ลบ แก้ไข

พลิกตำราเพื่อนบ้าน เพลินภาษาอาเซียน

 

 



        ประเทศไทย​จะ​เข้า​สู่​ประชาคม​อาเซียน​ใน​ปี​หน้า พ.ศ.2558 “ราชบัณฑิตยสถาน” เป็น​หน่วย​งาน​สำคัญ​หนึ่ง​ใน​การ​สร้าง​องค์​ความรู้​และ​ให้​บริการ​ทาง​วิชาการ​แก่​ภาค​รัฐ ภาค​เอกชน ประชาชนทั่วไป...เพื่อ​เตรียม​ความ​พร้อม​ใน​ด้าน​ต่างๆ

        โดยเฉพาะ​ความ​สำคัญ​ของ​การ​เรียนรู้ “ภาษา” และ “วัฒนธรรม​อาเซียนเพื่อ​ให้​เกิด​ความ​เข้าใจ​อัน​ดี สามารถ​สื่อสาร​กับ​เพื่อนบ้าน​ในกลุ่ม​ประเทศ​อาเซียน​ได้ ราชบัณฑิตยสถาน​จึง​เริ่ม​จัด​ทำ​โครงการ​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​อาเซียน​มา​ตั้งแต่​ปี 2556

         พุ่ง​เป้า​ไป​ที่​ความ​รู้​เกี่ยว​กับ​ภาษา วัฒนธรรม​กลุ่ม​ประเทศ​อาเซียน ได้แก่ บรูไน​ดา​รุส​ซา​ลาม ราช​อาณาจักร​กัมพูชา สาธารณรัฐ​อินโดนีเซีย สาธารณรัฐ​ประชาธิปไตย​ประชาชน​ลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐ​แห่งสหภาพ​เมีย​น​มาร์ สาธารณรัฐ​ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐ​สิงคโปร์ ราช​อาณาจักรไทย และ​สาธารณรัฐ​สังคมนิยม​เวียดนาม นำ​ออก​เผยแพร่​ทาง​สื่อ​ต่างๆ ทั้ง​สื่อ​วิทยุ สื่อ​โทรทัศน์ สื่อ​สิ่ง​พิมพ์

        ราชบัณฑิตยสถาน​แต่งตั้ง​คณะ​กรรมการ​เฉพาะกิจ จัด​ทำ​เนื้อหา วิชาการ​ด้าน​ภาษา​และวัฒนธรรม​อาเซียน โดย​มี ดร.​นิต​ยา กา​ญจนะวรรณ ภาคี​สมาชิก​เป็น​ประธาน​กรรมการ และ​มี​ผู้เชี่ยวชาญ​ที่​เป็น​เจ้าของภาษาต่างๆ ทั้ง 10 ภาษา​ใน​อาเซียน​เป็น​คณะ​กรรมการ​ร่วม

       ยก​ตัวอย่าง​รายการ “เพลิน​ภาษา​ใน​อาเซียน” ออกอากาศทุกวัน​ทาง​สถานี​วิทยุ​กระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่าน​คลื่น​เอ​เอ็ม​ทั่ว​ประเทศ สามารถ​เข้าถึง​ผู้​ฟัง​ใน​ส่วนภูมิภาค​ได้​อย่าง​ทั่วถึง

ความ​พิเศษ​ของ​รายการ “เพลิน​ภาษา​ใน​อาเซียน” ราชบัณฑิตยสถาน​มอง​ว่า ผู้​ฟัง​จะ​ได้​รับ​ฟังภาษา​ที่​เป็น​สำเนียง​แท้​ของ​เจ้าของ​ภาษา​ทั้ง 10 ภาษา​ใน​อาเซียน​ที่​ออกเสียง​จริง​ใน​รายการ และ​เนื้อหา​ของรายการ​ยังแสดงให้เห็น​ความ​เชื่อม​โยง​ระหว่าง​วัฒนธรรม​กับ​การ​ใช้​ภาษา​ที่​ไม่อาจ​แยก​จากกันได้

ผล​ที่​เกิด​ขึ้น น่า​จะ​ทำให้​รายการ​เป็น​ที่​สนใจ​ของ​ผู้​ฟัง​อย่างกว้างขวาง

        ต่อ​มา...ราชบัณฑิตยสถาน​ได้​ผลิต​รายการ​เพิ่ม​ขึ้น พร้อม​ขยายช่องทาง การ​ออกอากาศ​อีก​หนึ่งรายการ คือ​รายการ “เรียนรู้​ภาษา​อาเซียน” ออกอากาศ​ทุก​วัน​เสาร์​และ​วัน​อาทิตย์​ทาง​สถานี​วิทยุ​กระจายเสียง​แห่ง​ประเทศไทย และ​สถานี​วิทยุ​กระจายเสียง​แห่ง​ประเทศไทย​ได้​นำ​เนื้อหา​รายการ​นี้​ไป​ออกอากาศ​ใน​รายการ “คุย​ข่าว​อาเซียน” อีก​ด้วย

         นางสาว​กนก​วลี ชู​ชัย​ยะ เลขาธิการ​ราชบัณฑิตยสถาน บอกว่า นอกจาก​กิจกรรม​ต่างๆที่ราชบัณฑิตยสถาน​ได้​ดำเนิน​การ​เพื่อ​เตรียม​ความ​พร้อม​ใน​การ​เข้า​สู่​ประชาคม​อาเซียน​แล้ว ราชบัณฑิตยสถาน​กำลังผลิต​รายการ​โทรทัศน์​ประเภท​สาระ​บันเทิง เพื่อ​เผยแพร่​ความรู้เกี่ยว​กับ​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ของ​ประเทศ​ต่างๆใน​กลุ่ม​อาเซียน​อีก 2 รายการ คือรายการ “เพื่อน​อาเซียน” และ​รายการ “สื่อ​ภาษา​สาน​อาเซียน

        “ทั้ง​สอง​รายการ​เรา​ผลิต​เป็น​การ์ตูน​แอนิเม​ช่ัน 3 มิติ โดย​ออกเสียงและ​เขียน​ให้​ถูกต้อง​ตาม​ภาษา​นั้นๆ...เน้น​ความ​ถูกต้อง​เหมาะสม​ตาม​บริบท​ทาง​สังคม วัฒนธรรม​ของ​แต่ละ​ประเทศ” “เพื่อน​อาเซียน” และ “สื่อ​ภาษา​สาน​อาเซียน” จะ​ออกอากาศ​ทาง​สถานี​โทรทัศน์​ไทย​พี​บี​เอส

         นอกจาก​นี้​เรา​กำลัง​รวบรวม​คำ​ภาษา​ต่างๆใน​อาเซียน​ที่​ใช้​ใน​ชีวิต​ประจำ​วัน เพื่อ​เป็น​ฐาน​ข้อมูลจัด​ทำ​แอพพลิเคชั่น​ภาษา​อาเซียน ซึ่ง​สามารถ​เทียบ​คำศัพท์​ระหว่าง​ภาษา​ต่างๆ ด้วย​กัน หรือ​เทียบ​กับภาษา​อังกฤษ สำหรับ​ประชาชน​ใน​กลุ่ม​ประเทศ​อาเซียน​เอา​ไว้​ใช้​สื่อสาร​ระหว่าง​กัน

        งาน​สำคัญ​ของ​ราชบัณฑิตยสถาน​อีก​ประการ​หนึ่ง​ คือ​การ​กำหนด​หลักเกณฑ์​การ​เขียน​คำ​ทับศัพท์​จาก​ภาษา​ต่าง​ประเทศ ซึ่ง​เป็น​หลักเกณฑ์​ที่​มี​ประกาศ​สำนัก​นายกรัฐมนตรี​ประกาศ​ให้​ใช้​เป็น​มาตรฐาน​ทางราชการ

        กนก​วลี บอก​ว่า โดย​หลักเกณฑ์​การ​เขียน​คำ​ทับศัพท์​ที่​ราชบัณฑิตยสถาน​ได้​จัด​ทำ​และ​ประกาศใน​ราชกิจจานุเบกษา​ไป​แล้ว มี​หลักเกณฑ์​การ​ทับศัพท์​ภาษา​มลายู ซึ่ง​ใช้​อยู่​ใน 4 ประเทศ ได้แก่ บรูไน​ดา​รุส​ซา​ลาม สาธารณรัฐ​อินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐ​สิงคโปร์ และ​หลักเกณฑ์​การ​ทับศัพท์​ภาษา​เวียดนาม

       ส่วน​หลักเกณฑ์​การ​ทับศัพท์​ที่​กำลัง​อยู่​ใน​ขั้น​ตอน​การ​ประกาศ​ใน​ราชกิจจานุเบกษา คือหลักเกณฑ์​การ​ทับศัพท์​ภาษา​พม่า และ​ที่กำลัง​ดำเนิน​การ​จัด​ทำ คือหลักเกณฑ์​การ​ทับศัพท์​ภาษา​ฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ เพื่อ​ให้​สามารถ​เขียน​ภาษา​เหล่า​นั้น​ด้วย​ตัว​อักษร​ไทย​ได้​อย่าง​ถูกต้อง

       ใน​วัน​ที่ 7 พฤศจิกายน 2557 ที่​จะ​ถึง​นี้ ราชบัณฑิตยสถานจะจัด​เสวนา​ทาง​วิชาการ​ภาษา​และวัฒนธรรม​อาเซียน ณ ห้อง​กมล​ทิพย์บอลรูม โรงแรม​เดอะ​สุ​โกศล งาน​นี้...ศาสตราจารย์​กิตติคุณ ดร.​วิษณุ เครืองาม ราชบัณฑิต รอง​นายกรัฐมนตรี ใน​ฐานะ​กำกับ​การบริหาร​ราชการ​ของ​ราชบัณฑิตยสถาน​แทน​นายกรัฐมนตรี ให้​เกียรติ​เป็น​ประธาน​เปิด​งาน​และ​แสดง​ปาฐกถา​พิเศษ​เรื่อง “วิถี​ไทย​ใน​ประชาคม​อาเซียน

       ภายใน​งาน​ยัง​มี​การ​เสวนา​ทาง​วิชาการ...“วิถี​แห่ง​ประชาคม​อาเซียน” โดย ดร.​สมเกียรติ อ่อนวิมล นาย​เกษมสันต์ วีระ​กุล นางสาวรุ่ง​มณี

เมฆ​โสภณ การ​เสวนา​ประกอบ​ภาพ​และ​วีดิทัศน์...“คุย​เฟื่อง​เรื่อง​เพื่อนบ้าน​อาเซียน” โดย​บอล​และ​ยอด จาก​รายการ “หนัง​พา​ไป” ทาง​สถานี​โทรทัศน์ไทยพีบีเอส

       นอกจาก​นี้​ยัง​มี​นิทรรศการ​การ​แสดง​ทาง​วัฒนธรรม...กิจกรรมอื่นๆที่​สำคัญ ผู้​เข้า​ร่วม​งาน​จะ​ได้​รับแจก​หนังสือ “เพลิน​ภาษา​เพื่อน​อาเซียน” ซึ่ง​ราชบัณฑิตยสถาน​จัด​พิมพ์​ขึ้น​เพื่อ​งาน​นี้​โดยเฉพาะ ทั้งนี้​จะ​มี​การ​ถ่ายทอด​สด​การ​เสวนา​ตลอด​งาน​ทาง​สถานี​วิทยุ​กระจายเสียง​มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์​พร้อม​กัน​ทั่ว​ประเทศ

       ที่​จะ​ไม่​กล่าว​ถึง​ไม่ได้ กนก​วลี บอก​ว่า กิจกรรม​อื่น​ที่​ราชบัณฑิตยสถาน​ได้​ดำเนิน​การ​นอกเหนือ​จากการ​ผลิต​รายการ​วิทยุ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​อาเซียน​แล้ว ยัง​จัด​งาน “ภาษาไทย ภาษา​อาเซียน” เนื่องใน​วัน​ภาษาไทย​แห่งชาติ​ของ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2556

นับ​เป็น​กิจกรรม​ที่​ได้​รับ​ความ​สนใจ...มี​ผู้​เข้า​ร่วม​งาน​เป็น​จำนวนมาก

       ครั้ง​นั้น​เรา​จัด​พิมพ์​หนังสือ “ภาษา​และ​วัฒนธรรม​อาเซียน” จำนวน 10,000 เล่ม แจก​ให้​กับ​ผู้​ที่สนใจ...มี​เนื้อหา​เกี่ยว​กับ​ลักษณะภาษา คำ​ทักทาย คำ​ขอบคุณ คำ​ขอโทษ คำ​อำลา คำ​ลงท้าย คำ​สรรพนาม ในภาษาอาเซียน น่า​สนใจ​ว่า​ได้​รับ​ความ​สนใจ​อย่าง​มาก​จน​ต้อง​จัด​พิมพ์​อีกครั้ง

       “ครั้ง​ใหม่​นี้​จะ​มี​การ​เพิ่มเติม​เนื้อหา​เกี่ยว​กับ​อักษร...เลข​ใน​ภาษา​อาเซียน ชื่อ​วัน ชื่อ​เดือน ชื่อ​ปี การ​บอก​เวลา คำ​เรียก​เครือ​ญาติ รวม​ทั้ง​คำ​อวย​พร​ปี​ใหม่​ใน​ภาษา​อาเซียน คาด​ว่า​จะ​เสร็จ​ทัน​ต้น​ปี​หน้า”

นอกจาก​นี้​ยัง​มี​หนังสือ​เกี่ยว​กับ​อาเซียน​ที่​ราชบัณฑิตยสถาน​กำลัง​ดำเนิน​การ​จัด​พิมพ์​อีก​เล่ม​หนึ่งคือ “สารานุกรม​ประวัติศาสตร์​ประเทศ​เพื่อนบ้าน​ใน​อาเซียน” ซึ่ง​จะ​เสร็จ​ประมาณ​ปลาย​ปี​นี้ มี​เนื้อหาอธิบาย​ถึง​ประวัติศาสตร์ 9 ประเทศ​เพื่อนบ้าน​ตั้งแต่​อดีต​จนถึง​ปัจจุบัน ครอบคลุม​ด้าน​การเมือง เศรษฐกิจ และ​สังคม

      แม้​ว่า​ภาษา​อังกฤษ​จะ​ได้​รับ​เลือก​ให้​เป็น​ภาษา​ใช้​งาน​ของ​อาเซียน แต่​เรา​คน​ไทย​ใน​ฐานะ​ที่​เป็น​ประชากร​ใน​กลุ่ม​ประเทศ​อาเซียน​ก็​ควร​สนใจ​ศึกษา​ภาษา​ของ​เพื่อนบ้าน เพื่อ​ให้​สามารถ​สื่อสาร​กัน​ได้​ดี​ยิ่ง​ขึ้น...
“ที่​สำคัญ...หาก​ได้​เรียนรู้​ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม​ประเทศ​เพื่อนบ้าน​ด้วย​เนื้อหา​สาระ​ที่ถูกต้อง ก็​จะ​ทำให้​เกิด​ความ​เข้าใจ​กัน​มาก​ยิ่ง​ขึ้น อันเป็น​ผล​ดี​ต่อ​การ​อยู่ร่วม​กัน​ใน​ประชาคม​อาเซียน

      กนก​วลี ชู​ชัย​ยะ เลขาธิการ​ราชบัณฑิตยสถาน กล่าว​ทิ้งท้าย.

ขอขอบคุณที่มา : ไทบรัฐออนไลน์


 

 

Editor
ชม 2,307 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean