ลบ
แก้ไข
พม่าเปิดบ้านต้อนรับการรวมตัวของผู้นำโลกครั้งใหญ่ที่สุดในวันนี้ (12) นับตั้งแต่ประเทศเริ่มปฏิรูปที่ทำให้หลุดพ้นจากสถานะโดดเดี่ยวแม้จะยังมีความวิตกกังวลอยู่มากเกี่ยวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของประเทศจากการปกครองของรัฐบาลทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย นายกรัฐมนตรีชินโซ
อาเบะ ของญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง ของจีน มีกำหนดพบหารือกันที่กรุงเนปีดอ เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
การหารือเป็นเวลา 2 วัน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในครั้งนี้ คาดว่าข้อขัดแย้งทางทะเลในทะเลจีนใต้จะถูกยกขึ้นเป็นประเด็นหนึ่ง ด้วยชาติสมาชิกอาเซียน คือ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ กำลังมองหาการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ในการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำดังกล่าวกับจีน
แต่ปักกิ่งไม่เต็มใจที่จะลงนามในระเบียบปฏิบัติพหุภาคีครอบคลุมน่านน้ำขัดแย้งและอุดมด้วยทรัพยากรที่มีผลผูกพันนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการหารือน่าจะไม่คืบหน้าในการแก้ไขการเผชิญหน้า
"อาจมีความคืบหน้าเกิดขึ้นแต่ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้าเนื่องจากจีนต้องการประวิงเวลาในการหารือเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติให้นานที่สุดเท่าที่เป็นได้ ข้อตกลงสุดท้ายอาจใช้เวลาหลายปี" ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ กล่าว
ในวันนี้ (12) กลุ่มอาเซียนจะจัดการหารือกับอินเดีย ญี่ปุ่น และสหประชาชาติ ก่อนโอมาบาเดินทางถึงในช่วงค่ำจากการประชุมเอเปกที่กรุงปักกิ่ง
โอบามามีกำหนดพบหารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่งและอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน ระหว่างการเยือนพม่า 2 วัน เพื่อแสดงการสนับสนุนของสหรัฐน ต่อการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของพม่าที่จะมีขึ้นในปลายปี 2558
ภายใต้การบริหารของเต็งเส่ง พม่าได้รับการต้อนรับกลับสู่ประชาคมโลกหลังดำเนินการปฏิรูปประเทศหลากหลายประการที่รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมืองและให้คำมั่นที่จะจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมในปีหน้า
การปฏิรูปที่เกิดขึ้นทำให้ชาติตะวันตกคลายมาตรการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันการลงทุนจากต่างชาติก็หลั่งไหลเข้ามายังตลาดบริสุทธิ์แห่งนี้
แต่ซูจีแสดงความเห็นว่า สหรัฐฯ มองแง่ดีเกินไปต่อกระบวนการการปฏิรูปของพม่า
การถกเถียงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การจำกัดเสรีภาพสื่อ รวมทั้งประเด็นปัญหาต่างๆ เช่น ชาวพุทธหัวรุนแรงและความรุนแรงต่อต้านมุสลิม ยังคงเป็นเงาบดบังการหลุดพ้นจากการถูกโดดเดี่ยวของพม่าหลังตกอยู่ใต้การปกครองของทหารหลายทศวรรษ และก่อให้เกิดความวิตกว่าการปฏิรูปของพม่านั้นกำลังก้าวถอยหลัง
พม่าเป็นประเทศที่ 2 ในการเดินทางเยือนต่างประเทศของโอบามานานหนึ่งสัปดาห์ เพื่อผลักดันความสำคัญของสหรัฐฯ ในภูมิภาค และสหรัฐฯ ระบุว่าประเด็นเกี่ยวกับการประกาศตัวของรัฐอิสลามและอีโบลาจะถูกนำขึ้นหารือในกรุงเนปีดอครั้งนี้ด้วย.
ขอขอบคุณที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
เวทีอาเซียนเปิดฉากวันนี้ คาดปัญหาทะเลจีนใต้และการปฏิรูปพม่าจะเป็นหัวข้อหลัก
พม่าเปิดบ้านต้อนรับการรวมตัวของผู้นำโลกครั้งใหญ่ที่สุดในวันนี้ (12) นับตั้งแต่ประเทศเริ่มปฏิรูปที่ทำให้หลุดพ้นจากสถานะโดดเดี่ยวแม้จะยังมีความวิตกกังวลอยู่มากเกี่ยวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของประเทศจากการปกครองของรัฐบาลทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย นายกรัฐมนตรีชินโซ
อาเบะ ของญี่ปุ่น และนายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง ของจีน มีกำหนดพบหารือกันที่กรุงเนปีดอ เพื่อร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
การหารือเป็นเวลา 2 วัน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในครั้งนี้ คาดว่าข้อขัดแย้งทางทะเลในทะเลจีนใต้จะถูกยกขึ้นเป็นประเด็นหนึ่ง ด้วยชาติสมาชิกอาเซียน คือ เวียดนาม และฟิลิปปินส์ กำลังมองหาการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ในการอ้างสิทธิเหนือน่านน้ำดังกล่าวกับจีน
แต่ปักกิ่งไม่เต็มใจที่จะลงนามในระเบียบปฏิบัติพหุภาคีครอบคลุมน่านน้ำขัดแย้งและอุดมด้วยทรัพยากรที่มีผลผูกพันนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการหารือน่าจะไม่คืบหน้าในการแก้ไขการเผชิญหน้า
"อาจมีความคืบหน้าเกิดขึ้นแต่ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้าเนื่องจากจีนต้องการประวิงเวลาในการหารือเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติให้นานที่สุดเท่าที่เป็นได้ ข้อตกลงสุดท้ายอาจใช้เวลาหลายปี" ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ กล่าว
ในวันนี้ (12) กลุ่มอาเซียนจะจัดการหารือกับอินเดีย ญี่ปุ่น และสหประชาชาติ ก่อนโอมาบาเดินทางถึงในช่วงค่ำจากการประชุมเอเปกที่กรุงปักกิ่ง
โอบามามีกำหนดพบหารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่งและอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้าน ระหว่างการเยือนพม่า 2 วัน เพื่อแสดงการสนับสนุนของสหรัฐน ต่อการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ของพม่าที่จะมีขึ้นในปลายปี 2558
ภายใต้การบริหารของเต็งเส่ง พม่าได้รับการต้อนรับกลับสู่ประชาคมโลกหลังดำเนินการปฏิรูปประเทศหลากหลายประการที่รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมืองและให้คำมั่นที่จะจัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมในปีหน้า
การปฏิรูปที่เกิดขึ้นทำให้ชาติตะวันตกคลายมาตรการคว่ำบาตรส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันการลงทุนจากต่างชาติก็หลั่งไหลเข้ามายังตลาดบริสุทธิ์แห่งนี้
แต่ซูจีแสดงความเห็นว่า สหรัฐฯ มองแง่ดีเกินไปต่อกระบวนการการปฏิรูปของพม่า
การถกเถียงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การจำกัดเสรีภาพสื่อ รวมทั้งประเด็นปัญหาต่างๆ เช่น ชาวพุทธหัวรุนแรงและความรุนแรงต่อต้านมุสลิม ยังคงเป็นเงาบดบังการหลุดพ้นจากการถูกโดดเดี่ยวของพม่าหลังตกอยู่ใต้การปกครองของทหารหลายทศวรรษ และก่อให้เกิดความวิตกว่าการปฏิรูปของพม่านั้นกำลังก้าวถอยหลัง
พม่าเป็นประเทศที่ 2 ในการเดินทางเยือนต่างประเทศของโอบามานานหนึ่งสัปดาห์ เพื่อผลักดันความสำคัญของสหรัฐฯ ในภูมิภาค และสหรัฐฯ ระบุว่าประเด็นเกี่ยวกับการประกาศตัวของรัฐอิสลามและอีโบลาจะถูกนำขึ้นหารือในกรุงเนปีดอครั้งนี้ด้วย.
ขอขอบคุณที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า หรือ The Assistance Association for Political Prisoners (AAPP) ได้ออกมาเรียกร้องให้ส่งผู้ลี้ภัยที่เคยเป็นอดีตนักโทษการเมืองพม่าไปยังประเทศที่สามแทนการส่งกลับพม่า โดยระบุ...by สิรินภา เลิศสุรวัฒน์
-
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเตรียมเข้าร่วมกิจกรรมระดับสูงเกี่ยวกับการใช้บังคับของความตกลงปารีส ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 71 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา...by dogTech
-
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เชิญชวนนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีทั่วประเทศร่วม ประกวดแผนธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายใต้ โครงการ DTN Business Plan Award 2015 สร้าง LANDMARK...by Editor
-
เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจาก เป็นไทยสุดขีด ตอน กินให้พอใช้ให้เป็น...by Editor Bow
เรื่องมาใหม่
คำฮิต