มรดกโลกทางวัฒนธรรมใน Asean

สำหรับการเกิดขึ้นของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ย่อมถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย
กระบวนการดังกล่าวจะสามารถขยายความร่วมมือ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจำเป็นจะต้องอาศัยกระบวนการการเชื่อมโยงร่วมกัน คือ ASEAN Connectivity ภายใต้การเชื่อมโยงของประชาชนร่วมกัน “People to People Connectivity” ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างการเดินทาง การท่องเที่ยว การไปมาหาสู่ระหว่างกันระหว่างประชาชน การเชื่อมโยงทางสังคม วัฒนธรรม ถือเป็นหัวใจของการเป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง
โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม” ถึงแม้ว่าแต่ละประเทศต่าง ๆ จะมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องชาติพันธุ์ ภาษา วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ มีลักษณะเหมือนหม้อใบใหญ่ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายความแตกต่าง มีลักษณะของความเป็นพหุสังคมสูง
แต่ภายใต้ความหลากหลายเหล่านั้น กลับมีต้นรากทางวัฒนธรรม หรือมีทุนทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จึงเป็นการง่ายที่จะเชื่อมโยงกันได้มากยิ่งขึ้น ผ่านการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมของชาวอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งในขณะนี้มีสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดย UNESCO แล้วถึง 21 แห่ง ดังนี้
ไทย
• เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ ค.ศ.1991 เมืองโบราณ 700 กว่าปี อดีตราชธานีที่รุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า ศาสนา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และเทคโนโลยีที่มีการสร้างสรรค์ และสืบทอดมาสู่ชนชาติไทยในปัจจุบัน โดยมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานที่บ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมไทยมากมาย ซึ่งต่อมากลายเป็น “ศิลปะแบบสุโขทัย”
• แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ ค.ศ.1992 “ได้รับการยอมรับว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่ทำให้รับรู้การดำรงชีวิตในยุคก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี
• นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา : ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ.1991 ถือเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 2 ของไทยต่อจากสุโขทัย อยุธยาถูกทำลายลงโดยกองทัพพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 18 สิ่งที่ยังหลงเหลือให้เห็น คือ พระปรางค์ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม
ลาว
• เมืองหลวงพระบาง : ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ.1995 หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ การผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมดั้งเดิม มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย และสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากยุคอาณานิคม ตัวเมืองตั้งอยู่ริมนํ้าโขงและนํ้าคานซึ่งไหลบรรจบกัน ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม ได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
• วัดพูและสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงในแขวงจำปาศักดิ์ : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ ค.ศ. 2001 ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของจำปาศักดิ์และวัดพู เป็นภูมิทัศน์ที่ได้รับการวางผังและรักษาสภาพเดิมไว้เป็นอย่างดีนานกว่า 1,000 ปี เป็นรูปแบบของศาสนาฮินดูที่มีความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ ทั้งหมดนี้แสดงถึงพัฒนาการตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5-18 ที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรเขมรกัมพูชา
• เมืองพระนคร : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ ค.ศ.1992 “เมืองพระนครเป็นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” มีพื้นที่รวมมากกว่า 400 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ป่าและเมืองพระนคร (อังกอร์) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรโบราณ จากศตวรรษที่ 9 ถึง 15 มีแหล่งโบราณสถานหลายแห่ง รวมทั้งปราสาทนครวัด นครธมที่มีชื่อเสียง
• ปราสาทเขาพระวิหาร : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ ค.ศ. 2008 สถานที่ตั้งอยู่บนเนินสูงซึ่งอยู่เหนือที่ราบของเขมร ปราสาทนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ ตัวพระวิหารประกอบด้วยแนวอาคารต่อเนื่องเชื่อมโยง ระเบียงคด และบันไดที่มีความยาวมากกว่า 800 เมตร และย้อนเวลากลับไปถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 11 แม้กระนั้นก็ดี ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน อาจสืบย้อนไปถึงศตวรรษที่ 9 (พุทธศตวรรษที่ 14)
• หมู่โบราณสถานเมืองเว้ : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ.1993 เมืองเว้ตั้งอยู่ในเวียดนามตอนกลาง เมืองเว้ เคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยราชวงศ์เหงียนของเวียดนามในช่วง ค.ศ. 1802-1945 ก่อนที่จะมีการแยกประเทศเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ เว้เป็นทั้งศูนย์กลางการเมือง วัฒนธรรมและศาสนา
• เมืองโบราณฮอยอัน : ฮอยอันเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน ค.ศ.1999 องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนเขตเมืองเก่าของฮอยอันให้เป็นเมืองมรดกโลก ด้วยเหตุผลว่า เป็นตัวอย่างเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 ที่มีการผสมผสานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้งของท้องถิ่นและของต่างชาติไว้ได้ อย่างมีเอกลักษณ์ และอาคารต่าง ๆ ภายในเมืองได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพเดิมได้เป็นอย่างดี
• สถานที่ศักดิ์สิทธิ์หมี่เซิน : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ. 1999 หมี่เซินเป็นกลุ่มโบราณสถานในศาสนาฮินดู ประกอบด้วย วัดและสุสานโบราณของกษัตริย์จามปา ในอดีตมีวัดถึง 70 วัด ปราสาทส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดในช่วงสงครามเวียดนาม
• พระราชวังจักรพรรดิแห่งทังลอง–ฮานอย : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ. 2010 พระราชวังทังลองเป็นพระราชวังที่เก่าแก่อายุยาวนานกว่า 1,000 ปี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงฮานอย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเนื่องจากเป็นแหล่ง “สะท้อนอารยธรรมในเขตลุ่มนํ้าแดงตอนล่างที่ตั้งอยู่ระหว่างอิทธิพลของ อาณาจักรฮั่น (จีน) และอาณาจักรจามปาทางใต้”
• พระราชวังแห่งราชวงศ์โห่ : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ ค.ศ. 2011 ตั้งอยู่ที่ Tay Giai, Vinh Loc district, Thanh Hoa Province ประเทศเวียดนาม สร้างขึ้นตามหลักของลัทธิขงจื๊อ ในปลายศตวรรษที่ 14 ต่อมารูปแบบการก่อสร้างได้กระจายออกไปทั่วเอเชีย และเป็นแบบอย่างใหม่ของการก่อสร้างปราสาททั่วไปในเอเชียอาคเนย์ด้วย
• กลุ่มวัดบุโรพุทโธ : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ ค.ศ.1991 ตั้งอยู่ในตอนกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
• กลุ่มวัดปรัมบานัน : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ ค.ศ.1991 อยู่ตอนกลางของเกาะชวา ในประเทศอินโดนีเซีย พื้นที่บริเวณนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 10 (พุทธศตวรรษที่ 15) เพื่ออุทิศถวายแก่เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์ของฮินดู และสัตว์เทพพาหนะ “ปรัมบานันเป็นกลุ่มวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ประดับตกแต่งด้วยรูปสลักจากเรื่องรามเกียรติ์”
• แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ ค.ศ.1996 ถือว่า “เป็นแหล่งขุดค้นที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งต่อการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของซากมนุษย์โบราณจากทั่วโลกได้รับการค้นพบจากที่นี่”
• ภูมิวัฒนธรรมรวมเขตบาหลี : ระบบสุบัก อันแสดงถึงปรัชญาไตรหิตครณะ** : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ. 2012 อยู่ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการทำนาแบบ 5 ขั้นบันได ควบคุมการจ่ายนํ้าจากวัดที่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 19,500 เฮกเตอร์ ซึ่งทางวัดได้บริหารจัดการนํ้าโดยการพิจารณาถึงคลองส่งนํ้า และคันกั้นนํ้า “สุบัก” (Subak) มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 มีนัยสะท้อนถึงแนวคิดทางปรัชญา “ไตรหิตครณะ” หรือหลักปรัชญาตามความเชื่อแบบฮินดู มีต้นกำเนิดจากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างบาหลีกับอินเดียกว่า 2,000 ปี คือ การเคารพในพระเจ้า รักษาสมดุลระหว่างมนุษย์-มนุษย์ และมนุษย์-สิ่งแวดล้อม ด้วยการรักษาสมดุลเช่นนี้จึงทำให้ชาวบาหลีกลายเป็นผู้ปลูกข้าวที่มีผลผลิต สูงที่สุดในแถบหมู่เกาะ
• มะละกาและจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์แห่งช่องแคบมะละกา : สองเมืองประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ. 2008 มะละกาได้พัฒนาขึ้นมาเมื่อ 500 ปีมาแล้ว “โดยเป็นศูนย์กลางการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกและ ตะวันตก อิทธิพลของเอเชียและยุโรปได้ส่งผลให้เมืองนี้เกิดมรดกทางวัฒนธรรมที่หลาก หลาย” มะละกาได้แสดงถึงพัฒนาการจากยุคสุลต่านมาเลย์ การเข้ามาของโปรตุเกสและฮอลแลนด์ ส่วนจอร์จทาวน์เป็นตัวแทนของยุคอาณานิคมอังกฤษ สองเมืองนี้เป็นเมืองที่โดดเด่นและหาไม่ได้ในเอเชียอาคเนย์
• แหล่งโบราณคดีหุบเขาเล็งกอง : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ. 2012 ตั้งอยู่ในรัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย เป็นแหล่งที่อยู่ของมนุษย์ยุคโบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา
• โบสถ์บารอคแห่งฟิลิปปินส์ : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ.1993 โบสถ์โบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก มี 4 แห่ง โบสถ์เหล่านี้ นอกจากจะแสดงถึงการเข้ามาของศาสนาคริสต์ในฟิลิปปินส์แล้ว ยังถือเป็นศูนย์กลางอำนาจของสเปนในภูมิภาคนี้ “โบสถ์เหล่านี้ได้รับการยกย่องในด้านสถาปัตยกรรม ด้วยศิลปะบารอคของยุโรปที่สร้างสรรค์ด้วยช่างจีนและฟิลิปปินส์”
• นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ **: ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ.1995 นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอน ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยชาวพื้นเมืองอิฟูเกา (Ifugao) ที่สร้างนาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 ปีแล้ว ซึ่งลูกหลานชาวนาสืบเชื้อสายมาจากชาว Ifugao ในปัจจุบันก็ยังคงยึดอาชีพทำนาเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของพวกเขา โดยความรู้นี้ได้ถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และการแสดงออกของประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ และความสมดุลของสังคมที่ละเอียดอ่อน ได้ช่วยกันสร้างสรรค์ความงามของภูมิทัศน์ ซึ่งแสดงถึงความสมดุลระหว่างมฐ 9ุษย์กับสิ่งแวดล้อม
• นครประวัติศาสตร์วีกัน : ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ ค.ศ.1999 อยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ถูกสร้างขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นเมืองซึ่งมีการวางผังเมืองแบบสเปนที่ดีที่สุดในเอเชีย “สถาปัตยกรรมของเมืองได้รับอิทธิพลจากหลากหลายที่ในฟิลิปปินส์ จีน และยุโรป ก่อให้เกิดรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบที่อื่น”
** ทั้งอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีจุดเด่นเหมือนกัน คือ เป็นการสะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนที่พยายามจะสร้างสมดุลกับธรรมชาติ แต่แตกต่างกันตรงที่ของอินโดนีเซียมีหลักความเชื่อทางด้านศาสนาเข้ามาเกี่ยว ข้องด้วย อาจจะมองได้ว่าเป็นวัฒนธรรมร่วมของอาเซียน ที่ยึดเอาเรื่องการเคารพธรรมชาติ ความเชื่อ ศาสนา เข้ามาผนวกรวมกับวิถีชีวิต หรือการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นการสร้างสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ขอขอบคุณที่มา : www.aseanthai.net

-
เรือรบฝรั่งเศส วองเดมิแอร์ เทียบท่าที่ท่าเรือเตียนซา ในนครด่าหนัง เมื่อวันที่ 15 พ.ย. เริ่มต้นการเยือนเวียดนามนาน 5 วัน ส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านกลาโหมของสองประเทศ.-- Xinhiua/VNA. เรือวองเดมิแอร์ (Vendemiaire)...by Editor
-
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าในความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับเมียนมาว่า ภายในสิ้นปี 2558 นี้ จะลงนามความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ คือ ไทย...by dogTech
-
-
สถาบันเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์อาเซียน(AIPR) ได้จัดการประชุมที่สำนักเลขาธิการอาเซียนโดยในการประชุมมีการหารือในกลุ่มAIPRเพื่อสรรหากรรมการบริหารเงินทุนและกลไกการทำงานของAIPR อ่านเพิ่มเติม AEC Tourism Connectivity...by dogTech