ลบ แก้ไข

มองเศรษฐกิจฟิลิปปินส์เมื่อจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน


      ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก เมื่อ 5-6 ปีก่อนได้ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ แต่ฟิลิปปินส์สามารถรับมือได้ค่อนข้างดีจากการที่พึ่งพาการส่งออกน้อยเพียงประมาณร้อยละ 30 ของ GDP และมีการบริโภคภายในประเทศในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเศรษฐกิจโลก กลับมาฟื้นตัวอีกครั้งฟิลิปปินส์ได้เป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงและรวดเร็วในรอบ 3 ปีที่ผ่านมานี้

      ในปี 2556 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์โตถึงร้อยละ 7.2 นับเป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียน รองจากลาวที่เติบโตร้อยละ 8.3 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในรอบ 5 ปีขยายตัวเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีและสามารถรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับไม่สูงที่ร้อยละ 3.5-5.5 แม้ปีที่แล้วจะเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวตอนกลางของประเทศขนาด 7.2 ริกเตอร์และซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนก็ตามปัจจัยบวกอันสําคัญมาจากการ เติบโตของภาคบริการรับจ้างบริหารธุรกิจ(Business Process Outsourcing : BPO) ซึ่งปีที่แล้วขยายตัวถึงร้อยละ 7 และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ธนาคาร และบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ต่างเรียกใช้บริการนี้เพื่อลดต้นทุนเพราะชาวฟิลิปปินส์มีทักษะภาษาอังกฤษดีสิ่งที่ตามมา คือ การขยายตัวของเมือง เพราะงาน BPO ต้องทําตลอด 24 ชั่วโมง ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อสถานบันเทิง ธุรกิจหอพัก และสิ่งอํานวยความสะดวกอื่นๆ จึงเติบโตตามมาด้วย

     นอกจากนี้รายได้จากแรงงาน ชาวฟิลิปปินส์ที่ทํางานอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังเป็นปัจจัยหนุนช่วยระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อมีปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศที่มีแรงงานชาวฟิลิปปินส์ทํางานอยู่มากๆ เช่น ฮ่องกง รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้พยายามแก้ไขเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ดีดังเดิมในรูปแบบการผ่อนปรนต่างๆ ตามข้อเรียกร้องประเทศปลายทางเพื่อลดผลกระทบต่อแรงงานฟิลิปปินส์จํานวนมาก

     จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นประกอบกับการมีเสถียรภาพทางการเมือง ไม่มีการ ชุมนุมขนาดใหญ่ต่อเนื่อง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือและการลงทุน S&P จึงปรับระดับความน่าลงทุนของฟิลิปปินส์ขึ้นจาก BBB- เป็น BBB อีกทั้งดัชนีความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ก็ปรับตัวดีขึ้น

     เสถียรภาพของประเทศในอีกด้านหนึ่งมาจากกระบวนการสันติภาพของรัฐบาล กับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front : MILF) ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้บนเกาะมินดาเนา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามข้อตกลงสันติภาพกันเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมานับเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติการสู้รบและหันมาสู่การพัฒนาทางสังคม และเศรษฐกิจบริเวณมินดาเนาเสถียรภาพของประเทศในอีกด้านหนึ่งมาจากระบวนการสันติภาพของรัฐบาล กับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front : MILF) ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้บนเกาะมินดาเนา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามข้อตกลงสันติภาพกันเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมานับเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติการสู้รบและหันมาสู่การพัฒนาทางสังคม และเศรษฐกิจบริเวณมินดาเนา

      เสถียรภาพของประเทศในอีกด้านหนึ่งมาจากกระบวนการสันติภาพของรัฐบาล กับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front : MILF) ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้บนเกาะมินดาเนา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามข้อตกลงสันติภาพกันเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมานับเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติการสู้รบและหันมาสู่การพัฒนาทางสังคม และเศรษฐกิจบริเวณมินดาเนา

     โครงสร้างพื้นฐาน 9 โครงการมูลค่า 1,400 ล้าน ดอลลาร์ (ราว 45,000 ล้านบาท) รัฐบาล ได้ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของหุ้นส่วนภาครัฐ-เอกชน (Public-Private Partnership : PPP) เพื่อให้กระบวนการและขั้นตอนดําเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว โครงการที่อนุมัติมีทั้งการสร้างเขื่อนและท่อส่งน้ํา การพัฒนาระบบรถไฟและโครงการสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ทดแทนสนามบินนานาชาตินินอยอาคิโนที่คับแคบแออัดโดยพิจารณาพื้นที่ที่เคยเป็นฐาน ทัพเรือสหรัฐ บริเวณอ่าวคาวิตและลากูนา(Cavite and Laguna de Bay) ซึ่งมีพื้นที่กว้างกว่า 2,000 เอเคอร์มีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้ราว 10 ล้านคน ภายในปี 2016 การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์อาเซียนในเชิงโครงสร้างกายภาพที่ชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ก็เร่งดําเนินการเช่นกันโดยเฉพาะการเชื่อมโยงกัน (connectivity) ของภูมิภาคอาเซียน และด้วย ทําเลที่ตั้งของฟิลิปปินส์เป็นหมู่เกาะ การพัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศจึงจําเป็น

     รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ดําเนินการปฏิรูป โครงสร้าง ระบบราชการสถาบันและพยายามสร้างธรรมาภิบาลโดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและให้มีการเติบโตอย่างครอบคลุม (Inclusive Growth) ใช้การลงทุนเพื่อสร้างงาน ลดความยากจน พัฒนาระบบสวัสดิการทางสังคม มีการปรับปรุง กฎหมายด้านธนาคาร การลงทุนและศุลกากรเพื่อกระตุ้นการแข่งขันและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในขณะเดียวกัน ปัญหาสําคัญของฟิลิปปินส์ที่สืบต่อมาแต่ยุคอาณานิคมคือ ลักษณะรวยกระจุกจนกระจาย ไม่มีการกระจายสินทรัพย์อย่างเป็นธรรม เศรษฐกิจชาติร้อยละ76 ถูกควบคุมโดย 40 ตระกูลเท่านั้นซึ่ง
จะส่งผลให้การเติบโตไม่ครอบคลุม ทุกกลุ่มคนในสังคมตาม
เป้าหมายของรัฐ การที่จะบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืน จําต้องอาศัยการบริหารภาครัฐที่มีธรรมาภิบาล เสริมสร้างความเข้มงวดในการใช้กฎหมาย นอกจากนี้การเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยและความเข้มแข็งของภาคประชาชนจะเป็นส่วนสําคัญในการกําหนดทศทางการพัฒนา

ขอขอบคุณที่มา : สรพงษ์ลัดสวน ผู้ช่วยผู้ประสานงาน โครงการ ASEAN Watch สกว.(กรุงเทพธุรกิจ)


 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,730 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ