ลบ
แก้ไข
ในขณะที่ ประเทศในกลุ่มอาเซียน กำลังเกิดการรวมตัว และก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในปี 2558 นี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ ถือว่า เป็นหัวใจสำคัญในการช่วยผลักดัน ให้ธุรกิจเอสเอ็มอี มีการขยายตัว และเข้าไปเติบโตในประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างรวดเร็ว สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ถือว่ามีการพัฒนา และเติบโตอยู่ในระดับต้น มีความแข็งแกร่งและพร้อมที่จะเติบโตในประเทศเพื่อนบ้าน โดยแบ่งธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ออกเป็น 11 ประเภท ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และไอศกรีม เบเกอรี่ บริการ การศึกษา ความงาม ค้าปลีก งานพิมพ์ หนังสือ อสังหาริมทรัพย์ และโอกาสทางธุรกิจ อาทิ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจออนไลน์
ธุรกิจแฟรนไชส์แรงผลักดัน ส่งเอสเอ็มอีไทย ก้าวสู่ AEC
ในขณะที่ ประเทศในกลุ่มอาเซียน กำลังเกิดการรวมตัว และก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในปี 2558 นี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ ถือว่า เป็นหัวใจสำคัญในการช่วยผลักดัน ให้ธุรกิจเอสเอ็มอี มีการขยายตัว และเข้าไปเติบโตในประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างรวดเร็ว สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ถือว่ามีการพัฒนา และเติบโตอยู่ในระดับต้น มีความแข็งแกร่งและพร้อมที่จะเติบโตในประเทศเพื่อนบ้าน โดยแบ่งธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ออกเป็น 11 ประเภท ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และไอศกรีม เบเกอรี่ บริการ การศึกษา ความงาม ค้าปลีก งานพิมพ์ หนังสือ อสังหาริมทรัพย์ และโอกาสทางธุรกิจ อาทิ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจออนไลน์
จากการสำรวจพบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ อาหาร เครื่องดื่ม กับไอศกรีม และบริการ ที่สำคัญคือสร้างรายได้ให้เจ้าของแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างมาก จากสถิติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไทย พบว่าในประเทศไทยมีธุรกิจแฟรนไชส์รวมถึง 446 กิจการ ประมาณ 83,622 สาขา
ทั้งนี้ แนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2557 น่าจะยังเติบโตในเกณฑ์ดี โดยด้านยอดขายน่าจะขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดรวมไม่ต่ำกว่า 260,000 ล้านบาท
และแนวโน้มจากปี 2558 คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีนักลงทุนเพิ่มขึ้น 30% ยังมี นักลงทุนที่มีความสนใจระบบแฟรนไชส์และพร้อมที่จะลงทุนไม่น้อยกว่า 40,000 ราย ตามผลรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ส่งผลให้จํานวนและประเภทธุรกิจมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
ในส่วนของการขยายตัวในประเทศเพื่อนบ้านของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย พบว่า ปัจจุบันผู้ประกอบกิจการแฟรนไชส์ของไทยไม่ต่ำกว่า 20 ราย สามารถเข้าไปเจาะตลาดต่างประเทศ อาทิ แฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม ความงาม โดยเฉพาะในประเทศพม่า กัมพูชา เวียดนาม และลาว ต่างคุ้นเคยสินค้าไทยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ประกอบกับคู่แข่งในตลาดยังมีไม่มาก
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศที่แฟรนไชส์ ไทยสนใจเข้าไปลงทุน มากที่สุด จะเป็นเวียดนาม เนื่องจากชาวเวียดนามมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้มีอำนาจการซื้อเพิ่มขึ้น ชาวเวียดนามยังมีการศึกษาสูงขึ้น กับมีพฤติกรรมการบริโภคแบบชาวตะวันตกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศเวียดนามได้มีการปรับแก้กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ในด้านธุรกิจ แฟรนไชส์ให้ดีขึ้น อีกทั้งยังเปิดเสรีการค้าปลีกให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ทำให้ประเทศเวียดนามมีความน่าสนใจในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
การเลือกประเภทธุรกิจแฟรนไชส์สำหรับการลงทุน จึงควรพิจารณาให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ สภาพสังคมและพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละภูมิภาค ไม่ควรลงทุนกับธุรกิจตามกระแสนิยมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งควรใช้ความระมัดระวังในการเลือกลงทุนชนิดหรือประเภทธุรกิจของแฟรนไช ส์ให้ดี
ขอขอบคุณที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
ขอขอบคุณที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
แผนการผลักดันให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เข้าสู่การเป็นแกนนำหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการทำงานด้านเศรษฐกิจหลังการรวมกลุ่มของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะกลายเป็นความท้าทายที่สำคัญของประเทศไทย...by dogTech
-
รายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (KOTRA) เผยว่า บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องหนัง และอัญมณี ได้โบกมือลาจีนนับตั้งแต่วิกฤตการเงินในปี 2551...by Editor
-
นายชินโกะ ซาโตะ (Mr. Shingo Sato) ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และประธาน บจก.มิตซุย แอนด์ คัมปนี (ไทยแลนด์) และนายมาซายะสุ โฮซุมิ ประธานเจโทร กรุงเทพฯ พร้อมคณะผู้บริหารหอการค้าฯ เข้าเยี่ยมคารวะ พลอากาศเอกประจิน...by dogTech
-
รัฐมนตรีเศรษฐกิจจากอาเซียน และประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือความตกลง RCEP (Regional...by Spider Show
เรื่องมาใหม่
คำฮิต