลก หรือ "World Tourism Day 2016...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต